จอร์จ ลูคัส

นักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด ค.ศ. 1944)

จอร์จ วอลตัน ลูคัส จูเนียร์ (อังกฤษ: George Walton Lucas, Jr.; เกิด 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1944) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้เขียนบทภาพยนตร์ ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ชุดมหากาพย์สตาร์ วอร์ส และอินเดียน่า โจนส์ อีกทั้งเป็นหนึ่งในบรรดาผู้กำกับและผู้ผลิตที่ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจอุตสาหกรรมทางภาพยนตร์ โดยมีผลกำไรสุทธิที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2010 [1]

จอร์จ ลูคัส
จอร์จ ลูคัส ใน ค.ศ. 2009
เกิดจอร์จ วอลตัน ลูคัส จูเนียร์
(1944-05-14) 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 (80 ปี)
โมเดสโต รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย
อาชีพ
  • ผู้ผลิตภาพยนตร์
  • ผู้ประกอบการ
ปีปฏิบัติงาน1965–ปัจจุบัน
คู่สมรสมาร์เซีย ลูคัส
(สมรส 1969; หย่า 1983)

เมลโลดี้ ฮอบสัน
(สมรส 2013)

ประวัติ

แก้

จอร์จ ลูคัสเคยฝันอยากเป็นนักขับรถแข่ง แต่เขาได้ประสบอุบัติเหตุในวันก่อนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม ต่อจากนั้นได้เข้าเรียนในโรงเรียนสอนทำหนังของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และในฐานะนักเรียนหนัง เขาผลิตภาพยนตร์สั้นมาหลายเรื่องรวมทั้ง THX-1138: 4EB (Electronic labyinth) ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลจากเทศกาลหนังนักเรียนแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี 1967-68

และในปี 67 นั้น เขายังได้รับทุนการศึกษาจากทางวอร์เนอร์ บราเธอร์ส เพื่อให้เข้ามาสังเกตการณ์ในกองถ่ายหนังของฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา เรื่อง Finian's Rainbow ทั้งคู่สนิทสนมกันจนร่วมกันจัดตั้งบริษัท อเมริกัน โซโทรป ในปี 1969 และลูคัสก็ส่ง THX-1138 ฉบับภาพยนตร์ยาวออกสู่สายตาประชาชน จากนั้นไม่นานคอปโปลาก็มีผลงานเรื่อง The Godfather ที่เป็นที่รู้จัก ลูคัสแยกมาตั้งบริษัทของตัวเองในชื่อ ลูคัสฟิล์ม จำกัด

ปี 1973 หนังกึ่งอัตชีวประวัติเรื่อง American Graffiti ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำและเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 5 สาขา และด้วยความสำเร็จในครั้งนี้นี่เอง เป็นแรงผลักดันให้เขาเขียนบทหนังสงครามอวกาศซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก แฟลช กอร์ดอน และหนังเรื่อง Planet of the Apes จนออกมาเป็นสตาร์ วอร์ส ในปี 1977 และเขายังก่อตั้ง บริษัท ไอแอลเอ็ม (ILM-Industrial Light & Magic) ผลิตงานด้านวิชวลเอฟเฟ็กต์ซึ่งเป็นส่วนที่จำเป็นของหนัง รวมทั้งยังมีการตั้งบริษัท สปร็อกเก็ต ซิสเต็มส์ ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อกำกับและมิกซ์เสียง จนต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีในนาม สกายวอล์กเกอร์ ซาวนด์

แต่หนังของเขาถูกสตูดิโอหลายเจ้าปฏิเสธจนท้ายที่สุด ค่ายทเว็นตีเซ็นจูรีฟ็อกซ์ จึงหยิบยื่นโอกาสให้ ลูคัสยอมไม่รับค่าจ้างจากการกำกับหนังเรื่องนี้ แต่ขอส่วนแบ่งจากบ็อกซ์ออฟฟิส 40% และสิทธิในการจัดจำหน่ายสินค้าของหนังเป็นข้อแลกเปลี่ยน และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็สถิติของบ็อกซ์ออฟฟิส และรับออสการ์ให้หนังถึง 7 สาขาด้วยกัน (แต่ไม่มีให้ตัวเอง) พร้อมทั้งก่อให้เกิดคำว่า blockbuster หรือหนังฟอร์มยักษ์ทำเงินถล่มทลายขึ้นมาด้วย

ในช่วงเวลาพัก ลูคัสก็ทำสตาร์ วอร์สภาคต่อทันที เคียงข้างไปกับการจับมือ สตีเฟน สปิลเบิร์ก สร้างสรรค์ซีรีส์การผจญภัยของ อินเดียนา โจนส์ ขึ้นมาซึ่งก็ถล่มบ็อกซ์ออฟฟิส ไปอีกครั้ง จากนั้นปี 1980-1985 ลูคัสก็ง่วนอยู่กับการสร้างกิ่งก้านสาขาให้กับสกายวอล์กเกอร์ ทั้งในเรื่องของการเพิ่มฝ่ายครีเอทีฟ ฝ่ายเทคนิคและการจัดการบริหารซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อลูคัสฟิล์มทั้งสิ้น

นอกจากนี้ลูคัสยังเป็นผู้วิวัฒนาการให้โรงหนังเกิดระบบ THX ซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อคงคุณภาพมาตรฐานสูงสุดของเสียงในการฉายภาพยนตร์ ทั้งยังสร้างหนังใหญ่ยักษ์ให้วงการอีกมากมาย พร้อมทั้งขึ้นเป็นประธานบอร์ดกองทุนเพื่อการศึกษา เดอะจอร์จ ลูคัสเอดดูวเคชันแนลฟาวเดชัน (The George Lucas Educational Foundation) อีกด้วย

ในปี 1992 จอร์จ ลูคัส ได้รับรางวัล ไอร์วิง จี ธัลเบิร์ก ซึ่งตัดสินโดยบอร์ดบริหารของทางสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์การภาพยนตร์ผู้ทำการมอบรางวัลออสการ์ ให้กับคนในวงการภาพยนตร์ สำหรับการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานตลอดชีวิตของเขานั่นเอง และในปี 2024 เขาได้รับรางวัลปาล์มทองคำเกียรติยศในงานเทศกาลภาพยนตร์กาน ครั้งที่ 77[2][3]

นวัตกรรม

แก้

ลูคัสเป็นผู้บุกเบิกเทคนิคใหม่ ๆ ให้กับวงการภาพยนตร์มากมาย เขาก่อตั้งบริษัท อินดรัสเทรียลไลท์แอนด์เมจิก (Industrial Light and Magic - ILM) ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ทำเกี่ยวกับด้านเทคนิคพิเศษ, มีส่วนร่วมในการพัฒนา ระบบเสียง THX และการถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยกล้องวิดีโอดิจิทัลทั้งเรื่องใน สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2: กองทัพโคลนส์จู่โจม

ผลงาน

แก้

ภาพยนตร์

แก้
ปี ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ
ผู้กำกับ เขียนบท ผู้อำนวยการสร้าง
ฝ่ายบริหาร
1971 THX 1138 ใช่ ใช่ ไม่ ตัดต่อด้วย
1973 อเมริกันกราฟฟิติ ใช่ ใช่ ไม่ ตัดต่อและโปรดิวเซอร์เพลงด้วย (ไม่มีเครดิต)
1977 สตาร์ วอร์ส ใช่ ใช่ ใช่
1979 More American Graffiti ไม่ ไม่ ใช่ ตัวละคร;
กำกับร่วม, ตัดต่อสคริปต์ภาพยนตร์, ช่างภาพ, คัดเลือกเพลงด้วย (ไม่มีเครดิต)
1980 Kagemusha ไม่ ไม่ ใช่ เวอร์ชันสากล
จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ไม่ ใช่ ใช่ กำกับร่วม, ตัดต่อและโปรดิวเซอร์เพลงด้วย (ไม่มีเครดิต)
1981 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า ไม่ เขียนเรื่อง ใช่ ผู้ช่วยผู้กำกับสองและตัดต่อด้วย (ไม่มีเครดิต)
เสน่ห์อำมหิต ไม่ ไม่ ไม่มีเครดิต
1983 การกลับมาของเจได ไม่ ใช่ ใช่ กำกับร่วม, ตัดต่อและโปรดิวเซอร์เพลงด้วย (ไม่มีเครดิต)
Twice Upon a Time ไม่ ไม่ ใช่
1984 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 2: ถล่มวิหารเจ้าแม่กาลี ไม่ เขียนเรื่อง ใช่ ตัดต่อและช่างภาพถ่ายเพิ่มด้วย (ไม่มีเครดิต)
1985 Latino ไม่ ไม่ ไม่มีเครดิต ตัดต่อด้วย (ไม่มีเครดิต)
Mishima: A Life in Four Chapters ไม่ ไม่ ใช่
1986 มหัศจรรย์เขาวงกต ไม่ ไม่ ใช่ ตัดต่อสคริปต์ภาพยนตร์ (ไม่มีเครดิต)
ฮาเวิร์ด ฮีโร่พันธุ์ใหม่ ไม่ ไม่ ใช่
1988 Powaqqatsi ไม่ ไม่ ใช่ ภาพยนตร์สารคดี
ศึกแม่มดมหัศจรรย์ ไม่ เขียนเรื่อง ใช่
Tucker: The Man and His Dream ไม่ ไม่ ใช่
ญาติไดโนเสาร์เจ้าเล่ห์ ไม่ ไม่ ใช่
1989 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 3: ศึกอภินิหารครูเสด ไม่ เขียนเรื่อง ใช่ ตัดต่อด้วย (ไม่มีเครดิต)
1994 Radioland Murders ไม่ เขียนเรื่อง ใช่
1999 สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 1 – ภัยซ่อนเร้น ใช่ ใช่ ใช่
2002 สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 2 – กองทัพโคลนส์จู่โจม ใช่ ใช่ ใช่ ตัดต่อด้วย (ไม่มีเครดิต)
2005 สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 3 – ซิธชำระแค้น ใช่ ใช่ ใช่
2008 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 4: อาณาจักรกะโหลกแก้ว ไม่ เขียนเรื่อง ใช่
สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน ไม่ ตัวละคร ใช่ คิดเรื่องราว
2010 The Nina Foch Course for Filmmakers and Actors ไม่ ไม่ ใช่ ภาพยนตร์สารคดี
2012 สงครามกลางเวหาของเสืออากาศผิวสี ไม่ ไม่ ใช่ กำกับการถ่ายซ่อม (ไม่มีเครดิต)
2015 มนตร์มหัศจรรย์ ไม่ เขียนเรื่อง ใช่

ผลตอบรับ

แก้

ผลตอบรับ ทั้งคำวิจารณ์และรายได้ จากการกำกับภาพยนตร์ทั้งหมด 6 เรื่องของ จอร์จ ลูคัส

ชื่อ รอตเทนโทเมโทส์[4] เมทาคริติก[5] ซีเนม่าสกอร์[6] ทุนสร้าง รายได้ทั่วโลก
THX 1138   86% (6.85/10) (63 รีวิว) 75 (8 รีวิว) $777,777 $2,437,000
อเมริกันกราฟฟิติ   96% (8.49/10) (48 รีวิว) 97 (15 รีวิว) $775,000 $140,000,000
สตาร์ วอร์ส   93% (8.81/10) (124 รีวิว) 90 (24 รีวิว) $11,000,000 $775,512,064
สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 1 – ภัยซ่อนเร้น   53% (5.94/10) (228 รีวิว) 51 (36 รีวิว) A– $115,000,000 $1,027,082,707
สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 2 – กองทัพโคลนส์จู่โจม   66% (6.59/10) (253 รีวิว) 54 (39 รีวิว) $115,000,000 $649,436,358
สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 3 – ซิธชำระแค้น   80% (7.28/10) (299 รีวิว) 68 (40 รีวิว) $113,000,000 $850,035,635
เฉลี่ย และ รวม   79% (7.33/10) 73 A– $355.6 ล้าน $3,444,503,764

  0–59% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ   60–74% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ   75–100% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก

สีแดง 0–19 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบเลย 20–39 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ สีส้ม 40–60 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ให้ปานกลาง สีเขียว 61–80 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 81–100 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก

N/A ไม่ปรากฏ, หาข้อมูลไม่ได้

$ ดอลลาร์สหรัฐ

อ้างอิง

แก้
  1. "George Lucas ranks 316 on The World's Billionaires 2010". Forbes. 3 มีนาคม พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "George Lucas Honorary Palme d'or of the 77th Festival de Cannes". Festival de Cannes (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-04-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  3. bpavan (2024-05-24). "An encounter with George Lucas". Festival de Cannes (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-05-26.
  4. "จอร์จ ลูคัส". รอตเทนโทเมโทส์. สืบค้นเมื่อ 21 May 2005.
  5. "จอร์จ ลูคัส". เมทาคริติก. สืบค้นเมื่อ 21 May 2005.
  6. "ซีเนม่าสกอร์". cinemascore.com. สืบค้นเมื่อ 21 May 2005.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้