คัง โหย่วเหวย์ (อังกฤษ: Kang Youwei, จีนตัวเต็ม: 康有为, จีนตัวย่อ: 康有為, พินอิน: Kāng Yǒuwéi) นักคิด, นักเขียน และนักปฏิรูปคนสำคัญชาวจีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง

คัง โหย่วเหวย์
เกิด19 มีนาคม ค.ศ. 1858(1858-03-19)
ตำบลหนานไห่ มณฑลกวางตุ้ง
จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต31 มีนาคม ค.ศ. 1927(1927-03-31) (69 ปี)
ชิงเต่า มณฑลซานตง
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ชื่ออื่นคัง ซูจี (康祖詒)
คัง กังเซี่ย (康廣廈)
บุตร15 คน

ประวัติ แก้

คัง โหย่วเหวย์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1853 ที่ตำบลหนานไห่ มณฑลกวางตุ้ง มีชื่อรองว่า กวางเสีย (康廣廈) สามารถสอบบัณฑิตขั้นจิ้นซื่อได้ จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า คัง หนานไห่ (康南海) เป็นผู้ที่นับถือลัทธิขงจื๊อ

งานการเมือง แก้

คัง โหย่วเหวย์ได้รับราชการในเจ้ากรมโยธา ในรัชสมัยจักรพรรดิกวางซวี และเคยดำรงดำรงตำแหน่งประธานสมาคมการศึกษาขงจื้อ ต่อมาได้เผยแพร่แนวความคิดเรื่องการปฏิรูปการปกครอง ออกสู่วงกว้าง เพื่อให้เกิดเป็นแนวความคิดและต่อมากลายเป็นการเคลื่อนไหวที่สำคัญต่อมาในราชสำนัก โดยองค์จักรพรรดิเองก็มักปรึกษากับคัง โหว่ยเหวย์และบุคคลอื่นที่มีแนวความคิดตรงกันในเรื่องนี้เสมอ ซึ่งกลายมาเป็นการปฏิรูปร้อยวัน (戊戌變法)

แต่การปฏิรูปครั้งนี้ไม่สำเร็จ เนื่องจากพระนางซูสีไทเฮา ได้ทำการรัฐประหารขึ้นในคืนวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1898 ภายในพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน ซึ่งตรงกับวันไหว้พระจันทร์ในปีนั้น และได้ทำการควบคุมองค์จักรพรรดิ ในส่วนของขุนนางและแกนนำการปฏิรูปได้หลบหนีและถูกจับประหารชีวิต 6 คน แต่คัง โหว่ยเหวย์ และกลุ่มผู้สนับสนุนได้หลบหนีไปยังประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จ

วรรณกรรม แก้

คัง โหว่ยเหวย์ มีผลงานการเขียนที่สำคัญ ๆ ได้แก่ บทความคังจื่อ (康子篇), คนรุ่นใหม่วิจารณ์คำภีร์ปลอม (新学伪经考), การปฏิรูปของจักรพรรดิเมจิ (日本明治變政考), การปฏิรูปของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช (俄大彼得變政記) เป็นต้น

เสียชีวิต แก้

คัง โหว่ยเหวย์ เสียชีวิตที่เมืองชิงเต่า มณฑลชานตง เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1927 สิริอายุได้ 69 ปี ภายหลังจากที่ประเทศจีนในเวลานั้นได้กลายสภาพเป็นสาธารณรัฐจีนแล้ว[1] [2] [3]

อ้างอิง แก้

  1. Jung-pang Lo. K'ang Yu-wei: A Biography and a Symposium. Library of Congress number 66-20911.
  2. M. E. Cameron, The Reform Movement in China, 1898–1912 (1931, repr. 1963); biography ed. and tr. by Lo Jung-pang (1967).
  3. CHANG HAO: Intellectual change and the reform movement, 1890-1898, in: Twitchett, Denis and Fairbanks, John (ed.): The Cambridge History of China, Vol. 11, Late Ch’ing, 1800–1911, Part 2 (1980). Cambridge: Cambridge University Press, pp. 274–338, esp. 283-300, 318-338.