ปลาทูน่าครีบเหลือง

(เปลี่ยนทางจาก Thunnus albacares)

ปลาทูน่าครีบเหลือง (อังกฤษ: Yellowfin tuna, Allison's tuna, Pacific long-tailed tuna, Yellowfinned albacore; ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunnus albacares) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)

ปลาทูน่าครีบเหลือง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: Scombriformes
วงศ์: วงศ์ปลาอินทรี
สกุล: ปลาทูน่าแท้
สกุลย่อย: Neothunnus
Bonnaterre, 1788
สปีชีส์: Thunnus albacares
ชื่อทวินาม
Thunnus albacares
Bonnaterre, 1788
ชื่อพ้อง[2]
  • Scomber albacares Bonnaterre, 1788
  • Germo albacares (Bonnaterre, 1788)
  • Neothunnus albacares (Bonnaterre, 1788)
  • Scomber albacorus Lacepède, 1800
  • Thynnus argentivittatus Cuvier, 1832
  • Germo argentivittatus (Cuvier, 1832)
  • Neothunnus argentivittatus (Cuvier, 1832)
  • Thunnus argentivittatus (Cuvier, 1832)
  • Scomber sloanei Cuvier, 1832
  • Thynnus albacora Lowe, 1839
  • Germo albacora (Lowe, 1839)
  • Neothunnus albacora (Lowe, 1839)
  • Orcynus albacora (Lowe, 1839)
  • Thunnus albacora (Lowe, 1839)
  • Thynnus macropterus Temminck & Schlegel, 1844
  • Germo macropterus (Temminck & Schlegel, 1844)
  • Neothunnus macropterus (Temminck & Schlegel, 1844)
  • Orcynus macropterus (Temminck & Schlegel, 1844)
  • Thunnus macropterus (Temminck & Schlegel, 1844)
  • Orcynus subulatus Poey, 1875
  • Thunnus allisoni Mowbray, 1920
  • Germo allisoni (Mowbray, 1920)
  • Neothunnus allisoni (Mowbray, 1920)
  • Neothunnus itosibi Jordan & Evermann, 1926
  • Germo itosibi (Jordan & Evermann, 1926)
  • Semathunnus itosibi (Jordan & Evermann, 1926)
  • Thunnus itosibi (Jordan & Evermann, 1926)
  • Neothunnus catalinae Jordan & Evermann, 1926
  • Thunnus catalinae (Jordan & Evermann, 1926)
  • Kishinoella zacalles Jordan & Evermann, 1926
  • Thunnus zacalles (Jordan & Evermann, 1926)
  • Semathunnus guildi Fowler, 1933
  • Neothunnus brevipinna Bellón & Bàrdan de Bellón, 1949

จัดเป็นปลาทูน่าหรือปลาโอที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง แต่เล็กกว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (T. thynnus) และปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิค (T. orientalis) พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 40 องศาเหนือ ถึง 40 องศาใต้ มักชอบว่ายน้ำตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงความลึกประมาณ 300 เมตร ในระดับอุณหภูมิ 18-31 องศาเซลเซียส ทูน่าครีบเหลืองเป็นที่นิยมในการจับมากในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งจับได้ยากและต้องใช้เรือขนาดใหญ่ จึงมักทำการประมงโดยใช้เรือจากบริษัทขนาดใหญ่ ทำการประมงน้ำลึก มูลค่าการจับหลายสิบล้านบาทต่อเที่ยว

มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางของครีบหลังอันแรก ครีบหลังอันแรกแยกออกจากครีบหลังอันที่สองอย่างชัดเจน ครีบหูมีความยาวถึงกึ่งกลางของฐานครีบหลังอันที่สองในปลาทูน่าขนาดใหญ่ ครีบหลังอันที่สองและครีบก้นมีขนาดยาวมาก (ยาวกว่าความยาวของครีบหลังร้อยละ 20) เมื่อผ่าท้องออกดูจะพบว่าด้านล่างของตับจะไม่ลาย ด้านหลังเป็นสีน้ำเงินดำ แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำเงินด้านล่างของลำตัว ปลาทูน่าครีบเหลืองขนาดใหญ่ขนาดใหญ่จะพบจุดสีเข้มเป็นแถวตามแนวดิ่งประมาณ 20 แถว ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลืองสด มีครีบเล็กสีเหลืองจำนวน 7-10 คู่ และที่ปลายของครีบเล็กจะเป็นสีดำ

ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวมากกว่า 2 เมตร (วัดจากปากถึงเว้าครีบหาง) และมีหน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 0.5-1.5 เมตร เริ่มเข้าสู่ภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว 50-60 เซนติเมตร และร้อยละของปลาที่โตเต็มวัยจะสูงขึ้นเมื่อมีความยาวมากกว่า 70 เซนติเมตร ปลาทูน่าครีบเหลืองทุกตัวจะอยู่ในภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว มากกว่า 120 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 9 ปี ไข่เป็นลักษณะไข่ลอยไปตามกระแสบนผิวน้ำ เมื่อฟักเป็นตัวใช้เวลา 2 ปี จึงจะมีสภาพโตเต็มที่ ลูกปลาแรกฟักมีความยาว 3 มิลลิเมตร ถึงแม้จะว่ายน้ำได้ แต่ก็ไม่คล่องแคล่ว จนกระทั่งอีกหลายปสัดาห์ต่อมาจึงสามารถว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ลูกปลาวัยอ่อนไม่สามารถที่จะปกป้องตัวเองได้ จึงตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่าต่าง ๆ เสมอ [3]

ปลาทูน่าครีบเหลืองเป็นปลาที่นิยมรับประทานสด และเป็นวัตถุดิบในการทำปลากระป๋อง จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากอีกชนิดหนึ่ง อุปกรณ์ในการประมงที่ใช้ในการจับ คือ อ้วนล้อม, เบ็ดตวัด, อวนลอย และเบ็ดราว [4] มีราคาซื้อขายสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท เป็นปลาที่มีส่วนที่เป็นเนื้อแดงเยอะ ที่เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า "ชูโทะโระ" (中とろ)

อ้างอิง

แก้
  1. Collette, B.B.; Boustany, A.; Fox, W.; Graves, J.; Juan Jorda, M.; Restrepo, V. (2021). "Thunnus albacares". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T21857A46624561. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-2.RLTS.T21857A46624561.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  2. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2018). "Thunnus albacares" in FishBase. February 2018 version.
  3. "อัศจรรย์โลกใต้น้ำตอนที่ 5". ช่อง 7. 9 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-19. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  4. ปลาทูน่า

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้