จิ้งจอกโบราณ Vulpes qiuzhudingi เป็นสปีชีส์ของสุนัขจิ้งจอกที่สูญพันธุ์แล้วของหิมาลัย[2] กินเนื้อเป็นอาหารหลัก[3] ซากดึกดำบรรพ์มีอายุระหว่าง 5.08–3.60 ล้านปีที่แล้ว พบที่แอ่งจ๋าต๋าและเทือกเขาคุนหลุนของทิเบต[4] ตั้งชื่อตาม Qiu Zhuding นักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน[3] เชื่อว่าจิ้งจอกชนิดนี้เป็นบรรพบุรุษของ Vulpes lagopus หรือจิ้งจอกอาร์กติกสมัยใหม่ ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีออกจากทิเบต (Out of Tibet theory) ซึ่งสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตในอาร์กติกจำนวนหนึ่งสามารถสืบย้อนบรรพบุรุษมายังสปีชีส์ที่มีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบตได้[5]

Vulpes qiuzhudingi
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับสัตว์กินเนื้อ
วงศ์: Canidae
สกุล: สกุลวูลเปส
(Wang et. al., 2014)[1]
สปีชีส์: Vulpes qiuzhudingi
ชื่อทวินาม
Vulpes qiuzhudingi
(Wang et. al., 2014)[1]

อ้างอิง แก้

  1. Wang, Xiaoming; Tseng, Zhijie Jack; Li, Qiang; Takeuchi, Gary T.; Xie, Guangpu (11 June 2014). "From 'third pole' to north pole: a Himalayan origin for the arctic fox". Proceedings of the Royal Society B. Royal Society. 281 (1787): 20140893. doi:10.1098/rspb.2014.0893. PMC 4071559. PMID 24920475.
  2. Wang, Xiaoming (2015). "Cenozoic vertebrate evolution and paleoenvironment in Tibetan Plateau: Progress and prospects". Gondwana Research. 4 (27): 1335–1354. doi:10.1016/j.gr.2014.10.014.
  3. 3.0 3.1 Jane Qiu (11 June 2014). "Origins of Arctic fox traced back to Tibet". Nature. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
  4. Christine Dell'Amore (10 June 2014). "An extinct species of "very carnivorous" fox with supersharp teeth once roamed the frigid Tibetan Plateau, a new study says". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
  5. ""Out of Tibet" hypothesis: Cradle of evolution for cold-adapted mammals is in Tibet". National Science Foundation. June 11, 2014. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.