การจำลอง หรือ ซีมิวเลชัน (อังกฤษ: simulation) เป็นการจำลองของสิ่งที่มีอยู่จริง เหตุการณ์ในอดีต หรือขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อชี้ชัดลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาให้ชัดเจน บางครั้งจะมีการสร้างแบบจำลองอย่างง่ายขึ้น เพื่อให้จุดเด่นจุดใดจุดหนึ่งชี้ชัดออกมา

การจำลองการเคลื่อนตัวของนักบินอวกาศในอวกาศโดยทดสอบในน้ำแทนที่

คอมพิวเตอร์ซีมิวเลชัน แก้

คอมพิวเตอร์ซีมิวเลชัน หรือ "ซิม" เป็นการสร้างแบบจำลองของวัตถุจริง หรือเหตุการณ์นามธรรมตามสมมุติฐาน ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการศึกษาว่าระบบทำงานได้อย่างไร โดยในระหว่างการจำลองจะมีการปรับเปลี่ยนตัวแปร เปลี่ยนค่าเฉพาะ เพื่อศึกษาพฤติกรรมในรูปแบบที่ต่างกัน[1]

คอมพิวเตอร์ซิมิวเลชันกลายมาเป็นหัวสำคัญส่วนหนึ่งของการสร้างแบบจำลองแนวคิด ในการสร้างแบบจำลองทั้งหลายด้าน ไม่ว่า ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ มนุษยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้และการวิจัย

โดยก่อนหน้าที่คอมพิวเตอร์ได้รับการนิยม แบบจำลองส่วนใหญ่ถูกเขียนในรูปของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาคำตอบในเชิงคุณภาพ คอมพิวเตอร์ซีมิวเลชันได้ถูกนิยมนำมาใช้แทนทั้งหมด หรือนำมาใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดในการแก้ปัญหาแบบจำลองต่างๆ ตัวอย่างแบบจำลองเหล่านั้นเช่น มอนตีคาร์โลซิมิวเลชัน หรือ แบบจำลองสโตแคสติก

คำว่า "คอมพิวเตอร์ซีมิวเลชัน" ยังคงถูกใช้กับวิดีโอเกมที่จำลองการเล่นจากเหตุการณ์จริง

รายชื่อซอฟต์แวร์ แก้

รายชื่อซอฟต์แวร์ซีมิวเลชันที่เป็นที่รู้จัก

ซอฟต์แวร์ธุรกิจ
  • ACSL and acslX
  • LMS Imagine.Lab AMESim
  • AnyLogic
  • Arena
  • Chemical WorkBench
  • CircuitLogix
  • COMSOL Multiphysics
  • DX Studio
  • Dymola
  • GoldSim
  • iGrafx Process
  • Khimera
  • Maple
  • MapleSim
  • Mathematica
  • MathModelica
  • Modelica
  • NEi Nastran
  • NetSim
  • NI Multisim
  • Plant Simulation
  • PRO/II
  • RoboLogix
  • SIMUL8
  • Simulations Plus
  • SimulationX
  • Simulink from MathWorks
  • Vensim
  • VisSim
  • VISSIM
  • VSTEP
ซอฟต์แวร์เสรี
  • ASCEND
  • Facsimile
  • NS2
  • SimPy
  • Physics Abstraction Layer
  • Tortuga
  • Galatea

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้