เดอะวอลต์ดิสนีย์

(เปลี่ยนทางจาก The Walt Disney Company)

บริษัท เดอะ วอลต์ ดิสนีย์ (อังกฤษ: The Walt Disney Company) หรือเรียกกันทั่วไปว่า ดิสนีย์[2] เป็นกลุ่มบริษัทสื่อมวลชนและความบันเทิงข้ามชาติที่หลากหลายของอเมริกา สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์คอมเพลกซ์ในเบอร์แบงก์, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ

เดอะวอลต์ดิสนีย์
ชื่อเดิม
  • ดิสนีย์บราเธอร์สการ์ตูนสตูดิโอ (1923–1929)
  • เดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ (1929–1940)
  • วอลต์ดิสนีย์โปรดักชันส์ (1940–1986)
  • ดิสนีย์เอ็นเตอร์ไพรส์ (1994–1996)
ประเภทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS2546871060 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมสื่อมวลชน การบันเทิง
ก่อนหน้าลาฟ-โอ-แกรม สตูดิโอ (1921)
ก่อตั้งลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ[1] (16 ตุลาคม 2466)
ผู้ก่อตั้งวอลต์ ดิสนีย์ และ รอย ดิสนีย์
สำนักงานใหญ่500 ถนนเซาท์บิวนาวิสต้า เบอร์แบงก์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
โรเบิร์ต ไอเกอร์
(ประธาน,กรรมการผู้จัดการ)
ผลิตภัณฑ์โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล, กิจการของสำนักพิมพ์, ภาพยนตร์, เพลง, วิดีโอเกม, สวนสนุก, การกระจายเสียง, วิทยุ, เว็บท่า
บริการสัญญาอนุญาต
รายได้เพิ่มขึ้น US$82.722 พันล้าน (2022)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น US$12.121 พันล้าน (2022)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น US$3.145 พันล้าน (2022)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$203.631 พันล้าน (2022)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น US$98.879 พันล้าน (2022)
พนักงาน
ป. 220,000 (2022)
แผนก
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.thewaltdisneycompany.com

ดิสนีย์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1923 โดยวอลต์และรอย โอ. ดิสนีย์ ในชื่อ ดิสนีย์บราเธอร์สการ์ตูนสตูดิโอ บริษัทยังดำเนินการภายใต้ชื่อ เดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ และ วอลต์ดิสนีย์โปรดักชันส์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น บริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1986 บริษัทก่อตั้งตัวเองในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมแอนิเมชันอเมริกัน ก่อนที่จะขยายไปสู่การสร้างภาพยนตร์คนแสดง, รายการโทรทัศน์และสวนสนุก

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ดิสนีย์ได้ก่อตั้งและเข้าซื้อกิจการแผนกต่าง ๆ เพื่อทำการตลาดเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่มากกว่าปกติที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ระดับเรือธงของครอบครัว บริษัทเป็นที่รู้จักจากแผนกสร้างภาพยนตร์ ก็คือ เดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ ซึ่งประกอบด้วย วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์, วอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์, พิกซาร์, มาร์เวลสตูดิโอส์, ลูคัสฟิล์ม, ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์, ทเวนตีท์เซนจูรีแอนิเมชันและเซิร์ชไลท์พิกเชอส์ ธุรกิจหลักอื่น ๆ ของดิสนีย์ ได้แก่ แผนกในโทรทัศน์, การออกอากาศ, สื่อสตรีมมิง, รีสอร์ทสวนสนุก, สินค้าอุปโภคบริโภค, สิ่งพิมพ์และการดำเนินงานระหว่างประเทศ ดิสนีย์เป็นเจ้าของและดำเนินการ เครือข่ายออกอากาศเอบีซี ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายเคเบิลโทรทัศน์ เช่น ดิสนีย์แชนแนล, อีเอสพีเอ็น, ฟรีฟอร์ม, เอฟเอ็กซ์และเนชั่นแนลจีโอกราฟิก นอกจากนี้ยังมีแผนกสิ่งพิมพ์, การขายสินค้า, เพลงและโรงละคร บริการสตรีมมิงส่งตรงถึงลูกค้า เช่น ดิสนีย์+, อีเอสพีเอ็น+, ฮูลูและฮอตสตาร์ และ วอลต์ดิสนีย์พาร์กส์, อิกซ์เพียเรียนซ์แอนด์พอร์ดักส์ กลุ่มของสวนสนุก 14 แห่ง, โรงแรมรีสอร์ทและสายการเดินเรือทั่วโลก[3][4] ตัวการ์ตูน มิกกี้ เมาส์ สร้างโดย วอลต์ ดิสนีย์และอับ ไอเวิร์กส์ ทำหน้าที่เป็นตัวนำโชคอย่างเป็นทางการของบริษัท

บริษัทซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ภายใต้สัญลักษณ์หุ้น DIS[5] และเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991[6] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 น้อยกว่าสองในสามของหุ้นทั้งหมดเป็นของสถาบันการเงินขนาดใหญ่[7]

ประวัติแก้ไข

บริษัทวอลต์ดิสนีย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923)[1] ในชื่อ "ดิสนีย์บราเธอส์คาร์ตูนสตูดิโอ" (Disney Brothers Cartoon Studio) โดยสองพี่น้องดิสนีย์ วอลต์ ดิสนีย์ และ รอย ดิสนีย์ หลังจากที่ทั้งคู่ได้ทำสัญญากับ เอ็ม.เจ.วิงเกลอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ในฮอลลีวูด โดยซ็นสัญญาการ์ตูนชุด อลิซคอเมดีส์ (Alice Comedies) ที่วอลต์ได้เริ่มทำเมื่อสมัยที่ทำภาพยนตร์ที่แคนซัสซิตี หลังจากบริษัทก่อตั้งได้ระยะหนึ่ง บริษัทได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ" (Walt Disney Studio)

หลังจากสี่ปีที่ได้เปิดบริษัทมา วอลต์มีไอเดียสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้แก่ ออสวอลด์ เดอะ ลักกีแรบบิต (Oswald the Lucky Rabbit) แต่ทว่าเมื่อผ่านไปหนึ่งปี ทางผู้จัดจำหน่ายได้หยุดการให้ทุนวอลต์ดิสนีย์ แต่ได้นำตัวละครออสวอลด์ไปสร้างต่อกับบริษัทอื่นแทน[1] ทำให้วอลต์จำเป็นต้องหาทุนถ่ายทำใหม่รวมถึงสร้างตัวละครการ์ตูนขึ้นมาใหม่ วอลต์ได้นำหนูมาเป็นตัวละครและตั้งชื่อให้ว่า มอร์ติเมอร์ (Mortimor) แต่ภรรยาของเขาแนะนำให้ใช้ชื่อ มิกกี (Mickey) แทน ซึ่งในตอนที่สามของการ์ตูนชุดในชื่อ สตีมโบตวิลลี (Steamboat Willie) นี้ วอลต์ได้นำเสียงประกอบมาใช้ในการ์ตูน และ ได้ออกฉายเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ที่โรงละครโคโลนีในนิวยอร์ก ซึ่งได้รับการต้อนรับมากมายจากผู้ชมและนักวิจารณ์ ซึ่งเป็นก้าวแรกของความสำเร็จของวอลต์ดิสนีย์ ต่อมาวอลต์ได้สร้างการ์ตูนชุดใหม่ในชื่อ ซิลลีซิมโฟนีส์ (Silly Symphonies) โดยฟลาเวอรส์แอนด์ทรีส์ในชุดนี้เป็นการ์ตูนรื่องแรกของดิสนีย์ที่ได้รับรางวัลออสการ์

ในปี พ.ศ. 2498 วอลต์ได้เปิดสวนสนุกในชื่อดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต

หน่วยงานของบริษัทแก้ไข

บริษัทโฮดดิ้งด้านบันเทิงหลัก[8] คือ

รีสอร์ตของบริษัท[9]

ดิสนีย์มีเดียเน็ตเวิร์กสแก้ไข

เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับช่องเคเบิลของวอลต์ดิสนีย์

รายชื่อภาพยนตร์ และ การ์ตูน ของดิสนีย์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 1.2 "Company History". Corporate Information. The Walt Disney Company. สืบค้นเมื่อ 2008-08-30.
  2. "Disney, Walt | Definition of Disney, Walt by Lexico". Lexico Dictionaries | English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2019. สืบค้นเมื่อ October 24, 2019.
  3. "Parks & Destinations | Walt Disney World Resort" (ภาษาอังกฤษ). Disney. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2017. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
  4. Sylt, Christian. "The Secrets Behind Disney's $2.2 Billion Theme Park Profits". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2017. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
  5. "Walt Disney Company (The) Common Stock (DIS) - Summary". NASDAQ. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  6. "Dow Jones Shakes Up Its Index With Four Replacements". Los Angeles Times. 1997-03-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-23.
  7. "Walt Disney Company (The) Common Stock - DIS Institutional Holdings". NASDAQ. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  8. "Reasons Why You May Want to Travel with Adventures By Disney". Family Travel Magazine. กันยายน 6, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 8, 2017. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 7, 2017. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  9. "Reasons Why You May Want to Travel with Adventures By Disney". Family Travel Magazine. กันยายน 6, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 8, 2017. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 7, 2017. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข