กำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์

(เปลี่ยนทางจาก ความสว่างดวงอาทิตย์)

กำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์ (solar luminosity, L) เป็นหน่วยวัดกำลังส่องสว่างหรือฟลักซ์การแผ่รังสี (พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในรูปโปรตอน) ถูกใช้โดยนักดาราศาสตร์เพื่อวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ค่าดังกล่าวมีค่าเท่ากับค่ากำลังส่องสว่างของดวงอาทิตย์ที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.839 × 1026 วัตต์ หรือ 3.839 × 1033 เอิร์ก/วินาที[2] ค่าดังกล่าวจะสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.939 × 1026 วัตต์ (เท่ากับ 4.382 × 109 กิโลกรัม/วินาที) ถ้ารังสีนิวตริโนดวงอาทิตย์ถูกคิดรวมเข้าไปด้วยเช่นเดียวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า[3] ดวงอาทิตย์เป็นดาวแปรแสงอย่างอ่อน ดังนั้น ความสว่างของมันจึงมีความผันผวน ความผันแปรที่โดดเด่น คือ วัฏจักรสุริยะ (วัฏจักรจุดดับบนดวงอาทิตย์) ซึ่งทำให้เกิดความผันแปรตามเวลาราว ±0.1% ตัวแปรอื่น ๆ ตลอดช่วง 200-300 ปีที่ผ่านมามีการคาดการณ์ว่าส่งผลกระทบน้อยกว่านี้มาก[3]

พัฒนาการของกำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์ โดยเทียบรัศมีและอุณหภูมิยังผลกับดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน[1]

การคำนวณ

แก้

กำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์มีความเกี่ยวข้องกับความรับอาบรังสี ซึ่งถูกตรวจวัดที่โลกหรือดาวเทียมที่โคจรรอบโลก ค่ากลางของความรับอาบรังสีที่ระดับบนสุดของชั้นบรรยากาศของโลก บางครั้งเรียกว่า ค่าคงที่สุริยะ ( ) ความรับอาบรังสีจำกัดความว่าเป็นพลังงานต่อหน่วยพื้นที่ ดังนั้น ความสว่างดวงอาทิตย์ (พลังงานทั้งหมดที่ปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์) จึงมีค่าเท่ากับความรับอาบรังสีที่โลกได้รับ (ค่าคงที่สุริยะ) คูณกับพื้นที่ของทรงกลมซึ่งมีรัศมีเท่ากับระยะห่างโดยเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์:

 

เมื่อ A คือ หน่วยระยะทาง (ค่าทางหน่วยดาราศาสตร์เป็นเมตร) และ k เป็นค่าคงที่ (ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับ 1) ซึ่งสะท้อนให้เห็นความจริงที่ว่าระยะห่างโดยเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ไม่เท่ากับ 1 หน่วยดาราศาสตร์

อ้างอิง

แก้
  1. Ribas, Ignasi (February 2010), "The Sun and stars as the primary energy input in planetary atmospheres" (PDF), Solar and Stellar Variability: Impact on Earth and Planets, Proceedings of the International Astronomical Union, IAU Symposium, vol. 264, pp. 3–18, arXiv:0911.4872, Bibcode:2010IAUS..264....3R, doi:10.1017/S1743921309992298, S2CID 119107400
  2. Carroll, Bradley W.; Ostlie, Dale A. (2007), An Introduction to Modern Astrophysics, Pearson Addison-Wesley, pp. Appendix A, ISBN 0-8053-0402-9
  3. 3.0 3.1 Noerdlinger, Peter D. (2008). "Solar Mass Loss, the Astronomical Unit, and the Scale of the Solar System". Celestial Mechanics and Dynamical Astronomy. 801: 3807. arXiv:0801.3807. Bibcode:2008arXiv0801.3807N.

อ่านเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้