จักรพรรดิโจเม

(เปลี่ยนทางจาก จักรพรรดิโจะเม)

จักรพรรดิโจเม (ญี่ปุ่น: 舒明天皇โรมาจิJomei-tennō; 17 เมษายน ค.ศ. 593 – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 641) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 34 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม [2]

จักรพรรดิโจเม
舒明天皇
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยามาโตะ
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 629–641
ก่อนหน้าซูอิโกะ
ถัดไปโคเงียวกุ
พระราชสมภพ17 เมษายน ค.ศ. 593
ทามูระ (田村)
สวรรคต17 พฤศจิกายน ค.ศ. 641 (48 พรรษา)
คูดาระ โนะ มิยะ
ฝังพระศพโอซากะ โนะ อูจิ โนะ มิซาซางิ (นาระ)
คู่อภิเษกทาการะ (ภายหลังจักรพรรดินีโคเงียวกุ)
พระราชบุตร
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิโจเม (舒明天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
โอกินางาตาราชิฮิฮิโรนูกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (息長足日広額天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาเจ้าชายโอชิซาโกะ-โนะ-ฮิโกฮิโตะ-โนะ-โอเอะ
พระราชมารดาเจ้าหญิงนูกาเตะ-ฮิเมะ

จักรพรรดิโจเมครองสิริราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 629 - 641[3]

เรื่องราวแบบดั้งเดิม

แก้

ก่อนจะขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ จักรพรรดิโจเมมีพระนามเดิมว่า ทามูระ (ญี่ปุ่น: 田村โรมาจิTamura) หรือ เจ้าชายทามูระ (ญี่ปุ่น: 田村皇子โรมาจิTamura-no-Ōji)[4] เมื่อขึ้นเป็นจักรพรรดิจึงมีพระนามใหม่ว่า โอกินางาตาราชิฮิ ฮิโรนูกะ ซูเมรามิโกโตะ (息長足日広額天皇)[5]

พระองค์เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิบิดัตสึทั้งทางฝั่งพระราชบิดาและพระราชมารดา พระราชบิดาของพระองค์คือเจ้าชายโอชิซากาโนฮิโกฮิโตะ-โนะ โอเอะ ส่วนพระราชมารดาคือเจ้าหญิงนูกาเตะ-ฮิเมะ พระกนิษฐภคินีของพระราชบิดา[6]

เหตุการณ์ในรัชสมัยโจเม

แก้

เนื่องจากจักรพรรดินีซูอิโกะผู้เป็นพระปิตุจฉา (อา) ไร้รัชทายาททำให้ก่อนที่พระนางจะสวรรคตใน ค.ศ. 629 ได้เรียกเจ้าชายทามูระและเจ้าชายยามาชิโระ-โนะ-โอเอะ พระโอรสในเจ้าชายโชโตกุ เข้าเฝ้าที่เตียงพระบรรทมเพื่อให้คำแนะนำแก่แต่ละพระองค์ หลังพระนางสวรรคต ราชสำนักได้แตกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายที่สนับสนุนเจ้าชายทามูระและฝ่ายที่สนับสนุนเจ้าชายยามาชิโระ ซึ่ง โซงะ โนะ เอมิชิ หัวหน้าตระกูลโซงะ ให้การสนับสนุนทามูระ โดยอาศัยพระกระแสรับสั่งสุดท้ายของจักรพรรดินีซูอิโกะสถาปนาเจ้าชายทามูระขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ บรรดานักวิชาการจึงตีความว่าทามูระ[7]ได้รับตำแหน่งสืบสันตติวงศ์ (เซ็นโซะ)[8] หลังจากนั้นไม่นานก็กล่าวกันว่าพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติ (โซกูอิ) ในฐานะจักรพรรดิโจเม[9] ส่วนเจ้าชายยามาชิโระ-โนะ-โอเอะถูกตระกูลโซงะเข้าโจมตีและทำการอัตวินิบาตกรรมร่วมกับทั้งครอบครัว

  • 15 เมษายน ค.ศ. 628 (วันที่ 7 เดือน 3) : ปีที่ 36 ในรัชสมัยจักรพรรดินีซูอิโกะ องค์จักรพรรดินี สวรรคตโดยไร้รัชทายาท ทำให้เจ้าชายทามูระ พระราชนัดดา ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็นจักรพรรดิโจเม
  • 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 629 (วันที่ 4 เดือน 1) : จักรพรรดิโจเมได้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกที่พระราชวังหลวงโอฮาริดะ
  • 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 641 (วันที่ 9 เดือน 10) : ปีที่ 13 ในรัชสมัยจักรพรรดิโจเมสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา[7]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

แก้

ฮิ: เจ้าหญิงทาเมะ (田眼皇女) พระราชธิดาในจักรพรรดิบิดัตสึ

จักรพรรดินี: เจ้าหญิงทาการะ (宝皇女) ภายหลังเป็นจักรพรรดินีโคเงียวกุ พระธิดาในเจ้าชายชินุ (พระราชนัดดาในเจ้าชายโอชิซากะ-โนะ-ฮิโกฮิโตะ-โนะ-โอเอะ และพระราชปนัดดาในจักรพรรดิบิดัตสึ)

บูนิง: โซงะ โนะ โฮเตะ-โนะ-อิรัตสึเมะ (蘇我法提郎女) พระธิดาในโซงะ โนะ อูมาโกะ

  • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายฟูรูฮิโตะ-โนะ-โอเอะ (古人大兄皇子; ประมาณ ค.ศ. 612–645)
  • เจ้าหญิงนูโนชิกิ (布敷皇女)

นางพระกำนัล (อูเนเมะ): คายะ โนะ อูเนเมะ (蚊屋采女) นางพระกำนัลชั้นล่างจากคายะ (蚊屋采女姉子)

  • เจ้าชายคายะ (蚊屋皇子)

บูนิง: อาวาตะ โนะ คางูชิ-ฮิเมะ (粟田香櫛媛)

  • เจ้าหญิงโอชิซากะ-โนะ-วาตามูกิ (押坂錦向皇女)

บูนิง: โซงะ โนะ เท็ตสึกิ-โนะ-อิรัตสึเมะ (蘇我手杯娘) พระธิดาในโซงะ โนะ เอมิชิ

  • เจ้าหญิงยาตะ (箭田皇女)

ไม่ทราบ:

  • เจ้าชายอิโซเบะ (磯部皇子) ผู้ก่อตั้งตระกูลคูเงะ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Kunaichō: 斉明天皇 (34)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 48.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 42–43, p. 42, ที่กูเกิล หนังสือ; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp.263; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. p. 129–130.
  4. Brown, p. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  5. "舒明天皇(一)出自について".
  6. Varley, p. 129.
  7. 7.0 7.1 Varley, p. 130.
  8. Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
  9. Titsingh, p. 42; Brown, p. 264; Varley, p. 130.

ข้อมูล

แก้