ความสัมพันธ์อาร์มีเนีย–รัสเซีย

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอาร์มีเนียและรัสเซีย

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างประเทศอาร์มีเนียและสหพันธรัฐรัสเซียในปัจจุบันได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1992 แม้ว่ารัสเซียจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในอาร์มีเนียตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศมีรากฐานมาจากสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย ใน ค.ศ. 1826 ถึง 1828 ระหว่างจักรวรรดิรัสเซียและกาจาร์อิหร่าน ซึ่งหลังจากนั้นก็ยอมยกอาร์เมเนียตะวันออกให้รัสเซีย ยิ่งไปกว่านั้น รัสเซียยังได้รับการมองว่าเป็นผู้ปกป้องอาณาประชาราษฎร์คริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิออตโตมัน รวมถึงชาวอาร์มีเนียด้วย[1]

ความสัมพันธ์อาร์มีเนีย–รัสเซีย
Map indicating location of Armenia and Russia

อาร์มีเนีย

รัสเซีย
ธงอาร์มีเนียและรัสเซียในกยุมรี ประเทศอาร์มีเนีย

หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต อาร์มีเนียได้แบ่งปันแนวทางของรัสเซียที่มุ่งเสริมสร้างเครือรัฐเอกราช (CIS) อาร์มีเนียและรัสเซียต่างก็เป็นสมาชิกของพันธมิตรทางทหาร ซึ่งคือองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (CSTO) พร้อมกับอีกสี่ประเทศจากอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่อาร์มีเนียพบว่าจำเป็นต่อความมั่นคง ท่ามกลางสัญญาและข้อตกลง ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล – สนธิสัญญามิตรภาพ, ความร่วมมือ และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1997 เป็นเอกสารจำนวนหนึ่ง ซึ่งควบคุมฐานทัพของหน่วยทหารรัสเซียและผู้ประสานงานในสาธารณรัฐอาร์มีเนีย ทั้งนี้ ประเทศอาร์มีเนียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2015

ภูมิหลัง

แก้
 
วลาดีมีร์ ปูติน ในอาร์มีเนียเมื่อ ค.ศ. 2001

ส่วนสำคัญของดินแดนที่ปัจจุบันเป็นของประเทศอาร์มีเนียได้รวมเข้ากับจักรวรรดิรัสเซียตามสนธิสัญญาตอร์กาแมนเช ค.ศ. 1828 ที่ลงนามระหว่างรัสเซียและเปอร์เซีย หลังจากสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย (ค.ศ. 1826–1828)

หลังจากการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 อาร์มีเนียได้รับเอกราชในช่วงสั้น ๆ ในฐานะสาธารณรัฐอาร์มีเนียที่หนึ่ง ครั้นภายใน ค.ศ. 1920 รัฐดังกล่าวได้รวมอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส ซึ่งเป็นสมาชิกประกอบขึ้นของสหภาพโซเวียตที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1922 ส่วนใน ค.ศ. 1936 รัฐทรานส์คอเคซัสถูกยุบ โดยปล่อยให้รัฐที่เป็นส่วนประกอบ รวมทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย กลายเป็นสาธารณรัฐสหภาพเต็มรูปแบบ

การพัฒนาตั้งแต่ ค.ศ. 2013

แก้
วลาดีมีร์ ปูติน และแซร์ฌ ซาร์กซียัน ในการเปิดงานวันแห่งวัฒนธรรมอาร์มีเนียในรัสเซียที่หอศิลป์เต็ตติยาคอฟ

ความสัมพันธ์ภายใต้นีกอล พาชินยัน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2018)

แก้

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลระหว่างประเทศต่างตึงเครียดหลังการเลือกตั้ง นีกอล พาชินยัน เป็นนายกรัฐมนตรีอาร์มีเนียในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 พาชินยันถูกเปรียบเทียบโดยนักการเมืองและสื่อของรัสเซียกับแปตรอ ปอรอแชนกอ ของยูเครนซึ่งได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีไม่นานหลังจากการปฏิวัติยูเครน ค.ศ. 2014 ที่สนับสนุนตะวันตก[2] ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นอีกหลังจากการจับกุมอดีตประธานาธิบดี โรเบิร์ต โคตชายาน และเลขาธิการใหญ่องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน ยูริ คาชาตูรอฟ[3][4][5] เช่นเดียวกับข้อพิพาททางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัทรัสเซียที่ดำเนินงานในอาร์มีเนีย[6]

รัสเซียถูกอธิบายว่าไม่เต็มใจที่จะเข้าแทรกแซงอย่างเปิดเผยในสงครามนากอร์โน-คาราบัค ค.ศ. 2020 เพื่อสนับสนุนอาร์มีเนียเนื่องจากความตึงเครียดอย่างต่อเนื่องระหว่างปูตินและพาชินยัน[7][8] ในท้ายที่สุดรัสเซียได้จัดการเจรจาสันติภาพระหว่างอาเซอร์ไบจานและอาร์มีเนียซึ่งมีผลในข้อตกลงหยุดยิงในวันที่ 10 ตุลาคม[9] ซึ่งต่อมาถูกทั้งสองฝ่ายเพิกเฉย[10] สงครามหยุดชะงักเมื่อผู้นำของคู่ต่อสู้และประธานาธิบดีของรัสเซียลงนามในข้อตกลงสงบศึกในมอสโกเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. LUIGI VILLARI. Fire and Sword in the Caucasus. p. 65. the khanates of Erivan and Nakhitchevan were conquered in 1828— 29 after a last war with Persia ;
  2. Russian press portrays Armenia's Pashinyan as "carbon copy" of Poroshenko
  3. CSTO Chief Charged In Connection With 2008 Armenian Election Violence
  4. Russia Seethes After Velvet Revolutionary Strikes at Old Foes
  5. Armenia’s Pashinyan: We hope Russia has done nothing against us
  6. As Armenia was engulfed in internal squabbles, a Russian bomb was lobbed into the political forum which mushroomed to cover the entire horizon.
  7. "Russia is the only country able to stop the Armenia-Azerbaijan conflict. Will it step up and do so?". CNN. 5 October 2020.
  8. "Reluctant Russia offers to send peacekeeping 'monitors' to Nagorno-Karabakh". The Independent. 14 October 2020.
  9. "Armenia and Azerbaijan agree on a ceasefire, Russian foreign ministry says". CNN. 10 October 2020.
  10. "Nagorno-Karabakh: Armenia and Azerbaijan accuse each other of breaking fresh truce". The Guardian. 18 October 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้