ฆ้องมอญ (มอญ: ဗာတ်ကွေန်) เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญ[2][1][3] มีลักษณะตั้งโค้งขึ้นไป ไม่ตั้งราบกับพื้นแบบฆ้องไทย วงฆ้องทำจากไม้แกะสลักปิดทองอย่างสวยงาม ทางโค้งด้านซ้ายของผู้ตีแกะเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรูปกินนรและเทวดา ทางโค้งด้านขวาทำเป็นรูปปลายหาง มีเท้ารองตรงกลางเหมือนระนาดเอก ฆ้องมอญมีสองขนาดดังนี้[1][3]

ฆ้องมอญ
ဗာတ်ကွေန်
ชื่ออื่นPat kon
La gyan hsaing
ประเภท เครื่องตี[1][2][3]

1. ฆ้องมอญวงใหญ่ มีลักษณะตั้งโค้งขึ้นไป ไม่ตั้งราบกับพื้นแบบฆ้องไทย วงฆ้องทำจากไม้แกะสลักปิดทองอย่างสวยงาม ทางโค้งด้านซ้ายของผู้ตีแกะเป็นรูปต่าง ๆ ตามต้องการ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรูปกินนรและเทวดา ทางโค้งด้านขวาทำเป็นรูปปลายหาง มีเท้ารองตรงกลางเหมือนระนาดเอก มีลูกฆ้องทั้งหมด 15 ลูก แต่จะมีการข้ามเสียงไปสองลูกแรก กล่าวคือจะขึ้นต้นด้วยเสียง ซอล ลา ข้ามเสียงทีไปขึ้นเสียงโด เร มี ข้ามเสียงฟาไปขึ้นเสียงซอล แล้วไล่เสียงไปจนถึงลูกที่ 15 คือเสียงที[1][2][3]

ตัวอย่างผังเสียงฆ้องมอญวงใหญ่

ซ ล ด ร ม ซ ล ท ด ร ม ฟ ซ ล ท

2. ฆ้องมอญวงเล็ก มีลักษณะเหมือนฆ้องมอญวงใหญ่ทุกประการ เพียงแต่มีลูกฆ้องที่เล็กกว่า มีทั้งหมด 17 ลูก ไม่มีการข้ามเสียง[1][2][3]

ตัวอย่างผังเสียงฆ้องมอญวงเล็ก

ร ม ฟ ซ ล ท ด ร ม ฟ ซ ล ท ด ร ม ฟ

ฆ้องมอญทำหน้าที่เดินทำนองเพลงเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็กของไทย ใช้ประสมวงในวงปี่พาทย์มอญ[1][2]

อ้างอิง แก้