คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Faculty of Veterinary Sciences, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 ในชื่อ คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ ต่อมาได้โอนย้ายสาขาวิชาสัตวศาสตร์ไปสังกัดคณะเทคโนโลยี จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะสัตวแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 18 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีที่ทำการอยู่ 2 เขตพื้นที่ ได้แก่ เขตพื้นที่ในเมือง และเขตพื้นที่นาสีนวน มีโรงพยาบาลสัตว์ในเครือทั้งหมด 3 แห่ง

คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Veterinary Sciences, Mahasarakham University
ชื่อย่อสพ. / VET
คติพจน์วิชาการก้าวไกล วิจัยก้าวหน้า พัฒนาสังคม
สถาปนา26 กันยายน พ.ศ. 2551 (15 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีผศ.สพ.ญ.ดร.สุกัญญา ลีทองดี
ที่อยู่
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ในเมือง
· เลขที่ 269 หมู่ 2 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
คณะสัตวแพทยศาสตร์ นาสีนวน
· ตำบลนาสีนวล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทรศัพท์/โทรสาร 043-742-823
วารสารวารสารสัตวแพทยศาสตร์
สี███ สีฟ้าหม่น
มาสคอต
คทาคาดูเซียส และตัว V[1]
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน
เว็บไซต์www.vet.msu.ac.th

ประวัติ แก้

 
กลุ่มอาคารคณะสัตวแพทยศาสตร์ เขตพื้นที่ในเมือง

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ ซึ่งเดิมการดำเนินงานหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นั้นถูกกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ (แผน 4 ปี) ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ. 2549-2552) ให้ดำเนินงานหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อตอบความต้องการทางด้านสัตวแพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [2][3]: 6–7 

โดยโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชาได้แก่ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์และสาขาวิชาประมง อยู่ภายในคณะวิชาเดียวกัน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ จึงได้เสนอขอจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการในรูปแบบโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ไปก่อน ซึ่งหากมีความพร้อมจึงนำกลับมาเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยลงความเห็นเพื่อจัดตั้งเป็นคณะต่อไป

ต่อมาในปี 2551 คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ จึงได้รับการอนุมัติตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง จัดตั้ง"คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์"พ.ศ. 2550 และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Veterinary and Animal Sciences" [2] โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550 และประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งส่วนงานภายใน พ.ศ. 2551 ในการประชุมคร้งที่ 9/2551 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551[4]

ในปี พ.ศ. 2555 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะสัตวแพทยศาสตร์" ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Veterinary Sciences"[5][2][3]: 7  โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในสถาบันอดุมศึกษา พ.ศ. 2550 และประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งส่วนงานภายใน พ.ศ. 2551 และในคราวประชุมครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 สภามหาวิทยาลัยจึงมีมติให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งโอนสาขาวิชาสัตวศาสตร์ และสาขาวิชาประมงไปสังกัดคณะเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดสร้างศูนย์บริการวิชาการและวิจัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ (โรงพยาบาลสัตว์ใหญ่ เขตพื้นที่โนนราษี [a] อำเภอบรบือ) ประมาณ 20 ไร่ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติและให้บริการวิชาการด้านสุขภาพสัตว์ใหญ่ [b] และจัดหาโรงพยาบาลสัตว์ใหญ่สำหรับการตรวจรับรองจากสัตวแพทยสภาเมื่อรับนิสิตในปีการศึกษา 2556 โดยเริ่มสำรวจพื้นที่ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 [6]

การบริหารและการจัดการ แก้

คณะสัตวแพทยศาสตร์ บริหารงานโดยมีคณะกรรมการประจำคณะ มีคณบดีเป็นผู้นำการบริหาร รองคณบดีฝ่ายบริหารและรองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ รับผิดชอบตามโครงสร้างองค์กร [c] จัดแบ่งออกเป็น 1 สำนักงาน และ 4 ภาควิชาและหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชา ดังนี้ [7][3]: 9–13 

 
การบริหารงานภายในคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ด้านการบริหารงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัยและพัฒนา
  • สำนักงานเลขานุการคณะ
  • ภาควิชาปรีคลินิกทางสัตวแพทยศาสตร์
  • ภาควิชาคลินิกทางสัตวแพทยศาสตร์
  • ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุขศาสตร์
  • โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน
  • สำนักวิจัยและบริการวิชาการทางสัตวแพทย์
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางด้านอาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางระบบสืบพันธ์ในปศุสัตว์
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางโมเลกุล
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางด้านสัตว์น้ำ
  • ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือกลางเพื่อการบริการวิชาการ
  • ห้องปฏิบัติการหน่วยชันสูตรโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน
  • ห้องปฏิบัติการทดสอบสัตว์

หลักสูตรการศึกษา แก้

ปัจจุบันคณะสัตวแพทยศาสตร์ จัดการเรียนการสอน 3 หลักสูตร และสำนักงาน ก.พ. รับรอง[8]: 120  และ 1 หลักสูตรฝึกอบรม คือ

  • หลักสูตรฝึกอบรมการผสมเทียมโค
- ระยะเวลาศึกษา 6 ปี สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต[12] (วท.ม.)
    (อังกฤษ: Master of Science, M.Sc.)
- ระยะเวลาศึกษา 2 ปี สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต[13] (ปร.ด.)
    (อังกฤษ: Doctor of Philosophy, Ph.D.)
- ระยะเวลาศึกษา 2 ปี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์
 
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[14]
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)

  • สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์
    • กลุ่มวิชาชีวเวชศาสตร์
    • กลุ่มวิชาสัตวศาสตร์
    • กลุ่มวิชาเวชศาสตร์คลินิคทางสัตวแพทย์
    • กลุ่มวิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์
    • กลุ่มวิชาชีวเวชศาสตร์
    • กลุ่มวิชาสัตวศาสตร์
    • กลุ่มวิชาเวชศาสตร์คลินิคทางสัตวแพทย์
    • กลุ่มวิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

หลักสูตรฝึกอบรม

  • การผสมเทียมโค

ห้อง/ศูนย์ปฏิบัติการ แก้

  • ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือกลางเพื่อการบริการวิชาการ [15]
  • ห้องปฏิบัติการหน่วยชันสูตรโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน [16]
  • ห้องปฏิบัติการทดสอบสัตว์ [17]
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางด้านอาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางระบบสืบพันธ์ในปศุสัตว์
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางโมเลกุล
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางด้านสัตว์น้ำ

การรับบุคคลเข้าศึกษา แก้

  • ระดับปริญญาตรี

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ทั้งสิ้น 6 โครงการ ได้แก่

  1. โครงการส่งเสริมนิสิตสัตวแพทย์ศักยภาพสูง[18]
  2. โครงการบุตรเกษตรกร[19]
  3. โครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพพระราชทาน[20]
  4. โครงการโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[21]
  5. โครงการรับตรงร่วมกัน (แอดมิสชัน 1)[22]
  6. โครงการรับกลางร่วมกัน (แอดมิสชัน 2)[23]
  • ระดับปริญญาโท

การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [24]

  • ผู้สมัครต้องสำเร็จปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
  • ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50, หรือ
  • มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 3 ปี และมีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [25]
  • กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
  • มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาโท ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
  • แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  • แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  • ระดับปริญญาเอก

การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [24]: 5 

  • ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
  • ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 81.25 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25, หรือ
  • มีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [25] โดยพิจารณาผลการสอบข้อเชียนและผลงานวิชาการอื่นประกอบ
  • กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
  • มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
  • แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
  • แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

 
ทำเนียบคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ลำดับที่ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 รศ.ประจักษ์ พัวเพิ่มพูลศิริ (รักษาการ) 2551 - 2555
2 นายเอกชัย เจนวิถีสุข 2555 - 2555
3 รศ.น.สพ.วรพล เองวานิช 2555 - 2559
3 รศ.น.สพ.วรพล เองวานิช 2559 - 2563
4 ผศ.น.สพ.ดร.มนกานต์ อินทรกำแหง 2563 - 2564
5 ผศ.สพ.ญ.ดร.สุกัญญา ลีทองดี 2564 - ปัจจุบัน

ผลงานนักศึกษาที่สำคัญ แก้

ปี พ.ศ. งาน นักศึกษา สถาบัน - รางวัล อ้างอิง
2559 บทความ: Update on new introduction of epidemic diarrhea virus in Thailand based on spike gene from isolates between 2008-2015 คริสโตเฟอร์ เจมส์ สก๊อต ประชุมวิชาการนานาชาติ Animal Health in AEC (โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม) - 3rd Prize of Poster Presentation Award [3]: 15 
โปสเตอร์: การตรวจหาเชื้อ Ehrilichia canis ในสุขนัขจรจัดในจังหวัดมหาสารคามโดยเทคนิคโมเลกุล ศิริอร เพ็ชรน้อย
อนาวิล ปะกิระตัง
ณัฐกานต์ อ้วนมะโรง
ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่ 11 (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) - รางวัลการนำเสนอภาคโปสเตอร์ชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [3]: 15 
ผลงานวิจัย: รูปแบบการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อ Staphylococcus aureus และ MRSA จากการเกิดเต้านมอักเสบในโคแบบแสดงอาการและการจัดการฟาร์มที่เกี่ยวข้อง ทศพล สีรินทร ประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์สุขภาพระดับชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ครั้งที่ 2 (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) - (Good Oral Presentation [3]: 15 
2560 โปสเตอร์: Effect of peppermint oil balm on reducing the inflammation of bovine mastitis ประชุมวิชาการนานาชาติ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม [ต้องการอ้างอิง]

โรงพยาบาลสัตว์ แก้

 
อาคารเรียนภาควิชาคลินิกและโรงพยาบาลสัตว์คณะสัตวแพทยศาสตร์ นาสีนวน

การดำเนินการด้านโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะดำเนินการด้านโรงพยาบาลสัตว์ 3 แห่ง[26] คือ

  • โรงพยาบาลสัตว์ เขตพื้นที่ในเมือง เป็นการดำเนินงานโรงพยาบาลสัตว์ (ชั่วคราว) ณ อาคาร UBI มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง) โดยจะดำเนินการโรงพยาบาลสัตว์ตามตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 2542 สำหรับการดำเนินการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการในแผนการดำเนินการปีที่ 1 (ปี 2554) สำหรับการดำเนินการโรงพยาบาลสัตว์จะดำเนินการในรายละเอียดดังนี้ มีบริการสัตว์ทั้งสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ และมีรถพยาบาลออกบริการนอกสถานที่ ในส่วนบริการของโรงพยาบาลสัตว์ มีบริการระดับพื้นฐาน ประกอบด้วยส่วนเวชระเบียน ห้องยา ห้องตรวจ (คลินิกปฏิบัติด้านอายุรกรรม) ห้องผ่าตัด (คลินิกปฏิบัติด้านศัลยกรรม) ห้องคลินิกปฏิบัติด้านสูติกรรม ห้องปฏิบัติการรังสีวิทยา ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาและชันสูตรโรค มีการให้บริการผ่าตัดพื้นฐาน เช่น ทำหมัน ทำคลอด ทำแผล และกาผ่าตัดกระดูก มีส่วนรับฝากสัตว์ป่วยภายในโรงพยาบาลสัตว์ และมีนายสัตวแพทย์ประจำเต็มเวลาในโรงพยาบาลสัตว์อย่างน้อย 2 คน
  • โรงพยาบาลสัตว์ เขตพื้นที่ปฏิบัติการนาสีนวน ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลสัตว์ที่เขตพื้นที่ปฏิบัติการนาสีนวน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินจำนวน 152 ล้านบาทในการดำเนินงานโดยมีระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2556 (แผนการดำเนินงานปีที่ 1-3) และจะดำเนินการจัดหาครุภัณฆ์ที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลในด้านตรวจรักษาในแผนการดำเนินงานปีที่ 2 จำนวนเงิน 15 ล้านบาท และจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2556
  • โรงพยาบาลสัตว์ เขตพื้นที่ขามเรียง การก่อตั้งโรงพยาบาลเขตพื้นที่ขามเรียง เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563[27][28]ก็เพื่อรองรับการเรียนการสอนและฝึกประสบการณ์ของนิสิตในส่วนของชั้นคลีนิค ที่จะให้มีความสามารถในวิชาชีพการสัตวแพทย์ และให้บริการกับประชาชน ชุมชนในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และชุมชนใกล้เคียงมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีจำนวนมาก เฉพาะในส่วนของมหาวิทยาลัยมีนิสิตและบุคลากรเกือบ 40,000 คน และหมู่บ้านต่างๆ และชุมชนโดยรอบ ซึ่งมีประชากรจำนวนมาก และมีการเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก ซึ่งการดูแลสุขภาพสัตว์จะเป็นการป้องกันควบคุมดูแลอีกทาง และให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับประชาชนไปพร้อมกัน

โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีบริการในแผนกต่างๆ ไดแก่[29]

  • แผนกอายุรกรรมทั่วไป
  • แผนกศัลยกรรมทั่วไป
  • แผนกฉุกเฉิน
  • แผนกวินิจฉัยและรังสี
  • แผนกห้องปฏิบัติการ

กีฬาโฮมหมอเกมส์ แก้

กีฬาโฮมหมอเกมส์ หรือ กีฬาสานสัมพันธ์นิสิตกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ[30] เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีต่อกันระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน จัดโดยโดยสโมสรนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ และสโมสรคณะสัตวแพทยศาสตร์

กีฬาสานสัมพันธ์ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เป็นการสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน เนื่องจากอนาคตต้องมีการทำงานร่วมกัน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย โดยในงานได้มีการเดินขบวนพาเหรดของสโมสรนิสิตแต่ละคณะ และการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ฟุตซอล, บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, ตะกร้อ, เปตอง และกีฬฮาเฮ อาทิ ชักเย่อ, วิ่งกระสอบ เป็นต้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 500 คน ประกอบด้วย นิสิต อาจารย์ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

เชิงอรรถ แก้

เชิงอรรถ
  1. เขตพื้นที่ ตำบลโนนราษี เป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโคนมมากที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม มีการเลี้ยงโคเนื้อและโคนมประมาณ 2,000–3,000 ตัว
  2. บริการวิชาการด้านสุขภาพสัตว์ใหญ่แก่เกษตรเลี้ยงโค กระบือ รวมถึงสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดมหาสารคาม สหกรณ์โคนมจังหวัดมหาสารคาม และเป็นสถานที่บริการวิชาการแก่ชุมชนในการสนับสนุนส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ การรักษาสัตว์
  3. โครงสร้างองค์กร ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องการแบ่งหน่วยงานภายในคณะสัตวแพทยศาสตร์ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

อ้างอิง แก้

  1. Dek-D.com : เรื่องต้องรู้..คณะสัตวแพทยศาสตร์ 24 กรกฎาคม 2564.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ประวัติคณะสัตวแพทยศาสตร์". vet.msu.ac.th. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-02. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 สุภาพร มาแก้ว (2560). รายงานประจำปี 2559 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (PDF) (Report). บริษัทสารคามการพิมพ์ จำกัด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. p. 64. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ พ.ศ. 2551 เก็บถาวร 2021-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2564.
  5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2555 เก็บถาวร 2021-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2564.
  6. ธนภร ปฐมวณิชกุล (ม.ป.ป.). "คณะสัตวแพทยศาสตร์ มมส สำรวจพื้นที่ตั้งศูนย์บริการวิชาการและวิจัย". มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-24. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "โครงสร้างหน่วยงานคณะสัตวแพทยศาสตร์". vet.msu.ac.th. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-02. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. คู่มือการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง (PDF). สำนักงาน ก.พ. กรกฎาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-14. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "หลักสูตรปริญญาตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  10. "หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". คณะสัตวแพทยศาสตร์. vet.msu.ac.th. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-02. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  11. หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) (PDF). กองบริการการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-22. สืบค้นเมื่อ 2021-08-22.
  13. "หลักสูตรปริญญาเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  14. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 133 เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 มีนาคม 2564
  15. "ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือกลางเพื่อการบริการวิชาการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. "ห้องปฏิบัติการหน่วยชันสูตรโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. "ห้องปฏิบัติการทดสอบสัตว์". ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  18. MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการส่งเสริมนิสิตสัตวแพทย์ศักยภาพสูง ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  19. MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการบุตรเกษตรกร ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  20. MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพพระราชทาน ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  21. MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  22. MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 1 ผ่าน ทปอ. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  23. MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 2 ผ่าน ทปอ. เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  24. 24.0 24.1 บัณฑิตวิทยาลัย (2560). การรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2561 (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. 25.0 25.1 บัณฑิตวิทยาลัย. รายละเuอียดและคุณสมบัตเฉพาะสาขาของผู้สมัครสอบระดับปริญญาโท (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-05. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน : ประวัติโรงพยาบาล เก็บถาวร 2021-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 24 กรกฎาคม 2564.
  27. สาร MSU Online : มมส เปิดโรงพยาบาลรักษาสัตว์เขตพื้นที่ขามเรียง 24 กรกฎาคม 2564.
  28. คณะสัตวแพทยศาสตร์ : คณะสัตวแพทยศาสตร์ จัดพิธีเปิดโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน (เขตพื้นที่ขามเรียง) เก็บถาวร 2021-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 24 กรกฎาคม 2564.
  29. โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน : บริการของเรา เก็บถาวร 2021-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 24 กรกฎาคม 2564.
  30. ข่าวประชาสัมพันธ์ มมส. [http://www.web.msu.ac.th/ssystem/msuhotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=6317&uf=&qu= มมส จัดการแข่งขันกีฬาโฮมหมอเกมส์ ครั้งที่ 8.] เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 6 ตุลาคม 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้