คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน
1 |
การใช้ตัวเอนในบทความแปล
แก้เนื่องจากใน en:Wikipedia:Manual of Style (text formatting) ได้กล่าวถึงชื่อที่จะต้องทำตัวเอน และมีผู้ระบุว่า ทางวิกิพีเดียภาษาไทยจะต้องบังคับตามแนวปฏิบัตินี้ในวิกิพีเดียเพื่อให้เป็นสากลด้วย แต่เนื่องจากการทำตัวเอนในชื่อบทความเฉพาะเช่นนี้ไม่ปรากฏในลักษณะภาษาไทยแต่อย่างใด (เป็นต้นว่า "ราชรถมาเกย" เทียบกับ "ดิโอปราห์วินฟรีย์โชว์" ซึ่งเป็นชื่อรายการโทรทัศน์ ที่เข้าข่ายจะต้องทำตัวเอนด้วย)
จึงเสนอว่าไม่ควรบังคับใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวในภาษาไทย เนื่องจากไม่ใช่ลักษณะของภาษาไทย ทั้งนี้ หลักฐานที่ว่านโยบายดังกล่าวไม่ได้บังคับใช้ในระดับสากลนั้น สามารถดูได้จากบทความ The Oprah Winfrey Show ในวิกิพีเดียภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ได้ทำเป็นตัวเอน อาทิ ภาษาเยอรมัน, ภาษาอิตาเลียน, ภาษาดัตช์ เป็นต้น --Horus | พูดคุย 19:41, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
การใช้ตัวเอน ทำให้แยกแยะเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นชื่อเฉพาะ มิใช่ประโยคหรือคำบอกเล่า ซึ่งก็มีมาตรฐานตามรูปแบบวิกิพีเดีย en:Wikipedia:Manual of Style (text formatting) เหมือน ดังการใช้คำว่า แหล่งข้อมูลอื่น ในทุกบทความ การกล่าวว่า การใช้ตัวเอนไม่ถูกตามหลักภาษาไทย ก็ไม่เคยมีใครกล่าวอ้าง มีแต่การใช้เครื่องหมายวรรคตอนที่มีกข้อวิธีการใช้ [1] และถ้าพูดอีกทางหนึ่ง หากตัวเอน ไม่ใช่ลักษณะของภาษาไทย ถ้าเช่นนั้น ตัวหนา ก็ไม่ควรใช้ สมควรเลิกใช้ในวิกิพีเดียไปด้วย และที่คุณยกตัวอย่าง ในวิกิพีเดียในภาษาอื่นมาว่ารายการโทรทัศน์เขาไม่ใช้ตัวหนานั้น เขาใช้กันครับ เพียงแต่บทความนั้นเขาไม่ใส่มา ตัวอย่าง "it:Maurizio Costanzo Show" ในกรณีของภาษาจีนนั้นแตกต่างกันเพราะภาษาจีนเอนแล้ว "อ่านไม่ออก" ส่วนในภาษาไทยก็มีการใช้ตามหนังสือต่าง ๆ ยังมีการใช้กัน จึงควรใช้ตามหลักการใช้พื้นฐานของวิกิพีเดีย --Poang6 20:02, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
บทความในวิกิพีเีดียมันมาตรฐานไม่เท่ากันหรอกครับ บางบทความเขียนดี อ้างอิงตามรูปแบบ แต่ทำไมบางบทความอ้างอิงก็ผิดหลักเกณฑ์การอ้างอิง ทั้ง ๆ ที่มีนโยบายกำกับนโยบายกำหนดมาตรฐาน ให้ใช้เหมือนกัน เขาถึงมีหลักการใช้ไปทิศทางเดียวกัน ไม่เช่นนั้นต่างคนต่างใช้ --58.9.20.102 20:08, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ผมคงไม่เล่น 20 คำถามกับคุณ ผมไม่มีเวลามากขนาดนั้น เอาเป็นว่า ฝากท่านอื่นพิจารณาด้วย ดูประเด็นสาระการอภิปรายเป็นสำคัญ อันไหนแย้งมาด้วย ความไม่สร้างสรรค์กรุณาข้ามผ่าน ฝากด้วยครับ --Poang6 20:25, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
เคยตกลงกันแล้วว่า ชื่อรายการโทรทัศน์หรอภาพยนตร์ควรใช้ตัวเอน และชื่อภาษาอื่นที่ใช้อักษรไทยเช่นการปริวรรตก็ใช้ตัวเอน (เช่นเดียวกับ enwp ที่ใส่ภาษาอื่นที่ใช้อักษรละติน แต่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษก็ใช้ตัวเอน) เพื่อจุดประสงค์ของการแยกแยะ หลักเกณฑ์ก็ตรงตามกำหนดที่ใช้กันปกติอยู่แล้ว ยกตัวอย่างสองกรณียังมีอย่างอื่นอีกแต่ไม่ขอกล่าวไว้ในที่นี้ --octahedron80 20:35, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ตามการพิสูจน์ของคณิตศาสตร์ หากสามารถยกตัวอย่างมาแย้งได้เพียงหนึ่งก็ไม่อาจสรุปได้ว่าสมมติฐานจะต้องเป็นจริงเสมอ (100%) คุณว่าใช่หรือเปล่าล่ะ --Horus | พูดคุย 20:36, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ตัวเอนมีการใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ผมจำได้ว่าเคยอภิปรายไปแล้ว? ผมคาดคะเนว่ามันก็ครึ่งต่อครึ่งเชียวละ ถ้าผลักดันให้ใช้ตัวเอนทั้งหมดจะได้เหมือนกัน ดีกว่ามานั่งเถียงกัน บางอย่างไม่ใช้ตัวเอนเลยก็ไม่ได้เช่นชื่อวิทยาศาสตร์ ส่วนหนึ่งเรื่องการใช้ตัวเอน (พูดเรื่องอื่นด้วย) วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/การตั้งชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ --octahedron80 20:57, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ตามการพิสูจน์ของคณิตศาสตร์ หากสามารถยกตัวอย่างมาแย้งได้เพียงหนึ่งก็ไม่อาจสรุปได้ว่าสมมติฐานจะต้องเป็นจริงเสมอ (100%) คุณว่าใช่หรือเปล่าล่ะ --Horus | พูดคุย 20:36, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
นอกเหนือจากชื่อวิทยาศาสตร์ มีการอภิปรายเรื่องตัวเอนอย่างอื่นอีกไหมครับ --Horus | พูดคุย 21:10, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ตัวแปรในทางคณิตศาสตร์ก็ใช้ตัวเอน ชื่อเรือ ชื่อเพลง ชื่อหนังสือ คำพูดที่ยกมา การเน้นคำ ฯลฯ ผมสนับสนุนให้ใช้หลักเกณฑ์ตาม MOS ของ enwp ทุกประการ (ซึ่งก็ไม่ได้เสียหายตรงไหน) จะได้ไม่มีปัญหาในภายภาคหน้าต่อไปอีก --octahedron80 21:16, 28 พฤษภาคม 2554 (ICT)
จากประสบการณ์ที่เคยทำหนังสือมาบ้าง เวลาอ้างถึงชื่อหนังสือ ชื่อบทความทางวิชาการ (งานเขียนเรียงความ) ชื่อเพลง ชื่อภาพยนตร์ ชื่อบทกวี เราก็ใช้ตัวเอนกันค่ะ FYI --Tinuviel | พูดคุย 00:25, 29 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ถ้าอ่าน When not to use italics ในบทความที่คุณ Horus ยกมา จะเห็นว่าบางครั้งให้ใช้ "อัญประกาศ" แทน ตัวเอียง ด้วย
- ถ้ามี manual of style ของบทความประเภทนั้นโดยเฉพาะ manual of style ฉบับที่จำเพาะกว่า ก็ supersede ฉบับทั่วไป ตัวอย่างที่คุณ Horus ยกมาเป็นรายการโทรทัศน์ ดังนั้นการบังคับให้เน้นข้อความอาจทำได้ตามหลักทั่วไป หรือ หลักเฉพาะของรายการโทรทัศน์ ไม่แน่ใจว่าเราต้องการขยายขอบเขตให้กว้างแต่ทำได้ไม่ทั่วถึง หรือจะเจาะจงจัดการไปเฉพาะกลุ่มเพื่อให้จัดการได้ทั้งหมดให้ระยะเวลาอันสั้น แล้วค่อยขยายโครงการต่อไปเมื่อประสบผลสำเร็จ ? ปัญหา manual of style ง่ายๆ อย่างการเขียน External link เป็นลิงก์ภายนอก แทนที่จะเป็นแหล่งข้อมูลอื่นนี้ยังแก้กันแทบไม่ได้เลย เพราะหากมีบทความหนึ่งเป็นตัวอย่าง สักพักก็มีคนลอกเอาไปใช้ ขยายออกไปได้เหมือนโรคติดต่อ (ตอนนี้ใช้ abuse filter บังคับแทน เห็นจะได้ผลดี)
--taweethaも 07:46, 29 พฤษภาคม 2554 (ICT)
เหมือนเคยพูดกันแล้วนะครับเรื่องนี้ เราใช้ตัวเอนตาม manual of style กัน ถ้าใครใส่ก็ทำให้บทความมีความมีระเบียบมากขึ้น ใครไม่ใส่ก็ทำให้แยกออกยากหน่อย แต่ใครเอนแล้วก็ยังไปแก้กลับให้ไม่เอน --Sry85 14:06, 30 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ที่ผมคิดคือ กรณีรายการโทรทัศน์ของไทยกับของต่างประเทศ เน้นตัวเอนเฉพาะต่างประเทศ จึงทำให้คิดว่าผู้ใช้พอใจที่จะเน้นเองมากกว่า --Horus | พูดคุย 17:08, 30 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะตอนนั้นยังไม่มี MOS เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่มีการติวหรือพาไปดูตัวอย่างที่ไหน ผู้ใช้จึงไม่ทราบว่าเมื่อไรควรใช้หรือไม่ควรใช้ตัวเอน ทำให้คุณต้องมาตั้งคำถามอยู่นี่กระไร --octahedron80 20:28, 31 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ที่ผมคิดคือ กรณีรายการโทรทัศน์ของไทยกับของต่างประเทศ เน้นตัวเอนเฉพาะต่างประเทศ จึงทำให้คิดว่าผู้ใช้พอใจที่จะเน้นเองมากกว่า --Horus | พูดคุย 17:08, 30 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ถ้าหมายถึงที่เขียนในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ทำไมไม่เขียนในวิกิพีเดียภาษาไทยบ้างล่ะครับ --Horus | พูดคุย 20:34, 31 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ก็หาคนทำอยู่ หรือผมอาจจะทำให้ก็ได้ ขอเวลาอ่านและแปลทั้งหมดก่อนครับ หรือใครกำลังทำอยู่บ้าง จะได้ไม่ต้องทำซ้ำซ้อนกัน --octahedron80 00:51, 1 มิถุนายน 2554 (ICT)
เสนอ MOS เกี่ยวกับ markup ในหัวข้อ
แก้ไม่แน่ใจว่ามี MOS เรื่องนี้แล้วหรือยัง ถ้ามีแล้วก็ขออภัยด้วย
ผมเห็นมีหลาย ๆ คนใช้ markup ในหัวข้อ / หัวข้อย่อยทั้งหลาย เช่น
== '''ประวัติ''' == === [[รหัสเทียม]]ของขั้นตอนวิธี ===
หรืออะไรทำนองนี้ ผมคิดว่ามันทำให้ดูเละและไม่เรียบร้อย นอกจากนี้ยังทำให้การลิงก์มายังส่วนนั้นด้วย ...#xxx
ทำได้อย่างยากลำบาก และบอตก็ประมวลผลได้อย่างยากลำบากเช่นเดียวกัน (เป็น unsolved bug ของ pywikipedia ที่ไม่มีใครอยากยุ่งเพราะแก้ยาก) จึงเสนอห้ามทำวิกิลิงก์ และ markup ต่าง ๆ ยกเว้นบางกรณี เช่น
== H<sub>2</sub>O ==
ซึ่ง markup มีความสำคัญ --Nullzero (พูดคุย) 19:39, 3 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ยัติภังค์/ยัติภาค
แก้ปัญหาตอนนี้คือทุกคนมักใช้ยัติภังค์ในการพิมพ์เครื่องหมายขีด (เพราะพิมพ์ง่าย) จากการคุยกับคุณ Aristitleism และดูหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนของราชบัณฑิตฯ [2] ได้ว่าควรใช้ยัติภาค (ขีดยาว) แทนที่ยัติภังค์ ในจุดที่มีความหมาย "และ/กับ"
ประเด็นคืออักขระขีดยาวของสากลมันมี 2 แบบคือ em-dash (—) กับ en-dash (–) โดย em-dash จะยาวกว่า ทางราชบัณฑิตไม่ได้บอกว่าให้ใช้อะไร แต่บอกรายละเอียดไว้ว่า "ยาว ๒–๓ ช่วงตัวอักษร" ซึ่งน่าจะเป็นตัว em-dash มากกว่า
นอกจากนี้ ตามหลักเกณฑ์ของภาษาอังกฤษ ยังมีการใช้งาน em-dash กับ en-dash ที่แตกต่างกันอีก เช่น ถ้าใช้เครื่องหมายแทนคำว่า "ถึง" (1 ถึง 5) ก็ให้ใช้ en-dash จะใช้ em-dash หรือยัติภังค์ไม่ได้ (ดูที่ en:WP:MOS)
เลยอยากถามถึงแนวทางการใช้ยัติภังค์/ยัติภาคในวิกิพีเดียภาษาไทย
ทางเลือก (เสนอโดยคุณ Aristitleism)
- ใช้ em-dash ให้หมดทุกที่สำหรับยัติภาค
- ใช้หลักเกณฑ์ในภาษาอังกฤษโดยอนุโลม
- ให้ประชาคมลงมติเป็นหลักเกณฑ์ภายในว่า อย่างนี้ใช้ en อย่างนี้ใช้ em
--Nullzero (พูดคุย) 22:11, 9 เมษายน 2556 (ICT)
หมายถึงในวิกิพีเดียน่ะครับ --Horus | พูดคุย 23:31, 9 เมษายน 2556 (ICT)
ต่อไปเราจะไม่เรียกว่ายัติภังค์หรือยัติภาคเพราะจะทำให้สับสน
- ขีดสั้น คือขีดที่มีความกว้างเล็ก ๆ กว้างแทบไม่ถึงหนึ่งตัวอักษร แต่เดิมขีดสั้นเป็นเครื่องหมายสารพัดประโยชน์ในแอสกี แทนได้ทุกอย่างทั้ง hyphen, dash, minus แต่เมื่อเริ่มมียูนิโคดเข้ามา ขีดสั้นถูกเรียกว่า hyphen-minus และแนะนำให้ใช้เครื่องหมายที่ตรงกับจุดประสงค์แทน
- hyphen (-) รูปร่างเหมือนขีดสั้น (ก็ใช้ขีดสั้นไป) โดยทั่วไปใช้กับคำประสมเช่น single-minded logic, around-the-clock running ใช้เป็นจุดนำ (bullet) ใช้แบ่งพยางค์ ใช้แสดงอุปสรรคและปัจจัย หรือใช้ตรงสุดบรรทัดกรณีเขียนไม่จบคำ กรณีสุดท้ายอาจเรียก soft hyphen ซึ่งเครื่องหมายจะปรากฏก็ต่อเมื่อมันอยู่ในตำแหน่งสุดท้ายบนหน้าจริง ๆ
- en dash (–, –) คือขีดที่มีความกว้างเท่ากับความสูงของ n หรือ x หรือพูดง่าย ๆ คือความสูงของอักษรตัวเล็ก ก็ประมาณความกว้างของอักษรปกติหนึ่งตัว หน้าที่ของมันใช้เชื่อมคำที่เกี่ยวข้องกันสองอย่างขึ้นไป เช่น แต่ละก้านมี 10–12 ใบ, รถประจำทางวีไอพี กรุงเทพ–เชียงใหม่, เชลซี–อาร์เซนอล 3–0, สมการชเตราส์–ออยเลอร์ (สมมติ)
- em dash (—, —) คือขีดที่มีความกว้างเท่ากับความสูงของระดับอักษรตั้งแต่บนสุดจรดล่างสุด คือตั้งแต่หาง d จนถึงหาง q เรียกว่า "หนึ่งเอ็ม" ขนาดจึงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฟอนต์ อาจจะยาวประมาณ 1.5–2 ตัวอักษร ไม่ได้กว้างเท่าตัวอักษร M อย่างที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งจะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ควรใช้ em dash เช่นกลุ่มวันที่ยาว ๆ 12 มกราคม พ.ศ. 2490 — 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 หรือใช้อธิบายคำศัพท์หรืออนุประโยค He has too much trisdekaphobia — fear of the number 13. (ภาษาไทยไม่มีการใช้งา่นเช่นนี้) หรือใช้กำกับระบุเจ้าของคำพูด จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ — ไอนสไตน์ ในการเรียงพิมพ์สมัยก่อนมีการใช้ขีดสั้นสองถึงสามครั้ง -- แทน em dash ด้วย
- minus (−, −) คือเครื่องหมายลบตามชื่อของมัน ซึ่งหน้าตาเหมือน en dash เปี๊ยบ แต่เป็นอักขระคนละตัว เมื่อต้องการใช้เครื่องหมายลบ ก็ไม่ควรใช้ขีดทุกประเภทที่กล่าวมา (เครื่องหมายลบอยู่ก่อนเครื่องหมายคูณในแถบแทรกอักษร)
- ยังมีขีดประเภทอื่นอีกแต่ไม่ค่อยมีการใช้จึงไม่กล่าวไว้ในที่นี้ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Octahedron80 (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 13:58, 11 เมษายน 2556 (ICT)
ด้วยความเห็นส่วนตัว ไม่เห็นด้วยที่จะใช้ em dash ทั้งหมด เพราะทำให้เว้นระยะห่างเกินไป กรณีทั่วไปควรใช้ en dash หรือใช้เครื่องหมายกันให้ถูกประเภท --奥虎 ボンド 12:49, 10 เมษายน 2556 (ICT)
ราชบัณฑิตฯ นั้นยังยึดกับการเขียนด้วยมืออยู่หลายอย่าง ทั้งเรื่องวรรคเล็ก วรรคใหญ่ หรือเรื่องเรียงลำดับคำตามพจนานุกรมก็สร้างความมึนได้พอสมควร อย่างไรก็ดีบนวิกิพีเดียภาษาไทยมีข้อจำกัดทางเทคนิคและมีความเป็นสากลอยู่ ต้องนำมาพิจารณาประกอบกัน ฯลฯ ขอถามโง่ๆ ก่อนว่าตกลงเราพูดกันถึงอักขระ unicode กี่ตัวกันแน่ ชื่อตาม unicode เรียกว่าอะไรบ้าง อยู่ในหมวดหมู่ของภาษาอะไร และบนคีย์บอร์ดมาตรฐานภาษาอังกฤษ ที่มี numeric pad ด้วยผลิตขีดได้สองหรือสามแบบกันแน่ - (1) ข (2) ๘ และ (3) ปุ่มด้านขวาของ * ด้านบนของ + และด้านทแยงบนขวาของ 9 --taweethaも (พูดคุย) 10:25, 11 เมษายน 2556 (ICT)
- เรื่อง unicode คุณ octahrdron80 น่าจะตอบได้ (ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย) เรื่องอักขระบนแป้นพิมพ์ (1) ข กับ (3) ปุ่มด้านขวาของ * ผมเข้าใจว่าเป็นตัวเดียวกันเด๊ะเลยครับ ส่วน (2) ๘ เป็น en:Underscore ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอักขระที่กำลังอภิปรายอยู่แต่อย่างใด --Nullzero (พูดคุย) 10:44, 11 เมษายน 2556 (ICT)
- ตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ เป็นขีดสั้นทั้งหมด (ยกเว้น underscore) อักษรนี้มีมาตั้งแต่แอสกี ก่อนมียูนิโคด ถ้าเราอยู่ในยุคพิมพ์ดีดหรือดอส ก็คงไม่ต้องกังวลเรื่องนี้เพราะมันใช้แทนได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เวิร์ดเข้ามา ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ปัจจุบันเน้นการใช้งานที่ถูกต้อง เรากำลังพูดถึงอักขระยูนิโคด 4 ตัว: hyphen กดจากแป้นพิมพ์ - ตรงไหนก็ได้, en dash กด Alt+1+5+0, em dash กด Alt+1+5+1 และ minus กดเอาในแถบฯ --奥虎 ボンド 13:20, 11 เมษายน 2556 (ICT)
– — ‘ ’ “ ” ° ″ ′ ≈ ≠ ≤ ≥ ± − × ÷ ← → · § ^ ^ ^ nd md minus
--奥虎 ボンド 14:11, 11 เมษายน 2556 (ICT)
เครื่องหมายคูณ
แก้ขอนอกเรื่องหน่อย หลายคนชอบใช้เอกซ์ (Xx) แทนเครื่องหมายคูณ (×) ถ้าเจอที่ไหนช่วยเก็บกวาดด้วย ยกเว้นที่ใช้ในรหัสแทรกรูปภาพ --奥虎 ボンド 13:06, 19 เมษายน 2556 (ICT)
ให้ใช้ "รายชื่อ" กับรายการของวิสามานยนามอย่างเดียว
แก้ขอเชิญผู้ร่วมสนใจอภิปรายในหน้า คุยเรื่องวิกิพีเดีย:ชื่อบทความ#เสนอให้ใช้ "รายชื่อ" กับรายการของวิสามานยนามอย่างเดียว --Horus (พูดคุย) 14:24, 11 เมษายน 2561 (ICT)
ชื่อวิทยาศาสตร์
แก้ใช้ตัวเอนสำหรับชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช สัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นในระดับสกุล (genus) และต่ำกว่า (ใช้ตัวเอนกับ Panthera leo แต่ไม่ใช้กับ Felidae) สัญลักษณ์ลูกผสมไม่ใช้ตัวเอน (Rosa × damascena) หรือ "คำเชื่อม" ที่ต้องใช้ในชื่อพฤกษศาสตร์ (Rosa gallica subsp. officinalis) หรือ ( Rosa gallica var. officinalis )[1] รบกวนเพิ่มการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันทั่วโลกด้วยครับ ขอบคุณครับTris T7 11:16, 21 พฤศจิกายน 2561 (ICT)
การใส่ยศ รางวัลในบทความบุคคล
แก้เนื่องจากข้อพิพาทล่าสุด ขอตั้งกระทู้ใหม่เพื่อสอบถามว่าบทความบุคคลควรใส่อะไรได้บ้าง
- ยศทหาร-ตำรวจ ซึ่งเป็นเหล่าทัพอย่างเป็นทางการ (ซึ่งในบางประเทศหมายความรวมถึงยามฝั่ง ทหารป้องกันภัยทางอากาศ ฯลฯ)
- ยศราชการพลเรือนบางอย่าง เช่น en:Military ranks, special ranks and class rates in Russia
- ยศการศึกษา (ศ. รศ. ผศ.)
- เครื่องราช +เหรียญ
- ปริญญากิตติมศักดิ์
- รางวัลจากหน่วยงานภาครัฐและเอ็นจีโอที่สำคัญ
- ประเด็นเปิด: การอ้างอิงราชกิจฯ (แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ) อย่างเดียว พอหรือไม่?
--Horus (พูดคุย) 22:21, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ไม่ควรใส่
- สิ่งที่เป็นโดยตำแหน่ง เช่น เป็น ปธน สหรัฐแล้วเป็นประธานลูกเสืออเมริกา เป็นต้น --Horus (พูดคุย) 22:26, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
ประเด็น อส. และยศของหน่วยงานที่ไม่ใช่เหล่าทัพ
แก้คุณ นิลกาฬ เสนอของใครของมันครับ อย่าทำให้คนอื่นเข้าใจผิดว่าเป็นผมเสนอ --Horus (พูดคุย) 22:29, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- โอเค ขออภัย--นิลกาฬ (พูดคุย) 22:29, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
ผมเสนอว่า ยศกองอาสารักษาดินแดน เหมือนกับ ยศทหาร-ตำรวจ ซึ่งเป็นเหล่าทัพอย่างเป็นทางการ คล้ายๆ ยามฝั่ง ทหารป้องกันภัยทางอากาศ ฯลฯ ในบางประเทศ หาก ในวิกิ ยอมให้ใส่ยศทหาร-ตำรวจ ผมมองว่า ยศกองอาสารักษาดินแดน ก็ควรใส่ด้วย เช่นกัน แต่ อาจไม่ต้องใส่ในหน้าชื่อบุคคล แต่ น่าจะใส่ในตรงใกล้ๆ รางวัล หรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อะไรประมาณนี้ครับ หรือ ใส่รวมในรางวัลก็ได้--นิลกาฬ (พูดคุย) 22:35, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ดูตาม en:Title เลยครับ นายกองเอก อยู่ในกลุ่มไหน ถ้าคุณเลือกว่าให้ใส่กลุ่มนั้น แปลว่าคุณกะจะให้ใส่ได้ทั้งกลุ่ม, น่าจะต้องมียศลูกเสือติดมาด้วยแน่ ๆ เพราะเป็นองค์การจัดตั้งภาครัฐเหมือนกัน --Horus (พูดคุย) 22:42, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ล้อผมเล่นหรือเปล่านิ ลูกเสือมันมียศที่ไหนละ มันยศด้วยหรอไม่เคยได้ยิน สมัยก่อนมันมี แต่ ร.7 ยกเลิกไปแล้วนิ และ ยศกองอาสารักษาดินแดนมีการแปลยศเป็นภาษาอังกฤษตั้งนานแล้วนะ อ่านในกองอาสารักษาดินแดนก็ได้ครับ--นิลกาฬ (พูดคุย) 22:35, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ก็ถ้าเคยมี แปลว่าก่อนสมัย ร. 7 (ตามที่คุณว่า) คนที่เคยได้ก็ต้องใส่ด้วยสิครับ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม แล้วถ้าคุณอ้างเรื่องวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผมจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่ใช่ตัวคุณเองที่ไปเขียนไว้ --Horus (พูดคุย) 22:52, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
สำหรับบทความฝรั่ง อย่าง Civil service rank [3] SES พวกนี้ต้องใส่ด้วยป่าวครับ --Horus (พูดคุย) 22:55, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)- ยศภาษาอังกฤษของกองอาสารักษาดินแดน(อ.ส.) ผมไม่ได้เขียนเอง เช็คประวัติก็ได้ หรือไม่ อ่านจากเล่มนี้ก็ได้วารสารครบรอบ 63 ปี 10 กุมภาพันธ์ 2560 หน้า78-79 แล้ว คุณจะเอายศลูกเสือที่ยกเลิกไปนานแล้วมาใส่ทำไมละครับ ยศมีอะไรบ้างผมยังไม่ทราบเลย ลงราชกิจฯ บ้างหรือเปล่าก็ไม่ทราบครับ--นิลกาฬ (พูดคุย) 23:02, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- Horus http://www.d11s.org/documents/auxman/auxman_app_h.pdf. อันนี้คืออะไรครับ นิลกาฬ (พูดคุย) 23:04, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- อันนั้นผมเข้าใจผิดเอง ดูอันนี้ครับ ยศพนักงานดับเพลิง อันนี้ต้องใส่ไหม --Horus (พูดคุย) 23:13, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ยศพนักงานศุลกากร ? --Horus (พูดคุย) 23:14, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ยศพนักงานดับเพลิง ยศพนักงานศุลกากร ในไทยมีด้วยหรอครับ ผมว่าเราเอาแค่เหล่าทัพในไทยที่มียศก็พอแล้วหรือเปล่าครับ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และ กองอาสารักษาดินแดนก็พอนะครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 23:16, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- งงครับ เวลาอภิปรายกันก็พูดกันรวม ๆ ไม่ได้เจาะจงแค่ในไทยสิครับ แล้ว en:Template:UK Prison Service rank insignia ผู้คุมต้องใส่ด้วยไหม --Horus (พูดคุย) 23:23, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- นักเรียนเตรียมทหารต้องใส่ยศป่าวครับ [4] --Horus (พูดคุย) 23:28, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ป้องกันภัยพลเรือน? en:File:Cdranks.jpg --Horus (พูดคุย) 23:30, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- โอเคถั้างั้นผมขอเสนอแค่เหล่าทัพในไทย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และ กองอาสารักษาดินแดน แต่ถ้ามียศอื่นๆด้วย ผมก็ขอเสนอว่า ถ้าจะใส่ก็น่าจะใส่ในตรงใกล้ๆ รางวัล หรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อะไรประมาณนี้ครับ หรือ ใส่รวมในรางวัลก็ได้ครับ ไม่ควรใส่หน้าชื่อครับ ส่วนยศนักเรียนเตรียมทหาร หรือ นักเรียนนายร้อย หรือ นักศึกษาวิชาทหาร รวมถึงพลทหาร ปกติ ไม่เคยเจอเคสแบบนี้ เนื่องจากยังเด็ก คงมีไม่มากที่จะมาเขียนเป็นบุคคลในวิกิครับ และ ไม่ใช่ยศพระราชทานแต่สามารถใช้ในหนังสือราชการกลาโหมได้ครับ ในบางเอกสาร อันนี้ขอไม่ออกความเห็นครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 23:33, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ตัดจบง่ายจัง ก็เผื่อโตขึ้นได้เป็นใหญ่เป็นโตไงคุณ เห็นละว่ายังไงก็กะจะเอา อส. ให้ได้ ทั้งที่คุณเองก็คงสะอึกในใจแล้วแหละ มีอีกตัวอย่างนะ ยศกองลาดตระเวนทางอากาศพลเรือน https://www.pinterest.com.mx/pin/303570831129378700/ ต้องใส่มั้ย? --Horus (พูดคุย) 23:37, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- แล้วไม่ทราบว่า อส. ได้เป็นเหล่าทัพตอนไหนครับ เดี๋ยวนี้ไทยมี 5 เหล่าทัพแล้วเหรอ? --Horus (พูดคุย) 23:38, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ยศนักบินพลเรือน [5] ต้องใส่ไหมครับ? --Horus (พูดคุย) 23:44, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ประเด็นที่ผมเสนอ คือ ยศกองอาสารักษาดินแดนครับ ไม่ใช่ ยศอื่นๆ ที่ไม่มีในไทย และ ผมไม่ได้ตัดจบ ผมรออยู่นิว่า นอกจากคุณจะมีคนอื่นมาอภิปราบเพิ่มไหม คุณก็ไปเอายศอื่นๆที่ ไม่เคยมีในราชกิจจานุเบกษา ไม่เคยมีในหนังสือราชการไทย และ ไม่เคยออกสื่อไทยมานำเสนอ ยศกองอาสารักษาดินแดนมีการออกสื่อไทยนะครับเช่น ไทยรัฐ และ เป็นเหล่าทัพหนึ่งในไทย ผมจึงเสนอว่า ควรใส่ด้วยครับ--นิลกาฬ (พูดคุย) 23:44, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ขอหลักฐานที่ว่า อส. เป็นเหล่าทัพด้วยครับ แล้วยศ อส. เทียบกับยศอื่น ๆ พวกนี้มันต่างกันตรงไหนครับ ผมว่ายศพวกนี้บางอย่างน่าใส่กว่า อส. ของคุณอีก --Horus (พูดคุย) 23:51, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- บางอย่างน่าใส่กว่า พิสูจน์อย่างไรครับ กองอาสารักษาดินแดนเป็นเป็นกองกำลังกึ่งทหารในไทย สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ พรบ. พรบ.ยศ โพสทูเดย์ แนวหน้า ถ้าคุณบอกว่า กองอาสารักษาดินแดนไม่ใช่เหล่าทัพแล้วจะเป็นอะไร? มีการใช่อาวุธ ฝึกท่ามือเปล่า ป้องกันประเทศ หากมีสงครามทหารตายหมด ต้องเกณฑ์เจ้าหน้าที่อาสารักษาดินแดนไปรบต่อนะ--นิลกาฬ (พูดคุย) 23:44, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ดู en:Military branch ครับ อันนี้ผมให้อภัยคุณแล้วกันที่ไม่เข้าใจความหมายของ "เหล่าทัพ" แต่อย่าไปบอกคนอื่นข้างนอกแล้วกัน มันอายเขา บอกว่า อส. เป็นเหล่าทัพ --Horus (พูดคุย) 00:05, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- แล้วไงครับ ถ้ากองอาสารักษาดินแดนไม่ใช่เหล่าทัพ แล้ว เป็น ตำรวจหรอ? ก็บอกแล้วว่า เป็น กองกำลังกึ่งทหาร ผมใช้คำผิด ไม่ใช่เหล่าทัพ แต่ เป็นกองกำลังกึ่งทหาร ดู en:Paramilitary แล้วไง ไม่ใช่เหล่าทัพเลยไม่ให้ใส่หรอ --นิลกาฬ (พูดคุย) 00:09, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ก็เพราะไม่ใช่เหล่าทัพ มันก็เลยจะอยู่ในกลุ่มลูกเสือ ผู้คุม ดับเพลิง การบิน พวกนี้ไง คุณคิดว่าน่าใส่หรือเปล่าล่ะ ผมคิดว่าพวกที่เป็นราชการจริง ๆ เช่น ดับเพลิง ผู้คุม น่าจะใส่ได้ ส่วนพวกกึ่ง ๆ หรือไม่ใช่ราชการอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องใส่ --Horus (พูดคุย) 00:16, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ก็เพราะไม่ใช่เหล่าทัพมันจะไปอยู่บนกลุ่มลูกเสือได้ไงละ กองอาสารักษาดินแดนไม่ใช่ราชการได้ไง มันสังกัดกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่ในนั้นก็ข้าราชการทั้งนั้น ทั้งปลัดกระทรวง ผู้ว่า นายอำเภอ ถามว่า ลูกเสือ ผู้คุม ดับเพลิง การบิน ถูกฝึกมาแบบกองอาสารักษาดินแดนหรอ ใช้ปืนเป็นหรอ ไปรบ จับยาเสพติดแบบกองอาสารักษาดินแดนได้ไหม คุณเปรียบเทียบอย่างไรนิ --นิลกาฬ (พูดคุย) 00:20, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ผมเทียบกับลูกเสือ เพราะมันเป็นองค์การที่จัดตั้งโดยรัฐ แต่ไม่ใช่ราชการเหมือนกัน
- อส. เป็นราชการหรือไม่ ก็อย่านับพวกที่เป็นโดยตำแหน่งสิ ชื่อมันก็บอกอยู่ว่าอาสา พวกตัวเล็กตัวน้อยนี่เป็นข้าราชการด้วยเหรอ แล้วสรุปว่าใช้ปืนได้ มีอำนาจจับผู้ร้าย ก็เลยใส่ยศได้เหรอ ตรรกะมันยังไงนะ อย่างนี้ถ้าอัลไคดามียศ ก็ต้องใส่ด้วยป่าว --Horus (พูดคุย) 00:24, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- [6] ทหารพรานต้องใส่ยศด้วยไหมเนี่ย --Horus (พูดคุย) 00:28, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- [7] ผบ. หมู่ ชรบ. นี่ต้องใส่ด้วยป่ะ --Horus (พูดคุย) 00:30, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- "แล้วสรุปว่าใช้ปืนได้ มีอำนาจจับผู้ร้าย ก็เลยใส่ยศได้เหรอ" แล้วถ้างั้นคุณใส่ยศตำรวจทำไมละ เหตุผลมันอันเดียวกันนะ ใช่ยอมรับอส.บางคนไม่ใช่ข้าราชการแล้วไง กำลังจะบอกว่าอส.บางคนไม่ใช่ข้าราชการ เลยไม่ควรใส่ยศหรอ ถ้างั้น บางคนยศว่าที่ร้อยครี หรือ ทหาร ตำรวจ นอกราชการก็ไม่ควรใส่ยศหรอ และ นายอำเภอก็ไม่ได้ยศ นายหมวดตรีมาโดยตำแหน่งนะ ต้องไปฝึกด้วย บางคนได้ นายหมวดโท บางคนได้ นายหมวดตรี และ ผมมองว่า ยศทุกอย่างใส่ได้ แต่ ไม่ต้องไปใส่หน้าชื่อ ใส่ตรงใกล้ๆ รางวัล หรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อะไรประมาณนี้ครับ หรือ ใส่รวมในรางวัลก็ได้นิ มันไม้ได้ไปบดบังข้อมูลส่วนอื่นที่สำคัญนิ--นิลกาฬ (พูดคุย) 00:33, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- สรุปคือยังไงจะใส่ให้ได้ ไม่ต้องมีเหตุผลสินะ ถ้าคุณคิดจะอยู่ต่อ กรุณาเลิกทำอะไรตามใจแล้วใช้เหตุผลหน่อยละกัน --Horus (พูดคุย) 00:37, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- งงกับข้อสรุปคุณ แล้วคุณมีเหตุผลอะไรทำไมจะใส่ไม่ได้ ในเมื่อรางวัลอื่นๆ ยังใส่ได้--นิลกาฬ (พูดคุย) 00:38, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- งงอะไร คุณยังตอบผมไม่ได้เลย อึกอัก ๆ กรณีนี้ผมไม่มีความเห็นครับ แต่ อส. ใส่ได้แล้วกัน จบ แล้วที่ถามถึงตำรวจ เสิร์ชกูเกิลก็เจอว่า เหล่าทัพนับตำรวจด้วย ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม คุณอยากรู้จะลองหาดูเองก็ได้ --Horus (พูดคุย) 00:44, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ผมตอบคุณไปทุกข้อแล้วครับ สรุปคุณอนุญาติให้ผมใส่ยศกองอาสารักษาดินแดนในวิกิพีเดียแล้วใช่ไหมครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 00:46, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- สำหรับทหารพรานกับ ชรบ. นี่ยังไงนะ ไหนคำตอบ --Horus (พูดคุย) 00:50, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- สำหรับทหารพรานกับ ชรบ. มันไม่มียศไม่ใช่หรอ ผมเข้าไปในลิ้ง ไม่เจอยศนะครับ เจอแต่การประดับเครื่อหมายบนปกเสื้อ ทหารพรานเป็นของกองทัพไทย แต่ไม่มียศ ส่วน ชรบ. ไม่มียศนิครับ--นิลกาฬ (พูดคุย) 00:53, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ชั้น 1, ผบ. หมู่ ก็ยศนี่ครับ แกล้งดูไม่ออกเหรอครับ --Horus (พูดคุย) 00:57, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ชั้น 1, ผบ. หมู่ มันเป็นตำแหน่งไม่ใช่หรอครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 01:00, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ถ้ามองว่าไม่ใช่ยศ งั้นก็ใส่เป็นรางวัลแทนไม่ได้เหรอครับ เห็นเชียร์อยู่เลยนิ --Horus (พูดคุย) 01:02, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- [8] ยศอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล? (หมายเหตุทีหลัง: ต้นทางผิด) --Horus (พูดคุย) 01:11, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ยศมองไม่ได้นะครับ ปกติ ยศของแต่ละหน่วยงาน จะต้องมีการกำหนดเป็น พรบ. นิครับ เช่น พรบ.ยศ อส. ยศทหาร และ ยศตำรวจ แต่ชรบ. ไม่ได้มีการกำหนดขึ้นมานิครับ ชั้น 1, ผบ. หมู่ มันเป็นตำแหน่งครับ ถ้าไม่ใช่ยศเอาไปใส่ไม่ได้อยู่แล้วครับ ถ้าใส่ต้องใส่ในหน้าที่การงานครับ ส่วนยศอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลไม่มีนะครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 01:14, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- อ้าว ไปว่าเขาได้ไง ลองดูที่สารบัญดี ๆ ครับ จะเห็นคำว่า "ยศ" ถ้าสงสัยจะคลิกในนั้นก็ได้เขาทำลิงก์ให้ --Horus (พูดคุย) 01:19, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ผมเห็นอยู่ครับ แต่อันนั้นเขาให้ใส่ยศ อื่นๆไม่ใช่หรอครับ เห็น ยศทหาร อาสาสมัครพิทักษ์ทะเลไม่มียศนะครับ ไม่เคยเห็น พรบ.ครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 01:20, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ถ้ามองว่าไม่ใช่ยศ งั้นก็ใส่เป็นรางวัลแทนไม่ได้เหรอครับ เห็นเชียร์อยู่เลยนิ --Horus (พูดคุย) 01:02, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ประเด็นที่ผมเสนอ คือ ยศกองอาสารักษาดินแดนครับ ไม่ใช่ ยศอื่นๆ ที่ไม่มีในไทย และ ผมไม่ได้ตัดจบ ผมรออยู่นิว่า นอกจากคุณจะมีคนอื่นมาอภิปราบเพิ่มไหม คุณก็ไปเอายศอื่นๆที่ ไม่เคยมีในราชกิจจานุเบกษา ไม่เคยมีในหนังสือราชการไทย และ ไม่เคยออกสื่อไทยมานำเสนอ ยศกองอาสารักษาดินแดนมีการออกสื่อไทยนะครับเช่น ไทยรัฐ และ เป็นเหล่าทัพหนึ่งในไทย ผมจึงเสนอว่า ควรใส่ด้วยครับ--นิลกาฬ (พูดคุย) 23:44, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ยศพนักงานดับเพลิง ยศพนักงานศุลกากร ในไทยมีด้วยหรอครับ ผมว่าเราเอาแค่เหล่าทัพในไทยที่มียศก็พอแล้วหรือเปล่าครับ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และ กองอาสารักษาดินแดนก็พอนะครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 23:16, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ล้อผมเล่นหรือเปล่านิ ลูกเสือมันมียศที่ไหนละ มันยศด้วยหรอไม่เคยได้ยิน สมัยก่อนมันมี แต่ ร.7 ยกเลิกไปแล้วนิ และ ยศกองอาสารักษาดินแดนมีการแปลยศเป็นภาษาอังกฤษตั้งนานแล้วนะ อ่านในกองอาสารักษาดินแดนก็ได้ครับ--นิลกาฬ (พูดคุย) 22:35, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ดูตาม en:Title เลยครับ นายกองเอก อยู่ในกลุ่มไหน ถ้าคุณเลือกว่าให้ใส่กลุ่มนั้น แปลว่าคุณกะจะให้ใส่ได้ทั้งกลุ่ม, น่าจะต้องมียศลูกเสือติดมาด้วยแน่ ๆ เพราะเป็นองค์การจัดตั้งภาครัฐเหมือนกัน --Horus (พูดคุย) 22:42, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ┌─────────────────────────────────┘
- เรื่องชั้นของกฎหมายไม่สามารถนำมาอ้างได้ เพราะบางประเทศ en:Lieutenant-General (France) ก็เป็นกฤษฎีกา (decree) แล้วก็ไม่ต้องมาบอกว่า จะเอาเฉพาะของไทยนะครับ วิกิพีเดียภาษาไทยไม่ใช่ของประเทศไทย เพียงแต่ในโลกนี้มีประเทศใช้ภาษาไทยเป็นหลักประเทศเดียว
- อ๋อ เดี๋ยวนี้หัวสูงเสียด้วย ไม่ใช่ พรบ. ก็มองไม่เห็นยศไปเลย --Horus (พูดคุย) 01:23, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ดูดี ๆ ครับ รักษ์ทะเล ขั้น 2 (เข็มเงิน), ขั้น 1 (เข็มทอง) นี่ก็เถียงอย่างเดียว --Horus (พูดคุย) 01:25, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ถ้าอย่างนั้นคุณเอาอะไรมาวัดละ เรื่องยศอะ ยศมันต้องเทียบกับต่างประเทศได้นิ เช่น ใช้ NATO Code เทียบ ผมไม่ได้หัวสูง คุณอย่ามาเบี่ยงประเด็น ดูในยศทหารและตำรวจไทยก็ได้ครับ NATO Code เทียบได้หมด --นิลกาฬ (พูดคุย) 01:27, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ขั้น 2 (เข็มเงิน), ขั้น 1 (เข็มทอง) เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติไม่ใช่หรอครับ คําขอมีบัตรประจําตัวอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล หน้า13 --นิลกาฬ (พูดคุย) 01:36, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ผมขออนุญาตโพสต์สรุปความ "ลื่นไหล" ของคุณก่อนนะ
- ตอนแรกบอกว่า อส. เป็นเหล่าทัพ ต่อมายอมรับว่าไม่ใช่
- พอผมยกยศดับเพลิง การเบิน กู้ภัย ผู้คุม ซึ่งเป็นราชการพลเรือนหรืออาสาสมัครในบางประเทศ คุณก็บอกว่าไม่มีความเห็น (บอกไม่ได้เสนอ) โดยไม่ได้มองว่าจุดประสงค์หลักคือการเปรียบเทียบกับบริบทใกล้เคียงว่าถ้าเปลี่ยนจาก อส. เป็นอย่างอื่นจะพอจัดเข้ากลุ่มกับองค์การใดได้บ้าง
- บอกว่า อส. เป็นราชการ แต่สุดท้ายก็ยอมรับว่าโดยตัวมันเองไม่ใช่ราชการ เพียงแต่มีหัวเป็นราชการ
- "ยศทุกอย่างใส่ได้ แต่ ไม่ต้องไปใส่หน้าชื่อ ใส่ตรงใกล้ๆ รางวัล หรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อะไรประมาณนี้ครับ หรือ ใส่รวมในรางวัลก็ได้นิ", "สรุปคุณอนุญาติให้ผมใส่ยศกองอาสารักษาดินแดนในวิกิพีเดียแล้วใช่ไหมครับ" ประโยคนี้เข้าใจได้อย่างเดียวว่า อยากปิดประเด็นเต็มแก่ ทั้งที่ไม่เคลียร์ตัวเอง หรือเคลียร์ประเด็นเลย
- มีมาแย้งว่า ตำรวจก็ "ไม่ใช่เหล่าทัพ" นิ ทำไมถึงใส่ได้
- เรื่องทหารพรานกับ ชรบ. ก็ไม่มีความเห็นเช่นเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่ผมก็ยกคำของคุณเองมาบอกว่า งั้นก็ใส่ในรางวัล (อย่างที่คุณว่า) เลยสิ
- มีประเด็นยศที่ได้ตาม พรบ. ผมก็แย้งไปว่าบางประเทศก็ไม่ได้เป็นกฎหมายชั้น พรบ.
- สุดท้ายเบี่ยงมาบอกว่า ยศที่เทียบกับต่างประเทศได้ ก็จะใส่ได้
- กล่าวโดยสรุป ผมคิดว่าน่าจะพอละ คุยกันไม่มีประโยชน์ รอคนอื่นมาอภิปรายต่อแล้วกัน --Horus (พูดคุย) 01:38, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ผมไม่ได้ลื่นไหล คุณถามผมก็ตอบ ผมขอตอบตำถาม "บอกว่า อส. เป็นราชการ แต่สุดท้ายก็ยอมรับว่าโดยตัวมันเองไม่ใช่ราชการ เพียงแต่มีหัวเป็นราชการ" อส.เป็นราชการครับ, บรรทัด4 ก็ประเด็นผมคือ ยศกองอาสารักษาดินแดนไง แล้ว พูดมาบอกทำไมว่า ยอมให้ใส่ เพราะ คุณพูดมาไง ผมถึงได้ถามกลับว่า สรุปคุณอนุญาติให้ผมใส่ยศกองอาสารักษาดินแดนในวิกิพีเดียแล้วใช่ไหมครับ จะไปปิดประเด็นได้ไงละ ทั้งๆที่มีแต่คุณที่มาตอบ คนอื่นๆยังไม่เข้ามาตอบ, บรรทัดที่7 ถ้าคุณบอกว่ามียศ หน้าไหน บรรทัดไหนครับ ในลิ้ง [9] ผมไม่ได้ปัดอย่ากล่าวหา และ ประเด็นของผมอย่างที่ผมถาม ยศทหาร ยศตำรวจใส่ได้ ทำไม กองกำลังกึ่งทหาร แบบ อส. ถึงใส่ไม่ได้ ถ้าคนอื่นมีความเห็นอย่างไรมาตอบผมด้วยละกันครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 01:54, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ผมลืมข้อ 9. ไปได้ไง อส. = ทหาร, ตำรวจ เพราะถือปืน กับจับผู้ร้ายได้ --Horus (พูดคุย) 02:21, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- หรอ? ผมบอกว่า อาสารักษาดินแดนมีภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ เป็นกองกำลังกึ่งทหารไม่ใช่หรอ? และ ผมพูดในประเด็นของการฝึกมาด้วยไม่ใช่หรอครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 02:57, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ผมไม่ได้ลื่นไหล คุณถามผมก็ตอบ ผมขอตอบตำถาม "บอกว่า อส. เป็นราชการ แต่สุดท้ายก็ยอมรับว่าโดยตัวมันเองไม่ใช่ราชการ เพียงแต่มีหัวเป็นราชการ" อส.เป็นราชการครับ, บรรทัด4 ก็ประเด็นผมคือ ยศกองอาสารักษาดินแดนไง แล้ว พูดมาบอกทำไมว่า ยอมให้ใส่ เพราะ คุณพูดมาไง ผมถึงได้ถามกลับว่า สรุปคุณอนุญาติให้ผมใส่ยศกองอาสารักษาดินแดนในวิกิพีเดียแล้วใช่ไหมครับ จะไปปิดประเด็นได้ไงละ ทั้งๆที่มีแต่คุณที่มาตอบ คนอื่นๆยังไม่เข้ามาตอบ, บรรทัดที่7 ถ้าคุณบอกว่ามียศ หน้าไหน บรรทัดไหนครับ ในลิ้ง [9] ผมไม่ได้ปัดอย่ากล่าวหา และ ประเด็นของผมอย่างที่ผมถาม ยศทหาร ยศตำรวจใส่ได้ ทำไม กองกำลังกึ่งทหาร แบบ อส. ถึงใส่ไม่ได้ ถ้าคนอื่นมีความเห็นอย่างไรมาตอบผมด้วยละกันครับ --นิลกาฬ (พูดคุย) 01:54, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)
- ผมขออนุญาตโพสต์สรุปความ "ลื่นไหล" ของคุณก่อนนะ
ความเห็นอื่น
แก้ผมว่าลองนำ en:Wikipedia:Manual of Style/Biography#Titles of people มาแปลและปรับเป็นแนวปฏิบัติในวิกิพีเดียภาษาไทยดูครับ น่าจะช่วยได้ไม่น้อย --Geonuch (คุย) 21:28, 5 สิงหาคม 2563 (+07)
- เท่าที่ผมอ่านดูพูดถึงเรื่อง punctuation กับ capitalization มากกว่า ไม่ได้บอกว่าอะไรควรใส่ไม่ควรใส่ครับ --Horus (พูดคุย) 02:16, 6 สิงหาคม 2563 (+07)
Pawin Loyjiw
แก้นายภวินท์ ลอยจิ้ว Pawinlj (คุย) 23:41, 3 ธันวาคม 2565 (+07)