กองดุริยางค์ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชน

กองดุริยางค์ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชน (จีน: 中国人民解放军军乐团; พินอิน: Zhōngguó rénmín jiěfàngjūn jūn yuètuán) เป็นวงดนตรีในสังกัดกองทัพปลดปล่อยประชาชน ทำหน้าที่เป็นเหล่าดนตรีของกองทัพมาเป็นเวลากว่า 50 ปี นักดนตรีของวงจะต้องเล่นดนตรีในพิธีการสำหรับประมุขแห่งรัฐและรัฐบาล ตลอดจนการแสดงในงานระดับชาติ เช่น วันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน (1 ตุลาคม) และวันครอบรอบของกองทัพ (1 สิงหาคม)[2] ผู้บัญชาการวงคนปัจจุบันคือ พันเอก จาง ไห่เฟิง (张海峰) ซึ่งอยู่ในวงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531[3]

กองดุริยางค์ทหาร
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
中国人民解放军军乐团
จงกั๋วเหรินหมินเจี่ยฟ่างจฺวิน-จฺวิน-ยฺเว่ถวน
ประจำการพ.ศ. 2495–ปัจจุบัน
ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ขึ้นต่อ พรรคคอมมิวนิสต์จีน
เหล่า กองทัพจีน
รูปแบบโยธวาทิต
กำลังรบ400+
ขึ้นกับกรมงานการเมือง คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
กองบัญชาการโรงแสดงดนตรีกองทัพปลดปล่อยประชาชน เขตไห่เตี้ยน กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
สมญาวงพีแอลอี (The PLA Band)
เพลงหน่วยมาร์ชกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ผู้บังคับบัญชา
ผู้อำนวยการฝ่ายดนตรีพันเอก จาง ไห่เฟิง[1]
ผู้ควบคุมวงและคฑากร หลิว ซินปั๋ว
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายแขนไหล่

กองดุริยางค์ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนมีนักดนตรีกว่า 400 คน ประกอบด้วยนักดนตรีจากทั่วทุกภูมิภาคของจีน มีเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท เช่น เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องสาย และเครื่องตี และสามารถเล่นเพลงได้หลากหลายประเภท ทั้งเพลงจีน เพลงตะวันตก และเพลงคลาสสิก

วงดุริยางค์นี้เป็นวงดนตรีที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในฐานะตัวแทนวัฒนธรรมและประเพณีของจีนผ่านดนตรี

ประวัติ

แก้

รายชื่อผู้บัญชาการและผู้บังคับการ

แก้
ผู้บัญชาการวง
  1. หลัว ล่าง (罗浪) (กรกฎาคม 1952-1957)
  2. หวัง เจี้ยนจง (王建中) (มีนาคม 1958–พฤษภาคม 1967)
  3. ฉือ เหล่ย (石磊) (มกราคม 1970-มิถุนายน 1981)
  4. หม่า กั๋วผิง (马国平) (มิถุนายน 1981-ตุลาคม 1985)
  5. หลิว ยฺวี่เป่า (刘玉宝) (ตุลาคม 1985-มิถุนายน 1988)
  6. ลฺหวี่ ฉู่จง (吕蜀中) (มิถุนายน 1988-กรกฎาคม 1994)
  7. ฉี จิ่งเฉฺวียน (齐景全) (กรกฎาคม 1994-มีนาคม 2003)
  8. ยฺหวี ไห่ (于海) (มีนาคม 2003-มิถุนายน 2011)
  9. โจว รุ่ย (邹锐) (มิถุนายน 2011-2018)
  10. จาง ไห่เฟิง (张海峰) (2018-2020)
  11. หวาง เหยียนฮุย (黃豔輝) (ปลายปี 2020–ปัจจุบัน)
ผู้บังคับการการเมือง
  1. ป๋าย เซินหลิน (白森林) (กรกฎาคม 1952—พฤศจิกายน 1956)
  2. จู เว่ยหลิว (朱为流) (พฤศจิกายน 1956—กรกฎาคม 1960)
  3. หรัน กวางจ้าว (冉光照) (กรกฎาคม 1960—มกราคม 1970)
  4. จู เย่าหัว (朱耀华) (มกราคม 1970—พฤษภาคม 1975)
  5. เทียน เสฺวียเฉิง (田学诚) (พฤษภาคม 1975—มีนาคม 1983)
  6. หยิน เจิ้งอี้ (尹正义) (มีนาคม 1983—ตุลาคม 1985)
  7. หลิว ฉี่หลิน (刘启林) (ตุลาคม 1985—มิถุนายน 1988)
  8. เฉิน เจิ้นเหยียน (陈振炎) (มิถุนายน 1988—สิงหาคม 1990)
  9. หลิว ฉฺวินเจิ้น (刘存珍) (สิงหาคม 1990—กันยายน 1993)
  10. เจียว กวงกั๋ว (焦光国) (กันยายน 1993—มีนาคม 1995)
  11. เปี้ยน ชื่อฝ่า (边士法) (มีนาคม 1995—สิงหาคม 2000)
  12. จาง เฉียง (张强)(สิงหาคม 2000—กรกฎาคม 2003)
  13. หลี่ หย่งหลง (李永龙) (กรกฎาคม 2003— ธันวาคม 2008)
  14. หม่า ลี่ (马力) (ธันวาคม 2008—มีนาคม 2014)
  15. หวัง เซิงเฉียง (王增强) (มีนาคม 2014–ไม่ทราบ)
  16. จาง จื้ออู่ (张志武) (ไม่ทราบ–ปัจจุบัน)

สหดุริยางค์

แก้

สหดุริยางค์ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชน เป็นวงดุริยางค์ทหารที่จัดตั้งขึ้นชั่วคราวโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ประกอบด้วยวงโยธวาทิตจากทุกเหล่าทัพและมณฑลทหารทั่วประเทศจีน มีสมาชิกประมาณ 1,500 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรเลงเพลงประกอบในพิธีสวนสนามทางทหารและพลเรือนเนื่องในวันชาติจีนจัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง นับตั้งแต่ปี 1949 หรือวัตถุประสงค์อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

การจัดตั้งสหดุริยางค์ครั้งล่าสุดคือเมื่อปี 2021 ในวาระพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน

อ้างอิง

แก้
  1. "国内新闻_新闻中心_新浪网".
  2. "Оркестр и рота почетного караула Народно-освободительной армии Китая". สืบค้นเมื่อ 2017-11-18.
  3. "Chinese music scholars visit Mason | Fourth Estate". 31 October 2014.