ความสัมพันธ์ยูโกสลาเวีย–แอลจีเรีย

ความสัมพันธ์ยูโกสลาเวีย–แอลจีเรีย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอดีตระหว่างประเทศแอลจีเรียกับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียซึ่งในปัจจุบันแยกประเทศแล้ว ทั้งสองประเทศอยู่ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนและเป็นชาติสมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในช่วงสงครามแอลจีเรีย ยูโกสลาเวียให้การสนับสนุนด้านลอจิสติกส์และการทูตที่สำคัญแก่ฝ่ายแอลจีเรีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส ยูโกสลาเวียเป็นประเทศยุโรปประเทศแรกที่ให้การสนับสนุนแนวร่วมปลดปล่อยชาติ (แอลจีเรีย) อย่างเปิดเผย[1]

ความสัมพันธ์ยูโกสลาเวีย–แอลจีเรีย
Map indicating location of Algeria and Yugoslavia

แอลจีเรีย

ยูโกสลาเวีย
ยูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1956–1990
แอลจีเรีย
ยูโกสลาเวียและแอลจีเรีย

ภายในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ยูโกสลาเวียร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับอินเดียและอียิปต์ที่เป็นสมาชิกหลัก ส่วนแอลจีเรียติดตามกลุ่มก้าวหน้าที่คิวบามีบทบาทสำคัญ ยูโกสลาเวียรับรองเป็นเอกราชของแอลจีเรียอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1961 เป็นชาติยุโรปชาติแรกที่ประกาศรับรอง[2] ยูโกสลาเวียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเพียง 3 วันก่อนที่แอลจีเรียจะเป็นเอกราชในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1962[3] เหตุการณ์นี้นำไปสู่ความร้าวฉานในความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับยูโกสลาเวีย เมื่อทางปารีสตัดสินใจถอนทูตของตนจากเบลเกรด[4]

รายการการเยือนรัฐทวิภาคี

แก้

ยูโกสลาเวียเยือนแอลจีเรีย

แก้
  • 24–30 เมษายน 1965: ยอซีป บรอซ ตีโต[5]
  • 5–9 พฤศจิกายน 1969: ยอซีป บรอซ ตีโต[5]
  • 2–10 กันยายน 1973: ยอซีป บรอซ ตีโต[5]
  • 28–31 พฤษภาคม 1979: ยอซีป บรอซ ตีโต[5]
  • 20–21 ตุลาคม 1979: ยอซีป บรอซ ตีโต[5]

แอลจีเรียเยือนยูโกสลาเวีย

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Mila Turajlić (2019). "Liberation Newsreels vol. 1 - Dnevnih napada nema". ใน Tamara Soban (บ.ก.). Southern Constellations: The Poetics of the Non-Aligned (PDF). Museum of Modern Art (Ljubljana). p. 177. ISBN 978-961-206-138-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-12. สืบค้นเมื่อ 2023-11-24.
  2. Bogetić, Dragan (2012). "Podrška Jugoslavije borbi alžirskog naroda za nezavisnost u završnoj fazi Alžirskog rata 1958-1962 [The Yugoslav Support To The Algerian People Struggle For Independence In The Final Phase Of The Algerian War 1958-1962]". Istorija 20. Veka (ภาษาเซอร์เบีย) (3): 155–169. doi:10.29362/ist20veka.2012.3.bog.155-169. สืบค้นเมื่อ 25 September 2020.
  3. Radina Vučetić; Pol Bets; Radovan Cukić; Ana Sladojević (2017). Tito u Africi: slike solidarnosti (PDF). Museum of Yugoslavia. ISBN 978-86-84811-45-7.
  4. Byrne, Jeffrey James (2015). "Beyond Continents, Colours, and the Cold War: Yugoslavia, Algeria, and the Struggle for Non-Alignment". The International History Review. 37 (5): 912–932. doi:10.1080/07075332.2015.1051569. S2CID 154033045. สืบค้นเมื่อ 25 September 2020.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 R. Radonić, Nemanja (2020). Слика Африке у Југославији (1945-1991) (PDF) (Doctoral Thesis). University of Belgrade. สืบค้นเมื่อ 1 November 2020.