การปรับตัวไม่ดี

การปรับตัวไม่ดี (อังกฤษ: maladaptation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรม (trait) ที่/หรือว่าได้กลายเป็นมีโทษมากกว่ามีคุณ เทียบกับการปรับตัว (adaptation) ที่มีคุณมากกว่ามีโทษ สิ่งมีชีวิตทุกหน่วย ตั้งแต่แบคทีเรียจนถึงมนุษย์มีทั้งลักษณะที่ปรับตัวดีและไม่ดี โดยเหมือนกับการปรับตัวที่ดี การปรับตัวไม่ดีอาจเกิดขึ้นในระยะเวลาระดับธรณีกาล หรือแม้แต่ภายในช่วงอายุหนึ่งของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์ มันอาจเป็นการปรับตัว ที่แม้จะสมเหตุสมผลในช่วงเวลานั้น ได้มีความเหมาะสมที่ลดลง ๆ และกลายมาเป็นปัญหาโดยตนเองเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ นี่เป็นเพราะว่าเป็นไปได้เมื่อเวลาผ่านไป ที่การปรับตัวที่ดีอย่างหนึ่ง จะกลายเป็นลักษณะที่ไม่เหมาะสมโดยการคัดเลือก หรือกลายมาเป็นการทำงานผิดปกติมากกว่าเป็นการปรับตัวที่ดี

ให้สังเกตว่าแนวคิดในเรื่องนี้ ตามที่เริ่มกล่าวถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาศัยมุมมองที่ผิดพลาดของทฤษฎีวิวัฒนาการ คือเชื่อกันว่า การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะเสื่อมลงแล้วกลายเป็นการปรับตัวที่ไม่ดี แล้วในที่สุดก็จะสร้างความพิการถ้าไม่คัดออกจากกรรมพันธุ์ แต่ความจริงแล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการปรับตัวอย่างหนึ่งน้อยครั้งมากที่จะเป็นตัวตัดสินการอยู่รอดโดยตนเอง แต่ว่าเป็นสิ่งที่ดุลกับการปรับตัวที่เสริมกันและต่อต้านกันอื่น ๆ ซึ่งต่อ ๆ มาจะไม่สามารถเปลี่ยนโดยไม่มีผลต่อการปรับตัวอย่างอื่น ๆ ได้ หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ ปกติแล้วจะไม่สามารถได้ประโยชน์จากการปรับตัวที่ดี โดยไม่มีราคาเป็นการปรับตัวที่ไม่ดี

ลองพิจารณาตัวอย่างที่ดูง่าย ๆ คือ ปรากฏแล้วว่ามันยากมากที่สัตว์จะวิวัฒนาการการหายใจได้ทั้งในน้ำและบนบก และการปรับตัวให้หายใจได้ดีกว่าในที่หนึ่งก็จะทำให้แย่ลงในอีกที่หนึ่ง

ตัวอย่างการใช้คำ

แก้
  • ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อนหรือโลกเย็น สปีชีส์ที่ปรับตัวได้ดีในภูมิอากาศเดิมอาจกลายเป็นปรับตัวได้ไม่ดีในภูมิอากาศใหม่แล้วเริ่มสูญพันธุ์ ถ้าถูกกันไม่ให้เปลี่ยนที่อยู่ไม่ว่าจะเป็นเหตุทางธรรมชาติหรือเหตุจากมนุษย์ ส่วนคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า "maladaptation to climate change (การปรับตัวไม่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)" อาจหมายถึงสถานการณ์ที่การสนับสนุนให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ อาจกลับไปสนับสนุนโครงการที่ทำอันตรายต่อระบบสังคม-นิเวศวิทยาต่าง ๆ หรือแย่ยิ่งกว่านั้น คือ โครงการอาจไม่สามารถบรรลุผลตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ แล้วเกิดผลที่ไม่ได้ประสงค์ ซึ่งบางกรณีอาจเพิ่มความอ่อนแอของระบบในช่วงระยะเวลาที่ยาวกว่า[1] ยกตัวอย่างเช่น มีการเสนอว่า การมีประกันภัยโลกร้อนแบบต่าง ๆ เช่นน้ำท่วมหรือพายุ อาจจะขัดขวางความพยายามให้เจ้าของสมบัติทำการที่ควรเพื่อลดความเสี่ยงภัยเหล่านั้น[2] ดังนั้น จึงมีแนวทางที่เสนอเพื่อหลีกเลี่ยงการปรับตัวไม่ดีเช่นนี้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[3]
  • การดื้อยาปฏิชีวนะก็เป็นประเด็นการปรับตัว/การปรับตัวไม่ดีจากมุมมองของเชื้อโรคด้วย คือ เชื้อโรครุ่นต้น ๆ ได้ปรับตัวเข้ากับสภาวะทางสรีรภาพของผู้ถูกเบียนและสามารถที่จะขยายเพิ่มจำนวนขึ้นได้ แต่เมื่อมีการใช้ยาปฏิชีวนะ เชื้อโรคที่ไม่มีภูมิต้านทานก็จะเสียเปรียบ แต่ว่า ความสามารถในการขจัดยาปฏิชีวนะก็มีราคาด้วย คือ กลไกที่ให้ภูมิต้านทานต้านยาปฏิชีวนะ คือ เอนไซม์ beta-lactamase มีโอกาสน้อยมากที่จะมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ดังนั้น พลังงานที่สามารถใช้ในการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ต้องเอาไปสู้กับยาปฏิชีวนะ ดังนั้น สำหรับเชื้อโรค จึงเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสมรรถภาพการเติบโตได้เร็วเมื่อไม่มีภูมิและไม่มียาปฏิชีวนะ กับสมรรถภาพการกำจัดยาปฏิชีวนะเมื่อมี ดังนั้น ในตัวอย่างนี้ กลยุทธ์ที่เสถียรโดยกระบวนการวิวัฒนาการจึงเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช้ยาปฏิชีวนะแบบไม่เลือก
  • นกโดโด้มีสมรรถภาพในการรับมือกับปัญหาภูมิอากาศในหมู่เกาะมอริเชียส คือ ในช่วงปีที่อากาศกึ่งแห้งแล้งโดยมาก พืชจะมีผลิตผลที่นกสามารถใช้เป็นอาหารได้ (เช่นผลไม้) น้อยเทียบกับช่วงปีที่ฝนตกซึ่งมีเหลือเฟือ นกจึงปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศนี้โดยสะสมไขมันเมื่อมีอาหารมาก และโดยปรับวงจรฤดูผสมพันธุ์ให้เข้ากับภูมิอากาศ แต่เมื่อเผชิญกับมนุษย์และสัตว์ล่าเหยื่ออื่น ๆ ที่มนุษย์นำมา การปรับตัวนี้ในที่สุดทำให้นกสูญพันธุ์ เพราะมนุษย์คิดว่า นกกินดีและดังนั้นก็จะล่ามัน หรือว่าจะฆ่ามันเพื่อสนุกเพราะว่านกดูและเคลื่อนไหวอย่างตลก ๆ วงจรการผสมพันธุ์ของนก ซึ่งตอนแรกทำให้ประหยัดพลังในการสืบพันธุ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทำให้นกอ่อนแอต่อหมูและลิงที่มนุษย์นำมา เพราะว่า เป็นไปได้น้อยมากที่นกที่สูญไข่ไปแล้วจะทำรังออกไข่ใหม่ก่อนที่ฤดูผสมพันธุ์ในปีจะหมดลง
  • ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า neuroplasticity (สภาพพลาสติกของระบบประสาท) นิยามว่าเป็น "สมรรถภาพของสมองที่จัดปรับปรุงตัวเองโดยสร้างการเชื่อมต่อทางประสาทใหม่ ๆ ชั่วชีวิต"[4] โดยมองว่าเป็นการปรับตัวที่ช่วยมนุษย์ให้ปรับตัวกับสิ่งเร้าใหม่ ๆ เช่นการเคลื่อนไหวของผู้ที่มีพรสวรรค์ด้านดนตรี และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องประสานมือกับตา ส่วนตัวอย่างการปรับตัวไม่ดีของสภาพพลาสติกของระบบประสาทก็คือ ความเจ็บปวดในแขนขาที่ไม่มีแล้ว (phantom pain) คือ แม้ว่าสมองจะเก่งมากในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและจัดระเบียบตนเองใหม่เพื่อให้ตอบสนองได้ดีกว่าและเร็วกว่าในอนาคต แต่บางครั้งก็ไม่สามารถรับมือกับการสูญแขนขาไปได้แม้การเชื่อมต่อกับแขนขาจะไม่มีแล้ว มีวารสารวิทยาศาสตร์ที่พบว่า ในบางกรณี ความเปลี่ยนแปลงที่เคยช่วยให้สมองมนุษย์ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมสามารถกลายเป็นการปรับตัวไม่ดีได้เช่นกัน[5] ในกรณีที่สูญแขนขา สมองอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดที่แขนขา แม้ว่าจะไม่มีประสาทหรือสัญญาณประสาทจากแขนขาที่สูญไปแล้วเพื่อควรจะให้รู้สึกอย่างนั้น

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. Barnett, Jon; O’Neill, Saffron (2010-05-01). "Maladaptation". Global Environmental Change. 20 (2): 211–213. doi:10.1016/j.gloenvcha.2009.11.004.
  2. O'Hare, Paul; White, Iain; Connelly, Angela (2015-09-01). "Insurance as maladaptation: Resilience and the 'business as usual' paradox". Environment and Planning C: Government and Policy (ภาษาอังกฤษ): 0263774X15602022. doi:10.1177/0263774X15602022. ISSN 0263-774X.
  3. Magnan, A (2014). "Avoiding maladaptation to climate change: towards guiding principles". S.A.P.I.EN.S. 7 (1).{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. "Neuroplasticity". MedicineNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 2014-11-12.
  5. Nava, E; Roder, B (2011-01-01). "Enhancing Performance for Action and Perception". Adaptation and maladaptation. Progress in Brain Research. 191: 177–194.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)