กบฏซัตสึมะ หรือ สงครามเซนัน (ญี่ปุ่น: 西南戦争โรมาจิเซนันเซ็นโซ: สงครามภาคหรดี") เป็นการก่อกบฎของกลุ่มซามูไรที่ต่อต้านรัฐบาลเมจิใหม่ (รัฐบาลองค์จักรพรรดิ) เก้าปีภายหลังเริ่มยุคเมจิ การกบฏเกิดขึ้นในปลายเดือนมกราคม 1877 และดำเนินไปถึงเดือนกันยายนในปีเดียวกัน เมื่อผู้นำของฝ่ายกบฏ ไซโง ทากาโมริ ได้จบชีวิตลง

กบฏซัตสึมะ

การรบที่ชิโรยามะ
วันที่29 มกราคม ถึง 24 กันยายน 1877
สถานที่
คีวชู, จักรวรดิญี่ปุ่น
ผล ชัยชนะของฝ่ายจักรพรรดิ
คู่สงคราม

 ญี่ปุ่น
สนับสนุนทางทหาร

 สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร

แคว้นซัตสึมะ
สนับสนุนทางทหาร

 ฝรั่งเศส
 รัสเซีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรพรรดิเมจิ
เจ้าชายอาริซูงาวะ ทารูฮิโตะ
คาวามูระ ซูมิโยชิ
ยามางาตะ อาริโตโมะ
ไซโง ทากาโมริ  
กำลัง
70,000 20,000
ความสูญเสีย
6,278 ตาย
9,523 เจ็บ [1]
20,000 (ทั้งตายและเชลย)[1]

การกบฏเกิดขึ้นในอดีตแคว้นซัตสึมะบนเกาะคีวชู แคว้นนี้เป็นแคว้นที่มีบทบาทสำคัญที่สนับสนุนฝ่ายองค์จักรพรรดิในสงครามโบชิง ซึ่งภายหลังจากก่อตั้งรัฐบาลเมจิและสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่น อดีตแคว้นซัตสึมะก็กลายเป็นที่พำนักของเหล่าอดีตซามูไรจำนวนมาก อดีตซามูไรเหล่านี้ได้สูญเสียสถานะทางสังคมตลอดจนบรรดาอภิสิทธิทั้งหลายจากการปฏิรูปการทหารของรัฐบาล ซามูไรได้ถูกแทนที่ด้วยปืนไรเฟิลจากตะวันตก ทำให้ไม่มีใครว่าจ้างซามูไรเหล่านี้ให้ไปคุ้มครองอีกต่อไป จนเกิดเป็นความคับแค้นใจต่อรัฐบาลเมจิขึ้น

ภาพข่าว: ไซโง ทากาโมริ ในเครื่องแบบทหารฝรั่งเศส รายล้อมไปด้วยบรรดาแม่ทัพของเขา

ไซโง ทากาโมริ เป็นหนึ่งในขุนพลคนสำคัญที่เคยอยู่ฝ่ายจักรพรรดิและร่วมโค่นล้มรัฐบาลเอโดะ ทำให้ภายหลังการตั้งรัฐบาลเมจิ เขาได้เป็นหนึ่งในผู้นำอาวุโสของรัฐบาล ในปี 1873 เขาเป็นคนเสนอให้ญี่ปุ่นทำสงครามเพื่อยึดครองเกาหลี โดยมีเหตุผลว่า สงครามกับเกาหลีนั้นเป็นทั้งประโยชน์ต่อชาติญี่ปุ่น และก็เป็นประโยชน์ต่อบรรดาอดีตซามูไรที่จะได้แสวงหาการตายแบบมีเกียรติและศักดิ์ศรี แต่ข้อเสนอของเขาก็ได้รับการปฏิเสธ ภายหลังแผนการของเขาถูกปฏิเสธ เขาก็ลาออกจากทุกตำแหน่งในรัฐบาลเพื่อเป็นการประท้วงและกลับไปยังคาโงชิมะ บ้านเกิดของเขา เขาได้สนับสนุนบรรดาอดีตซามูไรเหล่านี้ โดยได้เปิดสำนักเป็นของตัวเองในคาโงชิมะ สอนเกี่ยวกับวิถีนักรบ และในที่สุดก็มีสาขาถึง 132 สาขาทั่วทั้งจังหวัด นอกจากนี้เขายังจัดตั้งโรงเรียนสรรพาวุธขึ้น โดยเน้นไปที่การสอนองค์กรการเมืองกำลังรบกึ่งทหารมากกว่าสิ่งอื่นใด จนในที่สุด ไซโงก็ได้รับแรงสนับสนุนมากมาย และตัดสินใจเผชิญหน้ารัฐบาลองค์จักรพรรดิ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Hane Mikiso " Modern Japan A Historical survey" pg 115

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้