การแปลงเฮาส์โฮลเดอร์

การแปลงเฮาส์โฮลเดอร์ (อังกฤษ: Householder transformation) ในคณิตศาสตร์ และในปริภูมิสามมิติ เป็นการสะท้อนเวกเตอร์กับระนาบ ในปริภูมิยูคลิเดียนทั่วไป การแปลงเฮาส์โฮลเดอร์เป็นการแปลงเชิงเส้นซึ่งเวกเตอร์กับระนาบเกินที่ผ่านจุดกำเนิด

อัลสตัน สกอตต์ เฮาส์โฮลเดอร์ ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับการแปลงชนิดนี้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 การแปลงเฮาส์โฮลเดอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการหาการแยก QR ของเมทริกซ์

นิยามและสมบัติ แก้

ระนาบเกินที่จะใช้สะท้อนเวกเตอร์นั้นสามารถแทนได้โดยเวกเตอร์หนึ่งหน่วย   ซึ่งตั้งฉากกับระนาบเกินนั้น

ถ้า   คือเมทริกซ์เอกลักษณ์ การแปลงเชิงเส้นที่กล่าวในบทนำของบทความนี้สามารถแทนใดโดยเมทริกซ์เฮาส์โฮลเดอร์

 .

โดยแมทริกซ์เฮาส์โฮลเดอร์มีสมบัติดังต่อไปนี้

และ   สะท้อนเวกเตอร์   ใดๆ กับระนาบเกินที่ตั้งฉากกับ   โดยข้อความนี้สามารถแสดงให้เห็นจริงได้โดยสมการ

 ,

เมื่อ   คือผลคูณจุดของ   และ   ซึ่งมีค่าเท่ากับระยะห่างของจุดปลายที่ไม่ใช่จุดกำเนิดของ   จากระนาบเกินที่ตั้งฉากกับ   ด้วยเหตุนี้จุดปลายที่ไม่ใช่จุดกำเนิดของ   จึงอยู่คนละข้างของระนาบเกินกับจุดปลายของ   และห่างจากระนาบเกินเท่ากับระยะห่างจากจุดปลายของ   กับระนาบเกิน กล่าวคือเป็นภาพสะท้อนของ   นั่นเอง

การประยุกต์ใช้ในการแยก QR แก้

ในการแยก QR เราต้องการเขียนเมทริกซ์   ที่ำกำหนดให้ในรูป   โดย   เป็นเมทริกซ์เชิงตั้งฉากและ   เป็นเมทริกซ์สามเหลี่ยมด้านบน เราสามารถใช้การแปลงเฮาส์โฮลเดอร์ในการคำนวณ   และ   ได้ดังต่อไปนี้

ให้   แทนเวกเตอร์   ที่มีศูนย์อยู่   ตัว ให้   แทนนอร์มของเวกเตอร์   ใดๆ และให้   เป็นเวกเตอร์หลักที่ 1 ของ   แล้ว กำหนด

 

และ

 

(  คือเมทริกซ์เอกลักษณ์ขนาด  ) เป็นการแปลงเฮาส์โฮลเดอร์ที่สะท้อนเวกเตอร์กับระนาบเกินที่ตั้งฉากกับ   แล้ว เราจะได้ว่า

 

หรือ

 

โดยที่   เป็นเมทริกซ์ขนาด   กล่าวคือ   ทำให้หลักแรกของ   มีสมาชิกที่ไม่ใช่ศูนย์อยู่เพียงตัวเดียว

เราสามารถใช้กรรมวิธีข้างต้นหาการแปลงเฮาส์โฮลเดอร์   ที่ทำให้

 

และ  ,  ,  ,   ที่มีผลเช่นเดียวกันกับ  ,  ,  ,   ตามลำดับ และเมื่อเราให้

 

สำหรับ   แล้ว เราจะได้ว่า

 

เป็นเมทริกซ์สามเหลี่ยมด้านบน ดังนั้น

 

และเนื่องจาก   ทุกตัวเป็นเมทริกซ์ฮาส์โฮลเดอร์ซึ่งเป็นเมทริกซ์เชิงตั้งฉาก ทำให้   เป็นเมทริกซ์เชิงตั้งฉากตามไปด้วย   จึงเป็นการแยก QR ตามที่เราต้องการ

ขั้นตอนวิธีตามที่ได้บรรยายข้างต้น สามารถนำไปเขียนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำการคำนวณด้วยจำนวนจุดเลื่อนซึ่งมีเสถียรภาพทางตัวเลข เป็นผลให้เราสามารถแก้สมการเชิงเส้น และหาค่าเฉพาะเจาะจงของเมทริกซ์ได้โดยค่าที่หาได้จะไม่คลาดเคลื่อนมากนักหากเมทริกซ์ที่เป็นข้อมูลเข้ามีเลขเงื่อนไขต่ำ

อ้างอิง แก้

  • Alston S. Householder, Unitary Triangularization of a Nonsymmetric Matrix, Journal ACM, 5 (4), 1958, 339-342. DOI:10.1145/320941.320947
  • David D. Morrison, Remarks on the Unitary Triangularization of a Nonsymmetric Matrix, Journal ACM, 7 (2), 1960, 185-186. DOI:10.1145/321021.321030