ทรีบิวต์ (อัลบั้มยานนี)

(เปลี่ยนทางจาก Tribute)

ทรีบิวต์ (อังกฤษ: Tribute) เป็นอัลบั้มและวีดิทัศน์บันทึกการแสดงสดของยานนี ในดนตรีแนวนิวเอจ ถ่ายทำและบันทึกการแสดงในประเทศอินเดีย และประเทศจีน ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พ.ศ. 2540

Tribute
อัลบั้มบันทึกการแสดงสด และอัลบั้มเพลงโดย
วางตลาด4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
บันทึกเสียงมีนาคม พ.ศ. 2540 – พฤษภาคม พ.ศ. 2540
แนวเพลงบทเพลงบรรเลง
อีซีลีเซ็นนิง
ดนตรีร่วมสมัยสำหรับผู้ใหญ่
ความยาว67:13
ค่ายเพลงเวอร์จิ้นเรคคอร์ดส์
โปรดิวเซอร์ยานนี
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี
ลำดับอัลบั้มของยานนี
Nightbird
(พ.ศ. 2540)
Tribute
(พ.ศ. 2540)
Forbidden Dreams: Encore Collection, Volume 2
(พ.ศ. 2541)
Tribute บริเวณพระราชวังต้องห้าม ประเทศจีน
Tribute บริเวณทัชมาฮาล ประเทศอินเดีย

ทรีบิวต์เป็นอัลบั้มเพลงในรูปแบบแพคเก็ตอัลบั้ม ออกวางจำหน่ายในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ความยาว 67:13 นาที โดย เวอร์จิ้นเรคคอร์ดส์ ทรีบิวต์ เป็นอัลบั้มบันทึกการแสดงสดของยานนีในบริเวณทัชมาฮาลและพระราชวังต้องห้าม ซึ่งต่อมาภายหลังได้นำการแสดงทั้งสองแห่ง มาตัดต่อและรวมรวมเป็นอัลบั้ม

ประวัติ แก้

ทรีบิวต์เป็นอัลบั้มและบันทึกการแสดงสดของยานนี สำหรับการทัวร์คอนเสิร์ตในแถบทวีปเอเชีย ซึ่งสถานที่ในการแสดง ถ่ายทำและบันทึกการแสดงครั้งนี้ เป็นสถานที่หวงห้ามของทั้งสองประเทศ แต่ยานนีเป็นหนึ่งในนักดนตรีชาวตะวันตกไม่กี่คน ที่ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจากประเทศอินเดียให้เข้าทำการแสดงและถ่ายทำบันทึกการแสดงที่บริเวณทัชมาฮาล หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก โดยการแสดงเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองรอบปีที่ห้าสิบของการประกาศอิสรภาพของอินเดีย[1]

ต่อมายานนีได้รับอนุญาตจากประเทศจีน ให้เข้าทำการแสดงและบันทึกการแสดงที่บริเวณพระราชวังต้องห้ามในประเทศจีน มีผู้ชมประมาณ 4,000 ที่นั่ง ซึ่งหลายร้อยที่นั่งสงวนไว้สำหรับเจ้าหน้าที่จีน[2] คอนเสิร์ตได้รับคำสั่งให้มีความดังไม่เกิน 40 เดซิเบล ก่อนการแสดงนี้ยานนีได้เปิดการแสดงที่สนามกีฬาในนครเซี่ยงไฮ้และกว่างโจวซึ่งบัตรจำหน่ายหมดทั้งสองรอบ ต่อมาในปีนั้น เขาได้กล่าวว่าผู้ชมที่นั่นเป็นที่สุดในอาชีพของเขา[2]

ในการแสดงชุด ทรีบิวต์ มีอาร์เมน อะนาสเซียน เป็นวาทยกรผู้ควบคุมวง และร่วมบรรเลงไวโอลินในการแสดงครั้งนี้อีกด้วย Tribute ใช้วงดนตรีหลักและนักดนตรีของยานนี ร่วมบรรเลงพร้อมกับวงออร์เคสตรา โดยมีคาเรน บริกกส์ นักไวโอลิน หนึ่งในนักดนตรีหลักของยานนี แสดงการเดี่ยวไวโอลินคู่กับการเป่าซูปราโน แซกโซโฟนของเปโดร เอสตาเช ในเพลง Renegade และฟลุตในเพลงNightinagle ซึ่งได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมชาวอินเดียและชาวจีนเป็นอย่างมาก

ทรีบิวต์ มีนักร้องประสานเสียงร่วมการแสดงและร่วมร้องเพลงในเพลง Love Is All ได้แก่ Lynn, Mcneill และเพลง Niki Nana (We're One) ซึ่งมีการนำเอาแซกโซโฟนไม้ไผ่ขนาดยาว เครื่องดนตรีพื้นเมืองของออสเตรเลีย มาร่วมประกอบการแสดงครั้งนี้ด้วย

นอกจากเพลง Love Is All , Niki Nana ใน Tribute แล้ว ยังมีเพลงที่ได้รับความนิยมเช่น Tribute Waltz in 7/8 และ Nightingale

อัลบั้ม แก้

Renegade
ตัวอย่างบทเพลง Renegade จากอัลบั้มและบันทึกการแสดงสด Tribute แทรคที่ 3 ความยาว 7:14 นาที

Tribute ได้รับความนิยมและเสียงตอบรับพอสมควร จากคะแนนโหวตของนิตยสารบิลบอร์ด และไต่ชาร์ตอัลบั้มเพลงยอดนิยม โดยอยู่ในอันดับที่ 21 ในการจัดอันดับคะแนนความนิยมของนิตยสารบิลบอร์ด ในปี พ.ศ. 2540[3]

รายชื่อเพลง แก้

ลำดับที่ รายชื่อเพลง โปรดิวเซอร์ เวลา
1. "Deliverance" ยานนี 8:33
2. "Adagio in C Minor" ยานนี 3:50
3. "Renegade" ยานนี 7:14
4. "Dance With a Stranger" ยานนี 6:45
5. "Tribute" ยานนี 6:40
6. "Prelude" ยานนี 2:27
7. "Love Is All" (Lynn, Mcneill, Yanni) ยานนี 5:25
8. "Southern Exposure" ยานนี 6:48
9. "Waltz in 7/8" ยานนี 5:32
10. "Nightingale" ยานนี 5:44
11. "Niki Nana (We're One)" (Sterling, Yanni) ยานนี 8:15

นักดนตรี แก้

ทรีบิวต์ใช้วงดนตรีจำนวน 2 วงแสดงร่วมกัน ได้แก่วงดนตรีหลักของยานนี และวงออร์เคสตรา โดยมีอาร์เมน อะนาสเซียน ทำหน้าที่เป็นวาทยกรผู้ควบคุมวงดนตรีในการแสดง และร่วมบรรเลงไวโอลินในการแสดงครั้งนี้ด้วย

โดยนักดนตรีที่ร่วมแสดงในการแสดงชุด Tribute ในวงดนตรีหลักของยานนี มีดังนี้

อ้างอิง แก้

  1. Karp, Jonathan (20 มีนาคม 1997). "Yanni detractors say concerts sound ominous for Taj Mahal". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2021.
  2. 2.0 2.1 Chu, Henry (30 พฤษภาคม 1997). "Yanni opens the door to the Forbidden City". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2021.
  3. "Yanni Albums". Music Charts Archive. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้