ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชันทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่ว่าจากภาษาชวา ปรากฏการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน

เครื่องดนตรีลักษณะฆ้องในฟิลิปปินส์

ฆ้องในดนตรีไทย แก้

ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี มีหลายขนาดและประเภท บางชนิดเป็นเพียงเครื่องตีให้สัญญาณ เช่น ฆ้องกระแต ใช้ตีบอกสัญญาณเข้าเวรยาม, ฆ้องชัย ใช้ตีบอกสัญญาณในกองทัพสมัยโบราณ เป็นต้น บางท้องถิ่นเรียกว่า โหม่ง

รายชื่อฆ้องในดนตรีไทย แก้

ฆ้องที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา แก้

ปัจจุบัน ฆ้องถูกนำไปใช้ร่วมกับพิธีกรรมต่างๆ โดยนิยมซื้อไปถวายวัด เพราะเชื่อกันว่าจะ ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง ปัจจุบัน แหล่งผลิต ฆ้องของประเทศไทย อยู่ที่บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีมากมายหลายขนาด จัดเป็นสินค้าโอทอป ของตำบล โดย ฆ้อง จะมีโฉลก แบ่ง ตามความเชื่อของชาวอิสาน ดังนี้

  • สิทธิชัยมังคลโชค
  • ตีอวดโลกป่าวเดียวดาย
  • เสียงดังไกลบ่มั่ว
  • เสียงดังทั่วเท่าแผ่นธรณี
  • แสน มเหสีมานั่งเฝ้า
  • เป็นเจ้าแผ่นทองเหลือง
  • แห่ขุนเมืองขึ้นนั่งแท่น
  • แสนขุนแหล่นมาเต้า
  • ตีโอนอ้าวเสพขอนผี
  • นางธรณีตกใจกลัวสะท้าน
  • ตีออกบ้านผามเอาชัย

โฉลกนิยมใช้มือคืบ กำปั้น ทางภาคอีสานใช้กำปั้นเรียงตามโฉลก 11 โฉลก

ฆ้องในวงออร์เคสตรา แก้

ในวงออร์เคสตรา ฆ้อง หรือบางครั้งเรียกว่าแทมแทม (tam-tam มีที่มาจากภาษาจีน) มีลักษณะเป็นฆ้องแบบแบน ไม่มีระดับเสียง มีได้หลายขนาด ฆ้องสามารถให้ได้ทั้งเสียงนุ่มลึกลับ และเสียงที่ดังกร้าว ขึ้นอยู่กับวิธีการตี ตำแหน่งการตีที่ดีที่สุดอยู่ที่บริเวณโดยห่างจากจุดศูนย์กลางเล็กน้อย ไม้สำหรับตีฆ้องเป็นไม้หัวนุ่ม

อ้างอิง แก้