กรุป (คณิตศาสตร์)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กรุป (อังกฤษ: group) ในพีชคณิตนามธรรม คือ เซตกับการดำเนินการทวิภาคซึ่งสอดคล้องกับสมบัติดังต่อไปนี้: การดำเนินการต้องเป็นการดำเนินการเปลี่ยนหมู่ มีสมาชิกเอกลักษณ์ของการดำเนินการ และทุกสมาชิกมีตัวผกผัน
โครงสร้างจำนวนมากในคณิตศาสตร์คือกรุปที่มีสมบัติเพิ่มเติม ตัวอย่างของกรุปที่ง่ายที่สุดคือเซตของจำนวนเต็มภายใต้การบวกปรกติซึ่งเป็นกรุปแบบหนึ่ง สาขาของคณิตที่ศึกษาเกี่ยวกับกรุปโดยเฉพาะเรียกว่า ทฤษฎีกรุป แต่กรุปยังปรากฏในสาขาอื่น ๆ ทั้งในคณิตศาสตร์สาขาอื่น ๆ และศาสตร์อื่น ๆ นอกเหนือจากคณิตศาสตร์[1]
กรุปเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาสมมาตรของวัตถุในรูปแบบต่าง ๆ หลักการที่ว่า "สมมาตรของวัตถุใด ๆ ก่อให้เกิดกรุป" เป็นหลักพื้นฐานของคณิตศาสตร์มากมาย ตัวอย่างโดยตรงคือกรุปสมมาตรของวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการอธิบายสมมาตรของวัตถุเชิงเรขาคณิต กรุปสมมาตรมีสมาชิกประกอบไปด้วยการแปลง (การหมุน การพลิกรูป การสะท้อน ฯลฯ) ที่คงรูปทรงของวัตถุนั้น ลีกรุปเป็นกรุปสมมาตรชนิดหนึ่งที่ปรากฏในแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์อนุภาค กรุปปวงกาเรเป็นลีกรุปที่มีสมาชิกเป็นสมมาตรของกาลอวกาศในสัมพัทธภาพพิเศษ ในขณะที่กรุปจุดสามารถอธิบายสมมาตรของโมเลกุลเคมีได้
กรุปมีจุดกำเนิดเริ่มแรกจากการศึกษาสมการเชิงพหุนาม ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1830 เอวาริสต์ กาลัวเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า กรุป (Groupe ในภาษาฝรั่งเศส) เรียกกรุปสมมาตรของรากของพหุนาม ซึ่งปัจจุบันเราเรียกกรุปเหล่านั้นว่า กรุปกาลัว ตั้งแต่นั้นมามีการศึกษากรุปจากสาขาอื่น ๆ ในคณิตศาสตร์ เช่น ทฤษฎีจำนวน และ เรขาคณิต ก่อนที่แนวความคิดเกี่ยวกับกรุปทั่ว ๆ ไปจะได้รับการนิยามในช่วงปีคริสต์ศักราชที่ 1870 ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่คณิตศาสตร์พัฒนาไปในทิศทางที่เป็นนามธรรมขึ้นเรื่อย ๆ ทฤษฎีกรุปจึงเป็นสาขาสำคัญของพีชคณิตนามธรรม
ในปัจจุบัน ทฤษฎีกรุปสมัยใหม่ศึกษากรุปในตัวมันเอง ซึ่งนำไปสู่แนวคิดมากมาย เช่น สับกรุป กรุปผลหาร และ กรุปเชิงเดี่ยว นอกจากนี้นักคณิตศาสตร์ยังศึกษากรุปในมุมมองที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และสามารถระบุได้อย่างเจาะจง การศึกษานี้นำไปสู่ทฤษฎีตัวแทนและทฤษฎีกรุปเชิงการคำนวณ
นิยามพื้นฐาน
แก้กรุป ประกอบด้วย เซตไม่ว่าง กับ การดำเนินการทวิภาค ซึ่งสอดคล้องกับสัจพจน์ทุกข้อต่อไปนี้
- การเปลี่ยนหมู่: สำหรับทุก และ ใน จะได้ว่า
- การมีสมาชิกเอกลักษณ์: มีสมาชิก ใน ที่ทำให้สำหรับทุก ใน จะได้ว่า เรียก ว่าเป็นสมาชิกเอกลักษณ์ (identity) ของ
- สมาชิกผกผัน: สำหรับทุก ใน , จะมีสมาชิก ใน ที่ทำให้ เมื่อ คือสมาชิกเอกลักษณ์ และเรียก ดังกล่าวว่าเป็นสมาชิกผกผันของ สามารถพิสูจน์ได้ว่า สมาชิกผกผันในกรุปจะมีได้เพียงตัวเดียว และนิยมเขียนสมาชิกผกผันของ ด้วย
บางครั้งผู้เขียนอาจกำหนดสัจพจน์ที่กรุปต้องสอดคล้องเพิ่มเติม เพื่อเน้นย้ำความเป็นการดำเนินการทวิภาคของ
- สมบัติปิด: สำหรับทุก ใน จะได้ว่า ด้วย
เมื่อเป็นที่เข้าใจ อาจละการเขียนตัวดำเนินการ และเรียกกรุป แทนด้วย แทน
ความคิดพื้นฐานในทฤษฎีกรุป
แก้ฟังก์ชันสาทิสสัณฐานระหว่างกรุป
แก้ฟังก์ชันสาทิสสัณฐานระหว่างกรุป หรือ โฮโมมอร์ฟิซึมระหว่างกรุป (group homomorphism) คือฟังก์ชันที่รักษาโครงสร้างการเป็นกรุป ฟังก์ชัน ระหว่างกรุป และ จะเป็นฟังก์ชันสาทิสสัณฐานระหว่างกรุป ก็ต่อเมื่อ
สำหรับทุก
สมบัติที่ได้จากนิยามข้างต้นคือ
- รักษาเอกลักษณ์ของกรุป: เมื่อ เป็นสมาชิกเอกลักษณ์ของกรุป และกรุป ตามลำดับ
- รักษาการหาผกผัน: ทุกสมาชิก
สมบัติข้างต้นเน้นย้ำว่าฟังก์ชันสาทิสสัณฐานรักษาโครงสร้างของกรุป
อันดับของกรุปและอันดับของสมาชิก
แก้อันดับ (order) ของกรุป (นิยมเขียนแทนด้วย , หรือ ) จะหมายถึงจำนวนสมาชิกของกรุป ในกรณีที่ เป็นเซตจำกัด และจะเรียก ว่าเป็นกรุปจำกัด (Finite group) ในขณะที่ เป็นเซตอนันต์ จะเรียกว่ากรุปนั้นเป็นกรุปอนันต์ นิยมเขียนด้วย
อันดับของสมาชิก ในกรุป G คือจำนวนเต็ม n ที่น้อยที่สุดที่ทำให้ an = e โดยที่ an คือ a คูณตัวมันเอง n ครั้ง (หรือองค์ประกอบที่เหมาะสมอื่นๆ ขึ้นอยู่กับตัวดำเนินการของกรุป) ถ้าไม่มีจำนวนนับ n ดังกล่าว จะเรียกว่า a มีอันดับเป็นอนันต์
อาบีเลียนกรุป
แก้กรุป G จะเป็น อาบีเลียนกรุป หรือ กรุปสลับที่ ถ้าการดำเนินการของกรุปมีสมบัติสลับที่ได้ นั่นคือสำหรับทุกๆ a,b ใน G จะได้ว่า a * b = b * a
คำว่า อาบีเลียน (Abelian) ตั้งขึ้นตามชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นีลส์ อะเบล นักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์
กรุปวัฏจักร
แก้กรุปวัฏจักร คือกรุปซึ่งสมาชิกของมันอาจถูกก่อกำเนิดโดยการประกอบที่ต่อเนื่องกันของการดำเนินการซึ่งนิยามโดยกรุปจะถูกใช้กับสมาชิกเดี่ยวของ กรุปนั้น สมาชิกเดี่ยวนี้เรียกว่า ตัวก่อกำเนิดหรือสมาชิกปฐมฐานของกรุปนั้น
กรุปวัฏจักรการคูณซึ่ง G เป็นกรุป และ a เป็นตัวก่อกำเนิด
กรุปวัฏจักรการบวก ตัวก่อกำเนิดเป็น a
ถ้าการประกอบที่ต่อเนื่องกันของการดำเนินการซึ่งนิยามโดยกรุปถูกใช้กับสมาชิกไม่ปฐมฐานของกรุป กรุปย่อยวัฏจักรจะถูกก่อกำเนิด อันดับของ กรุปย่อยวัฏจักรแบ่งอันดับของกรุปนั้น ดังนั้นถ้าอันดับของกรุปเป็นจำนวนเฉพาะ สมาชิกทุกตัวยกเว้นสมาชิกเอกลักษณ์จะเป็นสามชิกปฐมฐานของกรุป
ควรระลึกไว้ด้วยว่า กรุปประกอบด้วยกรุปย่อยวัฏจักรซึ่งถูกก่อกำเนิดโดยสมาชิกแต่ละตัวในกรุป อย่างไรก็ตามกรุปซึ่งประกอบขึ้นจากกรุปย่อยวัฏจักรนั้น ตัวมันเองไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นกรุปวัฏจักรเสมอไป ตัวอย่างเช่น กรุปไคลน์ไม่เป็นกรุปวัฏจักรแม้ว่าจะประกอบขึ้นมาจากกรุปวัฏจักรที่มีอันดับเป็น 2 ที่เหมือนกันสองกรุปก็ตามที
สัญกรณ์สำหรับกรุป
แก้กรุปสามารถใช้สัญกรณ์ต่างๆ กันขึ้นอยู่กับบริบทและการดำเนินการ
- กรุปการบวก ใช้ + เพื่อแสดงถึงการบวก และเครื่องหมายลบ - แสดงถึงสมาชิกผกผัน เช่น a + (-a) = 0 ใน Z
- กรุปการคูณ ใช้ *,. หรือสัญลักษณ์ทั่วไป เพื่อแสดงถึงการคูณ และตัวยก -1 เพื่อแสดงสมาชิกผกผัน เช่น a*a-1 = 1 เป็นเรื่องธรรมดาที่จะไม่เขียน * และเขียนเป็น aa-1 แทน
- กรุปแบบฟังก์ชัน ใช้ • เพื่อแสดงการประกอบฟังก์ชัน และตัวยก -1 เพื่อแสดงสมาชิกผกผัน เช่น g • g-1 = e เป็นเรื่องทั่วไปที่จะไม่เขียน • และเขียนเป็นgg-1 แทน
การละเลยตัวดำเนินการเป็นเรื่องทั่วไปที่ยอมรับได้ และทิ้งให้ผู้อ่านรู้บริบทและการดำเนินการเอาเอง
เมื่อจะนิยามกรุป มีสัญกรณ์มาตรฐานที่ใช้วงเล็บในการนิยามกรุปและการดำเนินการของมัน ตัวอย่างเช่น (H, +) แสดงว่าเซต H เป็น กรุปภายใต้การบวก
สมาชิกเอกลักษณ์ e หรือบางครั้งก็เรียกว่า สมาขิกกลาง และบางครั้งก็ถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์อืนๆ ขึ้นอยู่กับกรุปนั้นๆ :
- ในกรุปการคูณ สมาชิกเอกลักษณ์คือ 1
- ในกรุปเมทริกซ์หาตัวผกผันได้ สมาชิกเอกลักษณ์มักแทนด้วย I
- ในกรุปการบวก สมาชิกเอกลักษณ์อาจเขียนเป็น 0
- ในกรุปแบบฟังก์ชัน สมาชิกเอกลักษณ์มักใช้เป็น f0
ตัวอย่างของกรุป
แก้อาบีเลียนกรุป : จำนวนเต็มภายใต้การบวก
แก้กรุปที่คุ้นเคยกันก็คือกรุปของจำนวนเต็มภายใต้การบวก ให้ Z เป็นเซตของจำนวนเต็ม {..., −4, −3, −2, −1, 0, 1, 2, 3, 4, ...} และให้สัญลักษณ์ + แสดงการดำเนินการบวก แล้ว (Z,+) เป็นกรุป
พิสูจน์ :
- สมบัติการปิด ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็ม แล้ว a+b ก็เป็นจำนวนเต็ม
- สมบัติการเปลี่ยนหมู่ ถ้า a b และ c เป็นจำนวนเต็มแล้ว (a + b) + c = a + (b + c)
- สมาชิกเอกลักษณ์ 0 เป็นจำนวนเต็ม สำหรับจำนวนเต็ม a ใดๆ 0 + a = a + 0 = a
- สมาชิกผกผัน ถ้า a เป็นจำนวนเต็มแล้ว -a สอดคล้องกับกฎการผกผัน a + (−a) = (−a) + a = 0
กรุปนี้เป็นอาบีเลียนกรุปด้วยเพราะ a + b = b + a
อ้างอิง
แก้- ↑ Mackey, George W. (1973). "Group Theory and Its Significance for Mathematics and Physics". Proceedings of the American Philosophical Society. 117 (5): 374–380. ISSN 0003-049X.
ดูเพิ่ม
แก้- Artin, Michael (2018). Algebra ([2018 reissue] 2nd ed.). [New York, New York]. ISBN 978-0-13-468960-9. OCLC 964502073.
- Cameron, Peter J. (2008). Introduction to algebra (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-156622-6. OCLC 213466141.
- Herstein, I. N. (1996). Abstract algebra (3rd ed.). Upper Saddle River, N.J.: Prentice-Hall. ISBN 0-13-374562-7. OCLC 32779082.