คุยเรื่องวิกิพีเดีย:เนื้อหาไม่เสรี

ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 3 ปีที่แล้ว โดย EZBELLA ในหัวข้อ เสนอเพิ่มหลักเกณฑ์เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์

การจัดระเบียบภาพ Fair-use ในบทความ แก้

ดูที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การจัดระเบียบภาพ Fair-use ในบทความ

พบภาพชอบธรรมในหน้าหลัก แก้

ดูได้จาก วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/มิถุนายน เช่น ของวันนี้เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหนึ่งเป็นต้น

เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปโดยเรียบร้อย ขอเชิญชวญเลือกภาพมาทดแทนภาพชอบธรรม ที่ปรากฏในวันนี้ในอดีตทั้งหมด (หรือถ้ามีความประสงค์ให้ทบทวนนโยบายก็เสนอมาครับ) --taweethaも 11:02, 25 มิถุนายน 2552 (ICT)

ถ้าไม่มีภาพแทนก็เอาออกเลยก็ได้ครับ ส่วนนั้นไม่ได้สำคัญอะไร --Octra Dagostino 13:19, 25 มิถุนายน 2552 (ICT)

งั้นผมจะจัดการนำรูปที่ผิดนโยบายออกก่อนเลย เพราะสำคัญกว่ามาก แล้วท่านใดอยากเพิ่มรูปที่ไม่ผิดนโยบายก็ตามอัธยาสัย --taweethaも 15:50, 25 มิถุนายน 2552 (ICT)

เอาออกแล้วครับ อาจมีหลงตาไปบ้าง ท่านใดอยากใส่รูปใหม่ก็ลุยเลย --taweethaも 17:10, 25 มิถุนายน 2552 (ICT)

ใส่ให้ใหม่แล้วครับ มีซ้ำบ้างก็ช่วยกันตรวจดูนะครับ ใส่ทีนับสิบๆ ก็มีหลงไปได้บ้าง --taweethaも 21:51, 4 กรกฎาคม 2552 (ICT)

รูปภาพน่ะไม่น่าหลุดครับ แต่ภาพบางภาพอาจมีผิด (ผมแก้ไขแล้วทีนึง) แต่เดี๋ยวเนื้อหาผมจะทวนดูอีกทีครับ --Horus | พูดคุย 22:05, 4 กรกฎาคม 2552 (ICT)
ถ้าทวนว่าทั้งหมดเป็นภาพที่ถูกต้องตามเงื่อนไขอีกรอบก็ดีครับ เพราะผมไม่แน่ใจว่ารอบแรกเอาออกหมดหรือเปล่า ต้องเช็ค 365 ภาพ รวดเดียวก็ตาลายเหมือนกันครับ ตอนใส่ก็ตระเวนหาภาพมั่วไปหมดเหมือนกัน ตอนนี้เริ่มเบลอแล้ว--taweethaも 22:16, 4 กรกฎาคม 2552 (ICT)

เจ้าของไม่ยินยอม แก้

@G(x), Aristitleism, และ Horus: เท่าที่ผมอ่านดู เหมือนว่า fair use คือเราเอามาใช้เลยโดยไม่ได้ขออนุญาตก่อน ผมว่าตรงนี้ทุกคนเข้าใจตรงกัน แต่ถ้าเจ้าของประกาศชัดว่าไม่ยินยอม จะจัดการอย่างไรต่อไปครับ

ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะมีกรณีนี้ ปัญหานี้จบเพราะภาพมีลายน้ำพอดี เลยลบไปด้วยเหตุผลดังกล่าว แต่ผมไม่รู้จะจัดการอย่างไรกับกรณีที่เจ้าของบอกว่าห้ามเผยแพร่และไม่มีลายน้ำ --Nullzeroรณรงค์การใช้หน้าพูดคุย 01:35, 14 เมษายน 2557 (ICT)

พอดีเลยครับ มีคำถามที่ผมอยากจะขอคำตอบเคลียร์ ๆ อยู่บ้าง
1. วิกิพีเดียอยู่ภายใต้กฎหมายสหรัฐอเมริกาหรือเปล่า เพราะตามคำอธิบายเขาบอกมาอย่างนั้น
  • ถ้าอยู่ภายใต้กฎหมายไทยอย่างเดียว อาจทำให้หลัก fair use ใช้ไม่ได้ ก็ต้องจัดการกับหน้านี้ แล้วก็ต้องเคลียร์ภาพต่าง ๆ ที่คนอัปโหลดขึ้นมาตามหลักนี้ (งานเข้า)
2. ถ้าอยู่ภายใต้กฎหมายไทย เนื้อหาในวิกิพีเดียจะเข้าข่ายการกระทำอันมิใช่ละเมิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 หรือไม่ ผมคิดว่าน่าจะได้ แต่ไม่ฟันธง --Horus | พูดคุย 12:50, 14 เมษายน 2557 (ICT)
ประเด็นข้างต้นผมลองตรวจสอบ log ดูแล้ว เข้าใจว่าเจ้าของลิขสิทธิ์คงเข้าใจผิดในประเด็นว่าภาพมาอยู่บนวิกิพีเดียแล้วจะหลุดเป็น CC-BY-SA ไปตาม disclaimer ข้างล่างเสียหมด ทั้งที่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น ลิขสิทธิ์ของภาพอยู่เหนือกว่า GFDL/CC ที่อยู่ด้านล่าง อย่างไรก็ดีในกรณีนี้ เจ้าของภาพดูจะไม่ยินยอมให้มีการ reproduce ที่อื่นนอกจากที่ระบุไว้ และตาม license ที่กำหนด (น่าจะเป็น ©) ถ้าในกรณีดังกล่าวก็ไม่สามารถจะบังคับ fair use ได้ตามความในมาตรา 32 หรือ 33 ได้เพราะไม่เข้าลักษณะของทั้งสองมาตราเลย (ดูเทียบเรื่อง fair use ในมาตรา 32 กับ 17 U.S.C. sec. 107 ข้อความเขียนคนละแบบ ดูเหมือนจะเปิดช่องให้ขยายความมากกว่าอนุมาตราในมาตรา 32 ในขณะที่มาตรา 32 เป็นกรณีจำกัดเฉพาะอนุมากและไม่มีคำประเภท such as หรือ and other) อนึ่ง โดยไม่เสียลักษณะทั่วไป EDP ข้อแรกประกอบกับที่คุณวัชรากรได้ทักท้วงไว้ก่อนหน้านี้แล้วบอกว่า ภาพที่จะเอามาใช้ได้ต้องไม่เป็นภาพที่มีภาพเสรีทดแทนได้ ดังนี้ในกรณีสถานที่สาธารณะเช่นนี้ น่าจะมีภาพเสรีอื่น ๆ ทดแทนได้ จึงไม่เข้าลักษณะของ fair use ตาม EDP (disclaimer: ความเห็นของผมไม่มีลักษณะทางกฎหมายนะครับ โปรดพิจารณาความเห็นคุณอริสไตเติลด้วย)
แต่อย่างไรก็ดีโปรดดู คุยกับผู้ใช้:Ployyh และ Commons:Deletion requests/Thammasat University - Faculty of Law - Graduation - August 10 เป็นกรณีคล้ายกันคือ มีผู้นำภาพของผู้ใช้ Ployyh ไปอัพโหลดลงคอมมอนส์ ผู้ใช้ Ployyh ที่เป็น subject ของภาพมาขอ takedown แต่มีการเถียงไปมาว่าตกลงจะให้ภาพนี้อยู่ไหม subject เป็นใครและละเมิด personality rights หรือไม่ สุดท้ายผู้อัพโหลดมาบอกให้ลบก็ได้ แล้วเรื่องก็จบด้วยการเป็น courtesy deletion จะสังเกตว่ากรณีคล้ายกันกับกรณีนี้ครับ
ประเด็นคำถามของคุณฮอรัส Terms of Use บอกว่าวิกิพีเดียอยู่ภายใต้กฎหมายสหรัฐ (ซานฟรานซิสโก) แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ใช้จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองทำตามความใน พรบ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ส่วนข้อสองผมไม่แน่ใจครับ --∫G′(∞)dx 15:16, 14 เมษายน 2557 (ICT)
อ๋อ เข้าใจแล้วครับ ถ้า "สามารถหาภาพเสรีทดแทนได้" (เช่น เดินไปถ่ายเอง) ก็อ้างหลัก fair use ไม่ได้ สรุปคือ ขออนุญาตเขาไปดีกว่าสินะครับ /ไม่ก็ลบไปเลย --Horus | พูดคุย 16:52, 14 เมษายน 2557 (ICT)
กรณีที่สามารถหาภาพเสรีทดแทนได้ (โดยเฉพาะที่เป็น public figure) ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ fair use ครับ ภาพที่มีอยู่ก็ยังไม่ถึงกับต้องล้างบางเพราะตอนแรกเราอ้าง fair use ว่าเผยแพร่แค่นี้ไม่ทำให้เขาเสียหาย แต่ถ้ามีเคสที่ว่ามีคนมาบอกว่าแบบนี้เสียหาย ถ้าไม่ขอก็ต้องลบครับ (เหมือนกับว่าเขาทำ DMCA Takedown Notice) อนึ่ง ผมเคยอ่านมาว่าปกติภาพเสรีแม้จะไม่ดีเท่าแต่ถ้าไม่แย่ไปกว่าภาพมีลิขสิทธิ์ก็ต้องใช้ก่อน (ไปตรงกับ EDP ข้อหนึ่ง) เว้นแต่กรณีที่มันมีลักษณะเป็น absolute copyright เช่น ภาพตัวละคร อะไรทำนองนี้นั่นก็เรียกว่าจำเป็นต้องใช้ --∫G′(∞)dx 13:44, 15 เมษายน 2557 (ICT)

มีตัวอย่าง fair use ที่เจ้าของไม่ยินยอมครับ en:File:Tomokos_hand.gif เป็นเรื่องที่จำเป็นจริงๆ ไม่อาจหาภาพอื่นมาทดแทนได้อีกแล้ว เป็นภาพมนุษย์ภาพเดียวในบทความ en:Minamata disease แม้เป็นเรื่องอ่อนไหวมากแต่ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็ยังยืนยันใช้ครับ อย่างไรก็ดีการตัดสินใจใช้ในแต่ละวิกิพีเดียเป็นการตัดสินใจของ local community บทความภาษาไทย (โรคมินะมะตะ) ผมเคยผ่านตามาแล้วใน พ.ศ. 2552-53 คิดแล้วคิดอีกก็ยังหาภาพทดแทนมาใส่ไม่ได้... --Taweethaも (พูดคุย) 17:00, 14 เมษายน 2557 (ICT)

New legal note on U.S. fair use แก้

Hello. I'm sorry for the English. Please help translate my note if you think it is of use to your community. In response to multiple requests from users, the Wikimedia Foundation legal department has prepared a new wikilegal note about the laws governing Fair Use in the United States at m:Wikilegal/Primer on U.S. Fair Use/Copyright Law for Website. (This is also in English, but is marked for translation, if you'd like to help.) We wanted to be sure you were aware, in case it is of use to you, since local exemption doctrine policies must accord with US law and the law of the country where the project content is predominantly access (if any). Thanks for all you do. :) --Mdennis (WMF) (พูดคุย) 21:15, 11 กรกฎาคม 2557 (ICT)

ภาพ Fair use บุคคล แก้

จริง ๆ นโยบาย fair use ห้ามอัปโหลดภาพบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะสามารถหาภาพเสรีทดแทนได้ (เข้าไปถ่ายเอง หรือให้เจ้าตัวบริจาคภาพถ่ายให้เป็นภาพเสรี) คิดว่าช่วงนี้ถ้าปล่อยปละละเลยต่อไปจะทำให้ตามเก็บกวาดได้ไม่หมด จึงขอรณรงค์ทุกท่านงดอัปโหลดภาพบุคคลตั้งแต่นี้ไปครับ (ขออภัยในความไม่สะดวก) --Horus (พูดคุย) 23:06, 9 มีนาคม 2562 (ICT)

Low resolution แก้

การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

เนื่องจากนโยบาย NFC กล่าวว่า การใช้ไฟล์ไม่เสรีจะต้องมีความละเอียดต่ำเพื่อไม่ให้เบียดบังการใช้ประโยชน์จากงานของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่การกล่าวลอย ๆ ดังนี้ยังไม่เห็นภาพเป็นรูปธรรมชัดเจนนัก และมีข้อทักท้วงจากผู้ใช้เข้ามาว่าควรมีการระบุหลักการ low resolution เพื่อให้ผู้นำไปปฏิบัติสามารถยึดถือปฏิบัติได้ทันทีโดยไม่ต้องตีความประโยคข้างต้นเพิ่มเติม

จึงขอเสนอว่า ไฟล์ที่อัปโหลดเข้ามาในวิกิพีเดียภาษาไทยจะต้องมีขนาด (กว้าง×ยาว) ไม่เกิน 100,000 พิกเซล ตามอย่างวิกิพีเดียภาษาอังกฤษครับ --Horus (พูดคุย) 17:23, 10 เมษายน 2562 (ICT)

  เห็นด้วย ตาม en:Wikipedia:Non-free content#Image resolution--Geonuch (คุย) 19:24, 10 เมษายน 2562 (ICT)
  เห็นด้วย ตาม en:Wikipedia:Non-free content#Image resolution (ความเห็นดั้งเดิมคือไม่ให้ใช้ fairuse เลย อันนี้เป็นการ compromise) --Taweethaも (คุย) 12:59, 11 เมษายน 2562 (ICT)
  เห็นด้วย ตามเหตุผลข้างต้นใน en:Wikipedia:Non-free content#Image resolution (เหตุผลส่วนตัว คือหากไฟล์ที่ไม่เสรี ต้นฉบับมีขนาดเกิน 100,000 พิกเซล ต้องย่อลงให้น้อยกว่านี้ หากเป็นภาพเสรีขนาดเท่าใดก็ได้ให้ไปคอมมอนส์แทน เป็นต้น) --Nakare✝ 15:53, 13 เมษายน 2562 (ICT)

หากภาพต้นฉบับมีขนาดน้อยกว่า 100,000 พิกเซลอยู่แล้วควรทำอย่างไรครับ --Ingfa7599 (คุย) 13:58, 14 เมษายน 2562 (ICT)

จริง ๆ ควรบีบให้เล็กกว่าต้นฉบับ แต่ตามความเห็นผมถ้าภาพต้นฉบับมีความละเอียดน้อยกว่า 100,000 พิกเซลอยู่แล้วอาจจะตรวจสอบได้ยากว่าความละเอียดของภาพที่อัปโหลดกับภาพต้นฉบับเป็นเท่าไหร่ คงให้ผ่านเลยครับ (เว้นแต่มีเครื่องมือตรวจสอบ) --Horus, จริงอย่างเดียวไม่พอต้อง ... ด้วย (พูดคุย) 14:15, 20 เมษายน 2562 (ICT)

การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

สารสนเทศสื่อไม่เสรีและคำชี้แจงเหตุผลการใช้สำหรับ แวร์วูล์ฟออนไลน์ แก้

 
ดูตัวอย่างการกรอกแม่แบบ
สารสนเทศสื่อไม่เสรีและคำชี้แจงเหตุผลการใช้ — ไม่มีบทความ แวร์วูล์ฟออนไลน์
กรุณาตรวจสอบการสะกด และต้องไม่มีวงเล็บเหลี่ยม
คำอธิบาย

เป็นภาพตราสัญลักษณ์เกม Werewolf Online ผู้ถือครองลิขสิทธิ์ของภาพดังกล่าวคือ Philipp Eichhorn

แหล่งที่มา

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.werewolfapps.online&hl=th

ใช้ในบทความ

[[แวร์วูล์ฟออนไลน์]]

ส่วนที่ใช้

ใช้ส่วนทั้งหมดของภาพต้นฉบับเพื่อให้สามารถถ่ายทอดความหมายได้อย่างถูกต้องและกระจ่างชัด เนื่องจากงานศิลปะดังกล่าวอาจถือเป็นส่วนหนึ่งของการตลาด การบริการ หรือการโฆษณาของผู้ถือครองลิขสิทธิ์ การใช้ส่วนทั้งหมดของภาพจึงถือเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ภาพดังกล่าวบิดเบือนหรือเสียหาย

ความละเอียดต่ำ?

ภาพนี้มีความละเอียดต่ำเพียงพอต่อการระบุตัวตนและสื่อความหมาย ดังนั้นการกระทำใด ๆ ที่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพดังกล่าวจึงไม่อาจถูกใช้เป็นสิ่งทดแทนผลงานต้นฉบับได้

วัตถุประสงค์

มีไว้เพื่อบรรยายอย่างสำคัญต่อเกมที่กล่าวถึงภาพตราสัญลักษณ์เองและช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจและเห็นภาพว่าเกมแแวร์วูล์ฟไหนซึ่งไม่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยคำพูดเพียงลำพัง เพราะมีหลายเกมที่ใช้ชื่อนี้ กล่องข้อมูลที่ด้านบนของบทความมีไว้เพื่อแสดงภาพที่เกี่ยวข้องกับงานอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถระบุชิ้นงานที่ตนกำลังมองหาได้อย่างรวดเร็ว การใช้งานในรูปแบบนี้ไม่ขัดต่อจุดประสงค์ของผลงานต้นฉบับและเจตนารมณ์ของผู้สร้างสรรค์งานศิลปะดังกล่าว

มีภาพเสรีทดแทน?

เนื่องด้วยภาพนี้เป็นภาพตราสัญลักษณ์อันมีลิขสิทธิ์ จึงไม่สามารถเปลี่ยนเป็นภาพเสรีอื่นได้หากแต่เป็นภาพที่ใช้งานโดยชอบธรรมภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์เท่านั้น การใช้ภาพเสรีอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และการใช้ภาพที่ต่างจากต้นฉบับมากเกินไปอาจไม่เพียงพอต่อการระบุอัตลักษณ์หรืออาจทำให้การสื่อความหมายเดิมผิดเพี้ยนไป

ดิฉันได้มีการพูดคุยกับทางผู้ถือครองลิขสิทธิ์ดังกล่าว และได้รับการอนุญาตให้ใช้งานได้ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขโดยที่ไม่เป็น creative common ขอความกรุณามา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ Ploy M. Lapine (คุย) 23:49, 21 มิถุนายน 2562 (ICT)Ploy M. Lapine

เสนอเพิ่มหลักเกณฑ์เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์ แก้

การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

เนื่องจากไฟล์ไม่เสรีที่มีการอัปโหลดเข้ามาจำนวนหนึ่งระบุข้อความเพียงว่า "ลิขสิทธิ์น่าจะเป็นของผู้สร้างสรรค์ภาพนี้" ซึ่งไม่มีประโยชน์ เพราะเป็นการพูดถึงหลักกฎหมายโดยทั่วไป

ซึ่งตามนโยบาย WP:NFCC ข้อ 2. เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์ ผมมองว่าถ้าการอัปโหลดนั้นไม่อาจระบุตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ ก็ไม่ค่อยต่างอะไรจากการดูดไฟล์ขึ้นมาอัปโหลดเท่านั้น จึงขอเสนอให้เพิ่มหลักเกณฑ์การอัปโหลดไฟล์ไม่เสรีเพิ่มดังนี้

  1. งดการอัปโหลดไฟล์จากแหล่งอื่นถ้าทราบแหล่งที่มาต้นทาง (เช่น เว็บบอร์ด กระทู้ บล็อก) ทั้งนี้เพื่อให้เคารพโอกาสเชิงพาณิชย์ของผู้สร้างสรรค์
  2. ต้องระบุชื่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน และ/หรือ ผู้เผยแพร่ผลงาน (ถ้าทราบ) ด้วยทุกครั้ง
  3. การเสาะหาและตรวจสอบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้เผยแพร่ผลงานคนแรก หรือแหล่งที่มาต้นทาง ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้ซึ่งเสนอให้ผู้อัปโหลดดำเนินการแทนตน และผู้อัปโหลด

ขอบคุณครับ Horus (พูดคุย) 06:21, 14 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ผมเข้าใจความหวังดีและข้อเสนอของคุณ Horus เรื่องนี้ แต่ผมขอเป็นกลางในประเด็นนี้ เนื่องจากว่า
1. ผมเห็นด้วยว่าต่อไปนี้ห้ามอัปโหลดไฟล์จาก เว็บบอร์ด กระทู้ บล็อก แต่ข้อความที่ว่า "งดการอัปโหลดไฟล์จากแหล่งอื่นถ้าทราบแหล่งที่มาต้นทาง" ขัดกันกับข้อ 3 เนื่องจากข้อความข้างต้นระบุเสมือนว่าหากไม่ทราบที่มาต้นทางจะอัปโหลดก็ได้ (ทั้งนี้โดยส่วนตัวผมคิดว่าแม้ไม่ใช่ที่มาต้นทางจริง ๆ แต่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ที่ไม่ใช่เว็บบอร์ด กระทู้ บล็อก ควรอนุญาตให้อัปโหลดภาพได้)
2. ข้อที่ 2 เห็นด้วยว่าควรระบุถ้าทราบครับ
3. ข้อที่ 3 นี่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่ เนื่องจากว่าเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับผู้อัปโหลดที่ต้องไปเสาะแสวงหาแหล่งที่มาต้นทาง หากให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้อัปโหลด อาจทำให้ผู้อัปโหลดไม่กล้าที่จะดำเนินการอัปโหลดไฟล์ให้อีก ในข้อนี้ควรถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ขอ โดยผู้อัปโหลดต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าไฟล์นี้มีใครเป็นผู้เผยแพร่ และหากทราบผู้สร้างสรรค์ผลงานหรือผู้เผยแพร่ผลงานคนแรกได้จะเป็นการดีมาก
กล่าวโดยสรุปคือ ผมเห็นด้วยว่าควรงดอัปโหลดไฟล์จาก เว็บบอร์ด กระทู้ บล็อก เห็นด้วยให้ระบุผู้เผยแพร่ผลงานและเห็นด้วยว่าผู้ขออัปโหลดต้องรับผิดชอบในคำขอของตน ส่วนประเด็นอื่นขอเป็นกลางครับ --Timekeepertmk (คุย) 01:17, 23 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ขอยกตัวอย่างกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นจริงด้วยครับ เพราะต้องไม่ลืมว่าแทนที่จะอัปโหลดขึ้นวิกิพีเดีย ยังไงก็มีวิธีดึงให้ผู้อ่านไปดูงานที่มีลิขสิทธิ์ได้หลายวิธี เช่น External link, {{External media}} ฯลฯ นอกจากนี้กรณีที่ทราบแหล่งที่มา แต่ระบุลิงก์ว่ามาจากแหล่งอื่นที่ดูดมา ก็จะเป็นการเพิ่มยอดเข้าชมให้กับแหล่งที่ดูดมา เท่ากับไม่เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์ของผู้สร้างสรรค์/ผู้เผยแพร่ผลงานครับ ส่วนข้อสุดท้าย ยังไงถ้าคุณเห็นว่าไม่ผ่าน ก็ควรให้ผู้ขออัปโหลดตรวจสอบใหม่ด้วยตัวเอง ส่วนผู้อัปโหลดมีหน้าที่แค่ตรวจทานเท่านั้นครับ --Horus (พูดคุย) 01:25, 23 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ดูเหมือนว่าผมอาจจะคิดน้อยไปหน่อยครับ จากคำอธิบายที่ให้มาสำหรับผมชัดเจนแล้วครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อยในขัอที่ 1 ดังนี้ครับ จาก "งดการอัปโหลดไฟล์จากแหล่งอื่นถ้าทราบแหล่งที่มาต้นทาง" เป็น งดการอัปโหลดไฟล์จากแหล่งอื่นทุกกรณีหากไม่ทราบแหล่งที่มาต้นทาง (ผู้เผยแพร่รายแรก) หรือผู้สร้างสรรค์คนแรก --Timekeepertmk (คุย) 14:57, 23 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ปล. ลืมอีกประเด็นหนึ่งว่าจะจัดการกับไฟล์ทีีอัปโหลดไปแล้วยังไงดีครับ จะให้ ลบทิ้ง หรือ ให้โอกาสแก้ไข หรือ คงไว้ก่อนดีครับ --Timekeepertmk (คุย) 15:00, 23 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ด้วยกำลังคนในปัจจุบัน คิดว่าเริ่มจากอัปโหลดไฟล์ใหม่ตามเกณฑ์ที่เสนอ ส่วนไฟล์เก่า ๆ ค่อยทยอยแก้ถ้ามีเวลาครับ --Horus (พูดคุย) 20:57, 23 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ลงความเห็น
  1.   เห็นด้วย --Timekeepertmk (คุย) 21:36, 23 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
  2.   เป็นกลาง --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 13:37, 24 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
  3.   เป็นกลาง --B20180 (คุย) 19:11, 24 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
  4.   เห็นด้วย --`Ez. (คุย) 01:23, 25 มีนาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
กลับไปที่หน้าโครงการ "เนื้อหาไม่เสรี"