โทสะ
โทสะ (บาลี: दोस, โทส; สันสกฤต: द्वेष, ทฺเวษ) เป็นศัพท์ทางศาสนาพุทธและฮินดุที่มีความหมายตรงตัวว่า "ความขัดเคือง, ความเกลียดชัง"[1][2][3]
ในศาสนาพุทธ โทสะ (ความขัดเคือง, ความเกลียดชัง) อยู่ตรงข้ามกับ ราคะ (ความอยาก, ความต้องการ) โทสะ เป็นหนึ่งใน 3 รากเหง้า (เช่นเดียวกันกับ ราคะ กับ โมหะ) ซึ่งก่อให้เกิดทุกข์[4][5] และยังเป็นหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ทั้ง 3 ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่ต้องถูกกำจัด[6][7][8]
โทสะเกิดจากมานะคือความถือตัวถือตน ความรู้สึกว่าตัวเด่นกว่าเขา ตัวด้อยกว่าเขา หรือตัวเสมอกับเขา เมื่อถูกกระทบเข้าก็เกิดความไม่พอใจ เกิดโทสะขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วหากระงับไม่ได้ก็จะนำให้ทำความชั่วความไม่ดีต่างๆ เช่น ทะเลาะวิวาทกัน กลั่นแกล้งกัน ทำร้ายกัน ฆ่ากัน เป็นเหตุให้ตัวเองเดือดร้อน โลกก็เร่าร้อน ขาดสันติภาพ อยู่กันอย่างเดือดร้อน หวาดระแวงกันและกัน
กลุ่มโทสะ
แก้ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 3 อย่าง คือ
อ้างอิง
แก้- ↑ Rhys Davids, Thomas William; William Stede (1921). Pali-English Dictionary. Motilal Banarsidass Publishing House. pp. 323, 438. ISBN 978-81-208-1144-7.;
Ranjung Yeshe wiki entry for zhe sdang - ↑ Buswell, Robert E., Jr.; Lopez, Donald S., Jr. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton University Press. p. 29. ISBN 978-1-4008-4805-8.;
Eric Cheetham (1994). Fundamentals of Mainstream Buddhism. Tuttle. p. 314. ISBN 978-0-8048-3008-9. - ↑ Nāgārjuna (1996). Mūlamadhyamakakārikā of Nāgārjuna. แปลโดย Kalupahana, David J. Motilal Banarsidass Publishing House. p. 72. ISBN 978-81-208-0774-7.; Quote: The attainment of freedom from the three poisons of lust (raga), hatred (dvesa) and confusion (moha) by a person who is understood as being in the process of becoming conditioned by various factors (not merely by the three poisons)....
- ↑ Peter Harvey (2015). Steven M. Emmanuel (บ.ก.). A Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley. p. 39. ISBN 978-1-119-14466-3.
- ↑ Paul Williams (2005). Buddhism: Buddhist origins and the early history of Buddhism in South and Southeast Asia. Routledge. p. 123. ISBN 978-0-415-33227-9.
- ↑ Frank Hoffman; Deegalle, Mahinda (2013). Pali Buddhism. Routledge. pp. 106–107. ISBN 978-1-136-78553-5.
- ↑ David Webster (2005). The Philosophy of Desire in the Buddhist Pali Canon. Routledge. p. 2–3. ISBN 978-0-415-34652-8.
- ↑ Payne, Richard K.; Witzel, Michael (2015). Homa Variations: The Study of Ritual Change across the Longue Duree. Oxford University Press. pp. 88–89. ISBN 978-0-19-935159-6.
- ↑ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- ↑ พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช. วิมุตฺติมรรค. (กรุงเทพฯ : ธรรมดา, 2549) , หน้า 24-25