ฟลักซ์การแผ่รังสี

ฟลักซ์การแผ่รังสี (อังกฤษ: radiant flux) เป็นปริมาณทางกายภาพที่แสดงพลังงานจากการแผ่รังสีที่ผ่านพื้นผิวต่อหน่วยเวลา หน่วย SI ที่ใช้คือวัตต์ (สัญลักษณ์: W) ฟลักซ์การแผ่รังสีทั้งหมดที่ผ่านพื้นผิวรอบแหล่งกำเนิดมีค่าเท่ากับกำลังของแหล่งกำเนิด

โดยทั่วไปแล้วแนวคิดของฟลักซ์การแผ่รังสีมักใช้สำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถใช้พิจารณาถึงการแผ่คลื่นเสียงและลำอนุภาคได้อีกด้วย

การแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แก้

สำหรับการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถพิจารณาฟลักซ์การแผ่รังสีสำหรับแต่ละความยาวคลื่นได้ ฟลักซ์การแผ่รังสีสำหรับแต่ละความยาวคลื่นเรียกว่า ฟลักซ์การแผ่รังสีเชิงสเปกตรัม (spectral radiant flux) โดยทั่วไปมักใช้นาโนเมตร (nm) เป็นหน่วยของความยาวคลื่นในย่านใกล้เคียงกับแสงที่มองเห็น ในกรณีนี้หน่วยของฟลักซ์การแผ่รังสีเชิงสเปกตรัมคือ W/nm

ถ้าฟลักซ์การแผ่รังสีเชิงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น λ เป็น Φλ แล้ว ค่าฟลักซ์การแผ่รังสีจะเท่ากับ

 

ปริมาณความส่องสว่าง แก้

ปริมาณทางจิตฟิสิกส์ ที่เรียกว่าฟลักซ์ส่องสว่างได้ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงความสว่างของแสงที่มนุษย์รับรู้ได้ คำนวณโดยการให้น้ำหนักในแต่ละความยาวคลื่นโดยพิจารณาจากระดับที่การมองเห็นของมนุษย์รับรู้ถึงการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นที่มองเห็นได้ (เช่นสีเขียวจะสว่างกว่าสีอื่นที่มีพลังงานเท่ากัน)

ฟลักซ์การส่องสว่างสามารถคำนวณจากปริพันธ์ของค่าประสิทธิภาพการส่องสว่าง Kλ โดยถ่วงน้ำหนักต่อความยาวคลื่น λ โดย