กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (อังกฤษ: Ankylosing spondylitis; AS) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่มีการอักเสบของข้อต่อของกระดูกสันหลังในระยะยาว[2] โดยทั่วไปแล้วข้อต่อที่กระดูกสันหลังรวมกับเชิงกรานก็จะได้รับผลกระทบ ข้อต่ออื่น ๆ เช่นไหล่หรือสะโพกมีส่วนร่วมเป็นครั้งคราว ปัญหาเกี่ยวกับตาและลำไส้อาจเกิดขึ้นได้ อาการปวดหลังเป็นลักษณะเฉพาะของ AS และมักจะเกิดขึ้นแบบมาและไป[2] ความฝืดของข้อต่อที่ได้รับผลกระทบโดยทั่วไปแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป[2][4]

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด
(Ankylosing spondylitis)
ชื่ออื่นโรคเบคเทเรฟ (Bekhterev's disease), โรคเบเทเรว (Bechterew's disease), มอร์บุสเบคเทเรว (morbus Bechterew), โรคเบคเทเรฟ-ชตรึมเพล-แมรี (Bekhterev-Strümpell-Marie disease), โรคแมรี (Marie's disease), โรคข้ออักเสบแมรี-ชตรึมเพล (Marie–Strümpell arthritis), โรคปีแอร์-แมรี (Pierre–Marie's disease)[1]
โครงกระดูกในศตวรรษที่ 6 แสดงให้เห็นกระดูกสันหลังที่หลอมรวมกัน เป็นอาการแสดงของโรค AS ชนิดรุนแรง
สาขาวิชาวิทยารูมาติก
อาการปวดหลัง, ข้อฝืด[2]
การตั้งต้นวัยหนุ่มสาว[2]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[2]
สาเหตุไม่ทราบ[2]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ, การถ่ายภาพทางการแพทย์, การตรวจเลือด[2]
การรักษายา, การออกกำลังกาย และการผ่าตัด[2]
ยาเอ็นเสด, สเตียรอยด์, ดีมาร์ด[2]
ความชุก0.1 to 1.8%[3]

แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่ก็เชื่อว่าจะเกี่ยวข้องกับการปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม มากกว่า 90% ของผู้ที่ได้รับผลกระทบมีแอนติเจนของเม็ดเลือดขาวเฉพาะของมนุษย์ที่เรียกว่า HLA B27[5] กลไกพื้นเดิมเชื่อว่าเป็นภูมิคุ้มกันตนเอง หรือ การอักเสบต่อตนเอง[6] โดยทั่วไปแล้วการวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับอาการด้วยการสนับสนุนจากการถ่ายภาพทางการแพทย์และการทดสอบเลือด[2]

โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด การรักษามีทั้งการใช้ยา การออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด การรักษาโดยใช้ยาจะมุ่งเน้นไปที่การลดปวดและอาการร่วม รวมถึงหยุดไม่ให้โรคดำเนินไปโดยต้านกระบวนการการอักเสบในระยะยาว ยาที่มักใช้ในโรคนี้ เช่น เอ็นเสด, ตัวยับยั้งทีเอ็นเอฟ, ยาต้าน IL-17 แลด ดีมาร์ด การฉีดสเตียรอยด์มักใช้ในกรณีที่เกิดอาการขึ้นมาฉับพลันและรุนแรง[7]

ความชุกของโรคในประชากรอยู่ที่ราว 0.1% ถึง 0.8% โดยมักเริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[3][2] ทั้งเพศชายและหญิงสามารถพบโรคนี้ได้ โดยผู้หญิงมีแนวโน้มจะเกิดลักษณะการอักเสบมากกว่าการยึดติดของโรค[8] สำหรัชความชุกของโรคในประเทศไทยมีอยู่ที่ 0.12% (ปี 1998)[9]

อ้างอิง แก้

  1. Matteson, E. L.; Woywodt, A. (2006-11-01). "Eponymophilia in rheumatology". Rheumatology (ภาษาอังกฤษ). 45 (11): 1328–1330. doi:10.1093/rheumatology/kel259. ISSN 1462-0324. PMID 16920748.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 "Questions and Answers about Ankylosing Spondylitis". NIAMS. มิถุนายน 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2016.
  3. 3.0 3.1 Khan MA (2009). Ankylosing Spondylitis (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 15. ISBN 9780195368079. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.
  4. "Ankylosing spondylitis". GARD. 9 กุมภาพันธ์ 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2016.
  5. Sheehan, NJ (January 2004). "The ramifications of HLA-B27". Journal of the Royal Society of Medicine. 97 (1): 10–4. doi:10.1258/jrsm.97.1.10. PMC 1079257. PMID 14702356.
  6. Smith, JA (January 2015). "Update on ankylosing spondylitis: current concepts in pathogenesis". Current allergy and asthma reports. 15 (1): 489. doi:10.1007/s11882-014-0489-6. PMID 25447326.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  8. "Facts and Figures". National Axial Spondyloarthritis Society (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
  9. Chaiamnuay P, Darmawan J, Muirden KD, Assawatanabodee P. Epidemiology of rheumatic disease in rural Thailand: a WHO-ILAR COPCORD study. Community Oriented Programme for the Control of Rheumatic Disease. J Rheumatol. 1998;25(7):1382‐1387

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก