สตาร์ วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได

ภาพยนตร์ในแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส
(เปลี่ยนทางจาก การกลับมาของเจได)

สตาร์วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได (อังกฤษ: Return of the Jedi) หรือรู้จักในชื่อ สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6 การกลับมาของเจได (อังกฤษ: Star Wars: Episode VI – Return of the Jedi) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์บันเทิงคดีอวกาศ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1983 กำกับโดย ริชาร์ด มาร์ควานด์ เขียนบทโดย ลอว์เรนซ์ แคสแดนและจอร์จ ลูคัส จากเนื้อเรื่องโดยลูคัส และเขายังทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร สร้างโดยลูคัสฟิล์ม เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สามของแฟรนไชส์และใน สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม ภาคต่อของ สตาร์วอร์ส 2 (1980) และเป็นตอนที่หกใน "มหากาพย์สกายวอล์คเกอร์" และเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ใช้เทคโนโลยี THX ภาพยนตร์ดำเนินหลังเหตุการณ์ใน สตาร์วอร์ส 2 หนึ่งปี[6] นักแสดงประกอบด้วย มาร์ก แฮมิลล์, แฮร์ริสัน ฟอร์ด, แคร์รี ฟิชเชอร์, บิลลี ดี วิลเลียมส์, แอนโทนี แดเนียลส์, เดวิด พราวส์, เคนนี เบเกอร์, ปีเตอร์ เมย์ฮิวและแฟรงค์ ออซ

สตาร์ วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได
ใบปิดภาพยนตร์โดยคาซูฮิโกะ ซาโนะ
กำกับริชาร์ด มาร์ควานด์
บทภาพยนตร์
เนื้อเรื่องจอร์จ ลูคัส
อำนวยการสร้างฮาเวิร์ด คาแซนเจียน
นักแสดงนำ
กำกับภาพแอลัน ฮูม
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
วันฉาย
  • 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 (1983-05-25) (สหรัฐ)
ความยาว132 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง32.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2][3]
ทำเงิน475.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4][5]

จักรวรรดิกาแลกติก ภายใต้การนำของจักรพรรดิผู้โหดเหี้ยม ได้สร้างดาวมรณะดวงที่สองขึ้น เพื่อกำจัดเหล่าพันธมิตรกบฏให้หมดสิ้น เมื่อจักรพรรดิเดินทางมาตรวจดูการก่อสร้างขั้นตอนสุดท้ายด้วยตัวเอง เหล่าพันธมิตรกบฏจึงวางแผนโจมตีดาวมรณะเต็มกำลังเพื่อยับยั้งการก่อสร้างและสังหารจักรพรรดิและคืนเสรีภาพกลับสู่กาแลกซี ขณะเดียวกัน ลุค สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งเป็นอัศวินเจไดแล้ว พยายามโน้มน้าวให้ ดาร์ธ เวเดอร์ ผู้เป็นพ่อของเขา กลับคืนสู่ด้านสว่างของพลัง

สตีเวน สปีลเบิร์ก, เดวิด ลินจ์และเดวิด โครเนนเบิร์ก เคยได้รับพิจารณาให้เป็นผู้กำกับโครงการ ก่อนที่จะเซ็นสัญญาให้มาร์ควานด์เป็นผู้กำกับ ทีมสร้างอาศัยสตอรีบอร์ดของลูคัสในช่วงก่อนการสร้าง ขณะที่กำลังเขียนบทถ่ายทำ ลูคัส, แคสแดน, มาร์ควานด์และผู้อำนวยการสร้าง ฮาเวิร์ด คาแซนเจียน ใช้เวลาสองสัปดาห์ในการประชุมเรื่องแนวคิดในการสร้างภาพยนตร์ ตารางงานของคาแซนเจียนทำให้ต้องมีการถ่ายทำก่อนกำหนดไม่กี่สัปดาห์ ทำให้ อินดัสเทียลไลต์แอนด์แมจิก มีเวลาทำงานให้กับเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์มากขึ้นในช่วงหลังการสร้าง มีการถ่ายทำที่อังกฤษ, แคลิฟอร์เนียและแอริโซนา ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1982 (1982-05) การถ่ายทำมีการเก็บเป็นความลับอย่างเข้มงวด

ภาพยนตร์ฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 ได้รับการตอบรับที่ดี ภาพยนตร์ทำเงิน 374 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายครั้งแรก กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปี ค.ศ. 1983 มีการฉายใหม่หลายครั้งและมีการปรับปรุงภาพยนตร์เรื่อยมาอีกหลายทศวรรษ จนทำให้ภาพยนตร์ทำเงินทั้งหมด 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก

โครงเรื่อง

แก้

อัศวินเจได ลุค สกายวอล์คเกอร์ ได้เดินทางกลับทาทูอีนดาวบ้านเกิดเพื่อช่วยฮาน โซโลจากเงื้อมมือมหาจอมโจรแจบบา เดอะ ฮัทท์ ส่วนเจ้าหญิงเลอาได้ช่วยฮานออกมาจากคาร์บอนไนต์ได้ แต่โชคร้ายกลับถูกแจบบาจับตัวไว้ เมื่อลุคมาต่อรองให้ปล่อยตัวทั้งสองแต่ก็โดนแจบบาใช้เล่ห์กลจับไว้อีกคน และถูกนำตัวไปประหารชีวิต

สถานการณ์กลับผลิกผันเมื่อลุคที่ได้รับกระบี่แสงที่ซ่อนอยู่ในหุ่นยนต์อาร์ทูดีทู ได้แสดงพลังที่แท้จริงของเจไดทำให้เขาทำลายพวกของแจบบาลงและช่วยเหลือฮานและเลอาออกมาได้สำเร็จ ลุคแยกตัวไปหาอาจารย์โยดาเพื่อฝึกวิชาเจไดให้บรรลุ แต่โยดาก็ได้บอกว่าเขาสำเร็จวิชาแล้ว รวมทั้งบอกความจริงเกี่ยวกับตระกูลสกายวอล์คเกอร์อีกคน ก่อนที่เขาจะจากไป ทำให้ลุครู้จากจิตใต้สำนึกของเขาว่าว่าสกายวอล์คเกอร์อีกคนก็คือเลอา ซึ่งแท้จริงแล้วคือน้องสาวฝาแฝดของเขานั่นเอง

ฝ่ายฮานที่ไปรวมกับกองกำลังกบฏที่รออยู่ จึงได้รู้ถึงการสร้างดาวมรณะดวงที่สอง และรู้ว่าจักรพรรดิพัลพาทีนจะเสด็จไปดูการก่อสร้างด้วยตัวเอง ฝ่ายกบฏจึงถือเอาโอกาสนี้จัดการกับดาวมรณะและจักรพรรดิไปพร้อม ๆ กันแต่ปัญหาคือดาวมรณะมีเกราะป้องกันที่สร้างโดยเครื่องกำเนิดพลังงานบนดวงจันทร์เอนดอร์ พวกฮานและลุคที่เดินทางมาสมทบจึงอาสาไปทำลายมันลง โดยขโมยยานขนส่งของฝ่ายจักรวรรดิ ลอบเข้าไปในดวงจันทร์เอนดอร์ แต่ดาร์ธ เวเดอร์ ก็ได้รู้ถึงการกลับมาของลุคและบอกกับจักรรพรรดิว่าจะเป็นคนไปนำตัวลุคมาเอง

ฝ่ายฮานและเลอาเมื่อติดกับของฝ่ายจักรวรรดิจนเกือบเสียที แต่ก็ได้อีว็อคหรือพวกหมีแคระ ชนเผ่าพื้นเมืองบนดวงจันทร์ช่วยเหลือจึงสามารถทำลายเครื่องกำเนิดพลังงานได้ ส่วนลุคก็แยกไปเผชิญหน้ากับดาร์ธ เวเดอร์เพียงลำพังเพื่อกล่อมเขาให้กลับสู่ด้านสว่าง ลุคต่อสู้จนชนะและตัดมือขวาของเวเดอร์ขาด แต่ไม่ยอมกำจัดเวเดอร์ซึ่งเป็นบิดาของตน จักรพรรดิทรงเห็นว่าลุคไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจของด้านมืด จึงหมายจะสังหารลุคโดยใช้พลังสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธสำคัญของพวกซิธ

แต่ว่าดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งทนเห็นลูกชายตายไปต่อหน้าต่อตามิได้ จึงคิดได้และกลับมาเป็นอนาคิน สกายวอล์คเกอร์เข้าช่วยเหลือลูกชาย โดยสังหารจักรพรรดิด้วยมือของตนเอง เขายกร่างของจักรพรรดิขึ้น พลังสายฟ้าจึงหันพุ่งมายังอนาคินเขาทุ่มจักรพรรดิลงไปในช่องอากาศ เขากล่าวขอบคุณลุคที่ช่วยให้เขากลับสู่ด้านสว่างได้สำเร็จ อนาคินให้ลุคถอดหน้ากากสีดำของเขาออก เขาได้มองหน้าลูกชายด้วยตาตนเองเป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้าย บัดนี้คำทำนายโบราณของเจไดได้เป็นจริงแล้ว อนาคิน ผู้ถูกเลือก ผู้สังหารซิธคนสุดท้าย และนำสมดุลกลับคืนสู่พลัง ได้กลับมาแล้ว

ส่วนฝ่ายกบฏก็สามารถเข้าไปทำลายดาวมรณะ รวมทั้งโค่นล้มจักรวรรดิได้สำเร็จจึงได้เฉลิมฉลองในชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ที่สามารถนำความสงบสุขกลับคืนสู่จักรวาลได้อีกครั้ง

ตัวละคร

แก้

การสร้าง

แก้

ภาพยนตร์เรื่องนี้ เดิมใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Revenge of the Jedi แต่จอร์จ ลูคัส ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น Return of the Jedi ไม่กี่วันก่อนออกฉาย ด้วยเหตุผลว่า เจได ไม่ แก้แค้น ใคร การเปลี่ยนชื่อภาพยนตร์ก่อนออกฉายอย่างกะทันทัน ทำให้ผู้จัดจัดหน่ายต้องสูญเสียอุปกรณ์ประชาสัมพันธ์ที่จัดเตรียมไว้แล้วเป็นจำนวนมาก

การออกฉาย

แก้
 
ใบปิดฉบับที่ยังใช้ชื่อเรื่องว่า Revenge of the Jedi วาดโดยดรูว์ สตรูซาน

การกลับมาของเจไดออกฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 ซึ่งเดิมเคยมีการกำหนดไว้เป็นวันที่ 27 พฤษภาคม แต่ถูกเลื่อนมาเพื่อให้เป็นวันเดียวกันกับวันออกฉายของภาพยนตร์สตาร์ วอร์สภาคแรกเมื่อปี ค.ศ. 1977[7]

ค.ศ. 1997 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 20 ปีของการออกฉายของภาพยนตร์สตาร์ วอร์สภาคแรก จอร์จ ลูคัสได้ผลิตสตาร์ วอร์ส ไตรภาค ฉบับพิเศษออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันทั้ง 3 ภาค โดยการกลับมาของเจไดฉบับพิเศษออกฉายเมื่อ 14 มีนาคม ค.ศ. 1997 โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากฉบับเดิม ได้แก่ ฉากวงดนตรีมนุษย์ต่างดาวร้องเพลงในวังของแจบบาที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ การเพิ่มจงอยปากของหนอนทรายซาร์แลกก์ การเปลี่ยนดนตรีประกอบในฉากจบเรื่อง และฉากเฉลิมฉลองการล่มสลายของจักรวรรดิบนดาวเคราะห์ต่างๆ ในตอนจบ[8] ลูคัสให้สัมภาษณ์ว่าภาพยนตร์เรือ่งนี้มีฉากที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากเป็นภาคที่เดินเรื่องด้วยอารมณ์โดดเด่นกว่าภาคอื่นๆ[9]

การเปลี่ยนชื่อเรื่อง

แก้

ใบปิดแรก (teaser) ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ระบุชื่อเรื่องไว้ว่า Revenge of the Jedi (การแก้แค้นของเจได)[10] ต่อมาเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 ลูคัสตัดสินใจใหม่ว่า "Revenge" (การแก้แค้น) เป็นคำที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเจไดไม่ควรจะผูกใจแค้น หรือแสวงหาการแก้แค้น จึงได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น Return of the Jedi ซึ่งกว่าตัดสินใจได้ ใบปิดที่มีชื่อเรื่องว่า Revenge (วาดโดยดรูว์ สตรูซาน) ก็ได้รับการผลิต และเผยแพร่ไปแล้วหลายพันใบ บริษัทลูคัสฟิล์มยุติการผลิตใบปิดดังกล่าวทันที มีเหลืออีกราว 6,800 ใบ ก็ถูกขายให้กับสมาชิกแฟนคลับสตาร์ วอร์ส ในราคาใบละ 9.50 ดอลลาร์สหรัฐ[11]

ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น ก็ออกฉาย ชื่อภาค (Revenge of the Sith) จึงมีนัยเกี่ยวโยงกับชื่อภาค Revenge of the Jedi ที่ถูกยกเลิกไปนั่นเอง[12]

กระแสตอบรับ

แก้

ภาพยนตร์ได้รับรางวัลเกียรติยศออสการ์ (รางวัลนี้จะมีการมอบต่อเมื่อมีภาพยนตร์ที่ดีที่สุดจริง ๆ เท่านั้น ไม่ใช่มอบทุกปีเหมือนรางวัลสาขาอื่น ๆ ปีใดไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดที่คุณภาพถึง จะไม่มีการมอบรางวัลนี้) จากเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม

อ้างอิง

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. ^ Walt Disney Studios Motion Pictures จะได้สิทธิ์ในการจัดจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม 2020.[13]

อ้างอิง

แก้
  1. "STAR WARS EPISODE VI: RETURN OF THE JEDI (U)". British Board of Film Classification. May 12, 1983. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2015. สืบค้นเมื่อ May 4, 2015.
  2. Aubrey Solomon, Twentieth Century Fox: A Corporate and Financial History, Scarecrow Press, 1989 p260
  3. J.W. Rinzler, The Making of Return of the Jedi, Aurum Press, ISBN 978 1 78131 076 2, 2013 p336
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mojo
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ numbers
  6. "Star Wars: Episode VI Return of the Jedi". Lucasfilm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2010. สืบค้นเมื่อ March 4, 2010.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ProdDir1
  8. "Episode VI: What Has Changed?". StarWars.com. September 8, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 29, 2008. สืบค้นเมื่อ March 10, 2008.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DVDcom
  10. ตัวอย่างภาพยนตร์ Revenge of the Jedi จากดีวีดีโบนัสดิสก์ ในชุด Star Wars Trilogy Box Set [2004]
  11. Sansweet & Vilmur (2004). The Star Wars Poster Book. Chronicle Books. p. 124.
  12. Greg Dean Schmitz. "Star Wars Episode III: Revenge of the Sith — Greg's Preview". Yahoo! Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2007. สืบค้นเมื่อ March 5, 2007.
  13. Masters, Kim (October 30, 2012). "Tangled Rights Could Tie Up Ultimate 'Star Wars' Box Set (Analysis)". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ November 12, 2012.

บรรณานุกรม

แก้

Arnold, Alan. Once Upon a Galaxy: A Journal of Making the Empire Strikes Back. Sphere Books, London. 1980. ISBN 978-0-345-29075-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้