สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม

สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม (อังกฤษ: Star Wars: Episode II – Attack of the Clones) เป็นภาพยนตร์แนวมหากาพย์บันเทิงคดีอวกาศ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2002 กำกับโดยจอร์จ ลูคัสและเขียนบทโดยลูคัสและโจนาธาน เฮลส์ เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองใน สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น, ตอนที่สองใน มหากาพย์สกายวอร์คเกอร์ และเป็นภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส เรื่องที่ห้าจากทั้งหมดเก้าเรื่องที่ฉาย แสดงนำโดย ยวน แม็คเกรเกอร์, นาตาลี พอร์ตแมน, เฮย์เดน คริสเตนเซน, เอียน เมกเดอร์มิด, ซามูเอล แอล. แจ็กสัน, คริสโตเฟอร์ ลี, แอนโทนี แดเนียลส์, เคนนี เบเกอร์และแฟรงค์ ออซ ดำเนินเรื่องหลังเหตุการณ์ใน ภัยซ่อนเร้น สิบปี ในช่วงที่กาแลกซีกำลังจะเข้าสู่สงครามกลางเมือง โดยมีระบบดาวเคราะห์หลายพันระบบ ขู่ว่าจะแยกตัวออกจากสาธารณรัฐกาแลกติก หลังวุฒิสมาชิก แพดเม่ อมิดาลา เอาตัวรอดจากการลอบสังหาร เจไดฝึกหัด อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ได้กลายเป็นผู้ปกป้องเธอ ในขณะที่อาจารย์ของเขา โอบีวัน เคโนบี ไปสืบสวนเบื้องหลังการลอบสังหารครั้งนี้ ไม่นานนัก ทั้งสามคนก็ได้เป็นสักขีพยานของเริ่มต้นภัยคุกคามใหม่ของกาแลกซี: สงครามโคลน

สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม
ใบปิดภาพยนตร์โดยดรูว สตูซอน
กำกับจอร์จ ลูคัส
บทภาพยนตร์
เนื้อเรื่องจอร์จ ลูคัส
อำนวยการสร้างริก แม็คคาลลัม
นักแสดงนำ
กำกับภาพเดวิด เทตเทอร์ซอลล์
ตัดต่อเบน เบิร์ตต์
ดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
วันฉาย

  • 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 (2002-05-16) (สหรัฐ)
ความยาว142 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ทำเงิน653.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]

การพัฒนาของ กองทัพโคลนส์จู่โจม เริ่มต้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000 ไม่กี่เดือนหลังการฉายของ ภัยซ่อนเร้น ลูคัสและเฮลส์ร่างบทภาพยนตร์เสร็จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 การถ่ายทำหลักเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 2000 โดยถ่ายทำที่ฟอกซ์สตูดิโอออสเตรเลีย ใน ซิดนีย์, ออสเตรเลีย เป็นหลัก มีการถ่ายทำเพิ่มเติมที่ ตูนิเซีย, สเปนและอิตาลี เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำในระบบดิจิทัลความละเอียดสูง 24 ภาพ ทั้งเรื่อง

ภาพยนตร์ฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 ได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลาย นักวิจารณ์บางคนชมว่ามีการพัฒนามากกว่า ภัยซ่อนเร้น และบางคนก็บอกว่าเป็นภาพยนตร์ที่แย่ที่สุดในแฟรนไชส์[3][4] ภาพยนตร์ได้รับคำชมในเรื่องฉากโลดโผนที่มีความสำคัญมากขึ้น, งานด้านภาพ, ดนตรีประกอบและการออกแบบเครื่องแต่งกาย แต่ถูกวิจารณ์อย่างหนักในเรื่องบทภาพยนตร์, การแสดงของคริสเตนเซน, ฉากโรแมนติก, การใช้ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์มากเกินไป, ฉากเขียวและตัวละครที่ด้อยพัฒนา ภาพยนตร์ทำเงินได้ดีในบ็อกซ์ออฟฟิส โดยทำเงินมากกว่า 653 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก อย่างไรก็ตาม กองทัพโคลนส์จู่โจม เป็นภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส เรื่องแรกที่ทำเงินไม่ได้อันดับที่หนึ่งในปีที่ฉาย โดยอยู่อันดับที่สามในสหรัฐและอันดับที่สี่ทั่วโลก ภาพยนตร์เรื่องที่สามและเรื่องสุดท้ายในไตรภาคต้น ซิธชำระแค้น ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2005

โครงเรื่อง

แก้

10 ปีให้หลังจากเหตุการณ์ที่ดาวนาบู (Naboo) มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในวุมิสภากาแลคติค ดาวระบบสุริยะหลายพันดวง ได้แสดงเจตจำนงว่าจะถอนตัวออกจากสาธารณรัฐ (Galactic Republic) ขบวนการแบ่งแยกภายใต้การนำของ เคาท์ ดูกู (Count Dooku) ผู้ลึกลับสร้างความลำบากใจให้กับเหล่าอัศวินเจไดซึ่งมีจำนวนน้อย ในอันที่จะรักษาความสงบและระเบียบของกาแลคซี่

วุฒิสมาชิกแพดเม่ อมิดาล่า (Padme Amidala) อดีตราชินีแห่งดาวนาบู ที่เดินทางกลับมายังสภากาแลคติก ณ คอรัสซังค์ (Coruscant) เพื่อลงคะแนนเสียงในการจัดตั้งกองทัพของสาธารณะรัฐ ได้พบกับเหตุการณ์ลอบสังหาร ทำให้เธอตกอยู่ภายใต้การอารักขาของ อัศวินเจได 2 นายคือ โอบีวัน เคโนบี (Obi-Wan Kenobi) และ อนาคิน สกายวอล์กเกอร์ (Anakin Skywalker)

เมื่อมีการลอบสังหารเธอเกิดขึ้นอีก โอบีวันและอนาคินสามารถจับกุมตัวผู้ลอบสังหารได้แต่ขณะที่กำลังซักถามถึงผู้ที่ว่าจ้าง ผู้ลอบสังหารคนนั้นก็ถูกฆ่าปิดปากโดยนักล่าเงินรางวัลอีกคนหนึ่ง ทำให้โอบีวันต้องแยกไปสืบหาตัวนักล่าเงินรางวัลกับผู้ที่ว่าจ้าง เหลือเพียงอนาคินที่จะต้องปกป้องวุฒิสมาชิกอมิดาล่ากลับสู่ดาวนาบูเพื่อความปลอดภัย และผลจากการใกล้ชิดของทั้งสองนี้เองที่ทำให้เกิดความรักต้องห้ามขึ้น

ด้วยความช่วยเหลือของเพื่อนเก่าเด็กซ์เตอร์ เจ็ตส์เตอร์(Dexter Jettster) รวมทั้งอาจารย์โยดา (Yoda) ทำให้โอบีวันค้นพบระบบดาวคามิโน (Kamino) ซึ่งไม่ปรากฏอยู่บนแผนที่เพราะมีคนลบมันออกจากฐานข้อมูลได้สำเร็จ

เมื่อได้รู้ว่ามีการอ้างสร้างกองทัพโคลนเพื่อสาธารณรัฐโดยอาจารย์เจไดไซโฟร์ ดิแอส ผู้ถูกฆ่าเมื่อ10ปีที่แล้ว ทำให้โอบีวันติดตามนักล่าเงินรางวัลจังโก้ เฟ็ทท์ (Jango Fett) ผู้เป็นต้นแบบของมนุษย์โคลนส์ซึ่งมีการปะทะกับอาจารย์เจไดโอบีวัน เคโนบี และติดตามไปยังดาวจีโอโนซีส (Geonosis) ที่ซึ่งเขาได้พบกับ โรงงานสร้างดรอยด์ และอุปราช ของสหพันธ์พาณิชย์ ผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารอมิดาล่า ขณะนั้นอนาคินได้เดินทางไปยังทาร์ทูอินเพื่อช่วยแม่ของเขา แต่พอไปช่วยแม่เขาก็สิ้นใจพอดี โอบีวันได้ส่งข้อความไปให้อนาคินและส่งต่อให้สภาเจได ก่อนที่จะพลาดท่าถูกเคาท์ดูกูจับตัวไว้

หลังจากที่อนาคินได้รับข้อความของโอบีวันแล้วส่งต่อถึงสภาเจได ทำให้เขารีบไปช่วยเหลือแต่ก็ไม่สำเร็จกลับถูกจับไว้อีก และถูกตัดสินประหารชีวิตทั้ง 3 คน

ด้วยเหตุที่วุฒิสภารู้ว่า ขบวนการแบ่งแยกกำลังรวมทัพกับสหพันธ์พาณิชย์เพื่อการรุกราน จึงมีการยกอำนาจฉุกเฉินให้กับสมุหนายกพัลพาทีน (Palpatine) ส่งผลให้เขามีอำนาจสร้างกองทัพที่เกรียงไกร

เหล่าอัศวินเจได พร้อมกับกองทัพโคลนที่ถูกอนุมัติใช้ ภายใต้การนำของโยดา ขณะนั้นอาจารย์เจไดเมซ วินดูพาเจไดกว่า 200 นาย บุกไปช่วยโอบีวัน อนาคิน และ อมิดาล่า ในขณะที่เจไดกำลังเสียท่ากับพวกดรอยด์อยู่ โยดานำกองทัพโคลนมาช่วย ทำให้เจไดรอดตายและสงครามระหว่างพวกดรอยท์และโคลนได้เกิดขึ้นและเจไดที่เหลือก็ลงสนามรบด้วยขบวนการแบ่งแยกต่างๆ เห็นว่ากำลังพ่ายแพ้จึงถอนทัพกลับ เคาท์ดูกูหนีไปยังโรงเก็บยานโอบีวันและอนาคินตามไป อนาคินโดนพลังสายฟ้าฟาดจนสลบเหลือเพียงโอบีวันเพียงคนเดียวจึงต่อสู้ด้วยกระบี่แสงแต่พลาดท่าโดนเคาท์ดูกูเอาดาบจิ้มที่แขนและขา อนาคินฟื้นขึ้นมาและดวลกระบี่แสงจึงโดนเคาท์ดูกูตัดแขนขวาขาด ปรมาจารย์โยดามาช่วยดวลพลังกับเคาท์ดูกูไม่แพ้ไม่ชนะกันจึงดวลด้วยกระบี่แสงเคาท์ดูกูหนีไปได้ เมื่อได้รับชัยชนะอนาคินและอมิดาลาแต่งงานกันอย่างลับๆ โดยมีแค่ซีทรีพีโอและอาร์ทูดีทูเป็นพยาน

ตัวละคร

แก้

อ้างอิง

แก้

เชิงอรรถ

อ้างอิง

  1. "Star Wars - Episode II - Attack of the Clones". British Board of Film Classification. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2016. สืบค้นเมื่อ December 27, 2015.
  2. 2.0 2.1 "Star Wars: Episode II - Attack of the Clones (2002)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2012. สืบค้นเมื่อ June 9, 2006.
  3. "All 8 'Star Wars' Movies Ranked, From 'New Hope' to 'Rogue One'". TheWrap. December 13, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2017. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.
  4. "Every Star Wars movie, ranked from worst to best". Screen Rant. April 12, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2017. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.

แหล่งที่มา

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้