คูกิ (ญี่ปุ่น: 久喜市โรมาจิKuki-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2020 นครแห่งนี้มีประชากรประมาณ 152,569 คน 67,339 ครัวเรือน ความหนาแน่นประชากร 1,900 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] พื้นที่ทั้งหมด 82.41 ตารางกิโลเมตร (31.82 ตารางไมล์)

คูกิ

久喜市
ศาลาว่าการนครคูกิ
ศาลาว่าการนครคูกิ
ธงของคูกิ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของคูกิ
ตรา
ที่ตั้งของคูกิในจังหวัดไซตามะ (เน้นสีชมพู)
ที่ตั้งของคูกิในจังหวัดไซตามะ (เน้นสีชมพู)
คูกิตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
คูกิ
คูกิ
ที่ตั้งของคูกิในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 36°3′43.5″N 139°40′0.5″E / 36.062083°N 139.666806°E / 36.062083; 139.666806
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดไซตามะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด82.41 ตร.กม. (31.82 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ธันวาคม 2020)
 • ทั้งหมด152,569 คน
 • ความหนาแน่น1,900 คน/ตร.กม. (4,800 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
- ต้นไม้แปะก๊วย (Ginkgo biloba)
- ดอกไม้สาลี่ (Pyrus pyrifolia)
โทรศัพท์0480-22-1111
ที่อยู่85-3 Shimohayami, Kuki-shi, Saitama-ken 346-8501
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ภูมิศาสตร์ แก้

 
สวนกงเง็นโด

คูกิตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดไซตามะ ห่างจากใจกลางกรุงโตเกียวประมาณ 50 กิโลเมตร คูกิตั้งอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพาของแม่น้ำโทเนะ

เทศบาลข้างเคียง แก้

ภูมิอากาศ แก้

คูกิมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายและมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในคูกิคือ 14.6 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1338 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 26.7 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 3.6 °C[2]

สถิติประชากร แก้

จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของคูกิยังคงค่อนข้างคงที่มาตลอด 30 ปี

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1950 59,114—    
1960 60,409+2.2%
1970 74,477+23.3%
1980 114,920+54.3%
1990 141,400+23.0%
2000 154,292+9.1%
2010 154,335+0.0%

ประวัติศาสตร์ แก้

ในช่วงยุคเซ็งโงกุ โคงะคูโบที่ชื่อ อาชิกางะ มาซาอูจิ ได้เกษียณตนไปอยู่ที่วัดคันโตอิง ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันคือคูกิ ในช่วงยุคเอโดะ บริเวณนี้อยู่ภายในแคว้นศักดินาคูกิ (ขนาด 10,000 โคกุ) ภายใต้การควบคุมของตระกูลโยเนะกิตสึ ซึ่งมีอยู่มาตั้งแต่ปี 1684 ถึง 1798

เมืองคูกิได้รับการจัดตั้งขึ้นในอำเภอมินามิไซตามะ จังหวัดไซตามะ โดยเป็นการจัดตั้งระบบเทศบาลสมัยใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1889 วันที่ 1 กรกฎาคม 1954 คูกิได้ผนวกรวมหมู่บ้านข้างเคียง ได้แก่ โอตะ เอซูระ และคิโยกุ คูกิได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1971 วันที่ 23 มีนาคม 2010 คูกิได้ควบรวมเมืองโชบุ (อยู่ในอำเภอมินามิไซตามะ) และเมืองคูริฮาชิ และเมืองวาชิมิยะ (ทั้งสองอยู่ในอำเภอคิตากัตสึชิกะ)[4]

การปกครอง แก้

คูกิมีการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาประเภทสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกจำนวน 27 คน นครคูกิเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 2 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 13 ของจังหวัดไซตามะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ แก้

พื้นที่ส่วนใหญ่ของคูกิยังคงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีข้าวเป็นพืชเพาะปลูกหลัก และมีสวนอุตสาหกรรมจำนวน 3 แห่ง

การศึกษา แก้

  • มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียว มีวิทยาเขตที่คูกิ
  • คูกิมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ได้แก่ โรงเรียนประถม 23 แห่ง โรงเรียนมัธยมต้น 11 แห่ง และโรงเรียนมัธยมปลายของรัฐ 5 แห่งที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดไซตามะ นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการอีก 1 แห่ง

การขนส่ง แก้

รถไฟ แก้

ทางหลวง แก้

สถานที่ที่น่าสนใจในท้องถิ่น แก้

เมืองนี้มีชื่อเสียงจากการที่เป็นสถานที่ในเรื่อง ลักกีสตาร์ (Lucky Star) และ ฮาเร็มในรั้วโรงเรียน (The Fruit of Grisaia) ซึ่งทำให้มีนักท่องเที่ยวอนิเมะหลายพันคนเข้ามาเยี่ยมชมที่ศาลเจ้าวาชิโนมิยะทุกปี[5]

เมืองพี่น้อง แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Kuki city official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  2. Kuki climate data
  3. Kuki population statistics
  4. [1] เก็บถาวร 2008-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japanese government site
  5. "Washinomiya Promotes The Fruit of Grisaia in New Year's Festival". Anime News Network (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
  6. "International Exchange". List of Affiliation Partners within Prefectures (ภาษาอังกฤษ). Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2016. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้