คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น

คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของ สารานุกรมภาษามีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับภาษาที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลกรวมถึงอักษร ไวยากรณ์ การอ่าน การเขียน และภาษาพูดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า หากคุณต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างโลกแห่งภาษา ลองแวะไปที่สถานีย่อย:ภาษา
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศญี่ปุ่นและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

หลักการณ์ในหน้าหลัก เนื้อหาตามการถอดคำทับศัพท์ตามราชบัณฑิตยสถาน ถ้ามีการแก้ไข ให้ระบุหมายเหตุไว้

เหตุผลที่นำมาคัดลอกไว้ใน วิกิพีเดีย (1) เว็บราชบัณฑิตล่มบ่อย (2) ข้อมูลที่ผิดพลาดและการสะกดผิด มีมากระดับหนึ่ง (3) ให้ชาววิกิพีเดียระดมความเห็นในการจัดรูปแบบ และปรับแก้ตัวอย่าง

บทความพูดคุยเก่าจากหน้าอื่น แก้

บทความนี้ ไว้ช่วยกัน ตกลงวิธีการเขียนคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น โดยถ้าใคร มีที่มา หรือบทอ้างอิงอื่น ช่วยเขียนลงเพิ่มเติม คำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น (อาจ) ไม่มีเขียนไว้อย่างแน่นอน ดังนั้น ศึกษาจากภาษาที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน และนำมาสรุป :)

เสียงภาษาญี่ปุ่น ปกติเสียงสั้นเสียงและเสียงยาวกำหนดด้วยตัวอักษรตาม แต่ในบางกรณีเสียงสั้น และเสียงยาวออกตามกรณีของประโยค

ตัวอย่างคำว่า ฮิโระชิมะ ฮิโรชิมะ Hiroshima

คำที่ต้องระวังในการเขียนทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น

CH แก้

ตัวอักษร CH ในภาษาญี่ปุ่น แม้จะอ่านใกล้เคียงทั้งเสียง จ.จาน และ ช.ช้าง แต่เวลาเขียนเขียนเป็นตัวอักษร ช.ช้าง ตัวอย่างเช่น

  • เขตชูบุ อาณาเขตบริเวณตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีเมืองนาโกยาตั้งอยู่ หลายหลายคนจะอ่านว่า จูบุ (ตอนไปเรียนก็เรียก เพิ่งรู้ว่าเขียนว่า ชูบุ)
  • จุนอิชิโร โคอิซูมิ Junichiro Koizumi นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
  • อิชิโร ซูซูกิ Ichiro Suzuki นักเบสบอลญี่ปุ่นชื่อดังในอเมริกา เล่นอยู่ในทีม Seattle Mariners

ch แก้

น่าจะใช้ จ นะครับเพราะคือเสียงtɕ http://ja.wikipedia.org/wiki/ローマ字

รวมไปไว้ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:ภาษาญี่ปุ่น#สระควบเสียง

วรรณยุกต์ แก้

ภาษาญี่ปุ่น ไม่มีวรรณยุกต์ ที่เป็นรูปร่างเหมือนภาษาไทย แต่มีการออกเสียงวรรณยุกต์ ขึ้นอยู่กับการเน้นคำ (stress) ของแต่ละคำ ในภาษาไทย บางกรณีจะกำหนดให้ตัดวรรณยุกต์ ออกหมดโดยใช้เสียงวรรณยุกต์ สามัญ สำหรับทุกคำ แต่จะมีข้อยกเว้น ดังต่อไปนี้

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Manop (พูดคุยหน้าที่เขียน)

นั่นไม่ใช่ข้อยกเว้น แต่มันเป็นชื่อบริษัทที่จดทะเบียนมาอย่างนั้น จึงต้องใช้ตามชื่อบริษัท ถ้าเป็นชื่ออย่างอื่นก็ต้องตามหลักเหมือนเดิม --Octra Dagostino 11:58, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
เสริมว่าตรงกับหลัก วิสามานยนาม จากหน้า วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ --taweethaも 12:02, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)

การออกเสียงทับศัพท์ตัว G แก้

ตามราชบัณฑิตยสถาน ขอแสดงความเห็นบางคำ เช่น คำว่า KANAGAWA ตามหลักของราชบัณฑิตฯ ต้องออกเสียง คะนะงะวะ ซึ่งในความเป็นจริง จะออกเสียงว่า คะนะกะวะ ส่วนหลักในการออกเสียงเท่าที่รู้มา ตัว G ถ้ารากศัพท์ดั้งเดิมเป็น G ถ้าไปอยู่ข้างหลังตัวอื่นจึงจะออกเสียง ง แต่ถ้าเปลี่ยนรูปจาก K เป็น G ไม่ว่ามันไปอยู่ตรงไหนของประโยคจะเปลี่ยนรูปการเขียนฮิระกะนะ เสียงเปลี่ยนเล็กน้อย จาก ค เป็น ก ทีนี้ก็ฝากไว้ว่าเราจะเอาแบบไหน ตามราชบัณฑิตฯ หรือ เอาตามเจ้าของภาษาฯ หรือไม่ก็ลองตั้งเป็นประเด็นอภิปราย เหตุเพราะเกรงว่าหากใครนำข้อมูลไปใช้สื่อสารจะเกิดความสับสน (ผมเองก็งงอยู่พักหนึ่งเมื่อเริ่มอ่านวิกิพีเดียใหม่ๆว่าเราเข้าใจผิดแต่แรก ได้ถามคนญี่ปุ่นมาได้ความมาอย่างนี้เลยเอามาบอกต่อ) --泰和 05:35, 2 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ดูเพิ่มที่ พูดคุย:จังหวัดคะนะกะวะ --taweethaも (พูดคุย) 17:05, 20 เมษายน 2555 (ICT)
en:wikt:神奈川県 จะเห็นว่า が ออกเสียง /ɡ̃a/ ไทยไม่มีอักษรแทนเสียง /g/ แต่เนื่องจากมีสัญลักษณ์เสียงนาสิกอยู่ข้างบน (เมื่ออยู่กลางคำเสียงนาสิกจะออกมา) จึงใช้ ง ซึ่งใกล้เคียงกว่า ก --奥虎 ボンド 10:51, 2 กุมภาพันธ์ 2559 (ICT)

หลักเกณฑ์ใหม่ปี 2561 แก้

มีการอภิปรายที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การปรับปรุงคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น --Horus (พูดคุย) 03:11, 22 เมษายน 2561 (ICT)

เกณฑ์เก่า แก้

จะโชว์เกณฑ์เก่าเพื่อเปรียบเทียบด้วยไหมครับ เช่น อาจจะเอาไว้ล่าง ๆ แล้วเขียนติดให้ชัดเจนว่า เกณฑ์เก่า พ.ศ. 25xx --Horus (พูดคุย) 01:41, 29 เมษายน 2561 (ICT)

กลับไปที่หน้าโครงการ "คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น"