สตีฟ เออร์วิน

(เปลี่ยนทางจาก Steve Irwin)

สตีเฟน โรเบิร์ต "สตีฟ" เออร์วิน (อังกฤษ: Stephen Robert "Steve" Irwin; 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 – 4 กันยายน พ.ศ. 2549) ชื่อเล่นว่า "นักล่าจระเข้" เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์ป่าชาวออสเตรเลีย[1][2] บุคคลในโทรทัศน์ และนักอนุรักษ์ธรรมชาติ เออร์วินมีชื่อเสียงทั่วโลกจากรายการโทรทัศน์ เดอะคร็อกโคไดล์ฮันเตอร์ (The Crocodile Hunter) สารคดีสัตว์ที่ออกอากาศทั่วโลก จัดรายการร่วมกับภรรยาชื่อ เทร์รี เขาและภรรยาเป็นเจ้าของสวนสัตว์ออสเตรเลียซู ก่อตั้งโดยพ่อแม่ของเออร์วินในเบียร์วาห์ ประมาณ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) ทางเหนือของบริสเบน เมืองหลวงของรัฐควีนส์แลนด์ เออร์วินเสียชีวิตในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากถูกเงี่ยงปลากระเบนธงแทงหน้าอกขณะถ่ายทำสารคดีชุดโอเชียนส์เดดลีเอสต์ (Ocean's Deadliest) สมาคมอนุรักษ์ธรรมชาติซีเชปเพิร์ด (Sea Shepherd Conservation Society) ตั้งชื่อเรือเอ็มวาย สตีฟ เออร์วิน (MY Steve Irwin) เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

สตีฟ เออร์วิน
เออร์วินขณะที่สวนสัตว์ออสเตรเลีย พ.ศ. 2548
เกิดสตีเฟน โรเบิร์ต เออร์วิน
22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1962(1962-02-22)
เอสเซนดัน รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย
เสียชีวิต4 กันยายน ค.ศ. 2006(2006-09-04) (44 ปี)
แบ็ตรีฟ รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
สาเหตุเสียชีวิตบาดแผลจากปลากระเบนที่หัวใจ
สัญชาติออสเตรเลีย
ชื่ออื่น"นักล่าจระเข้"
อาชีพนักธรรมชาติวิทยา
นักสัตววิทยา
นักอนุรักษ์
ดาราทีวี
นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2534–2549
ผลงานเด่นThe Crocodile Hunter
คู่สมรสเทร์รี เออร์วิน
บุตรบินดี เออร์วิน (เกิด พ.ศ. 2541)
โรเบิร์ต ซี. เออร์วิน (เกิด พ.ศ. 2546)
บุพการีบ็อบ เออร์วิน
ลิน เออร์วิน
เว็บไซต์สวนสัตว์ออสเตรีเลีย
ลายมือชื่อ

ชีวิตส่วนตัว แก้

เขาแต่งงานกับสาวนักล่าจระเข้ชาวอเมริกันที่มีชื่อว่าเทร์รี เออร์วิน มีบุตรด้วยกันสองคนคือบินดี เออร์วิน (บุตรสาวคนโต) และโรเบิร์ต เออร์วิน (บุตรชายคนเล็ก) ปัจจุบันลูกทั้งสองเป็นนักล่าจระเข้เช่นกัน นอกจากจะเป็นสามีภรรยากันแล้วทั้งคู่ยังร่วมถ่ายสารคดีสัตว์โลก หนึ่งในนั้นคือการจับและสู้กับจระเข้ด้วยมือเปล่า สตีฟและภรรยายังดูแลสวนสัตว์ที่มีชื่อว่า Australia Zoo ชื่อเดิมคือ Queenland Reptile Park ก่อตั้งโดยพ่อและแม่ของเขาบ็อบ และลิน เออร์วิน โดยสตีฟ และเทร์รี เริ่มงานนี้ในปี พ.ศ. 2534[3]

การทำงาน แก้

เดอะคร็อกโคไดล์ฮันเตอร์และงานที่เกี่ยวข้อง แก้

 
สตีฟเออร์วินขณะกำลังให้อาหารจระเข้ที่สวนสัตว์ในออสเตรเลีย

สตีฟ และเทร์รี ใช้เวลาฮันนีมูนในการวางกับดักจระเข้ด้วยกัน ภาพยนตร์ของการฮันนีมูนของพวกเขาที่ถ่ายโดยจอห์น สเตนตัน (John Stainton) กลายเป็นตอนแรกของ เดอะคร็อกโคไดล์ฮันเตอร์ ภาพยนตร์ชุดรายการนี้เปิดตัวแพร่ภาพทางโทรทัศน์ของออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2539 และเผยแพร่ทางโทรทัศน์ในอเมริกาเหนือในปีถัดมา เดอะคร็อกโคไดล์ฮันเตอร์ ประสบความสำเร็จในสหรัฐ, สหราชอาณาจักร[4] และอีกกว่า 130 ประเทศโดยมีผู้ชมถึง 500 ล้านคน รูปแบบการนำเสนอที่สดใสและกระตือรือร้นของเออร์วิน สำเนียงภาษาแบบออสเตรเลีย กางเกงขาสั้นสีกากีอันเป็นเอกลักษณ์ และวลีที่โดดเด่น "Crikey!" กลายเป็นที่รู้จักทั่วโลก[5] เซอร์เดวิด แอตเทนบะระยกย่องเออร์วินที่แนะนำหลาย ๆ คนให้รู้จักกับโลกธรรมชาติโดยกล่าวว่า "เขาได้สอนผู้อื่นว่าโลกธรรมชาติวิเศษและน่าตื่นเต้นแค่ไหน เขาเป็นนักสื่อสารโดยกำเนิด"[6]

ช่องโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวีของสหรัฐ แอนิมอลแพลนเน็ต ปิดท้ายเดอะคร็อกโคไดล์ฮันเตอร์ ตอนจบซีรีส์ด้วยเรื่อง Steve's Last Adventure สารคดีเรื่องสุดท้ายความยาว 3 ชั่วโมงโดยมีภาพการผจญภัยข้ามโลกของเออร์วินในสถานที่ต่าง ๆ เช่นเทือกเขาหิมาลัย, แม่น้ำแยงซี, บอร์เนียว และอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ เออร์วินได้ร่วมแสดงในสารคดีของแอนิมอลแพลนเน็ตเรื่องอื่น ๆ เช่น Croc Files,[7] เดอะคร็อกโคไดล์ฮันเตอร์ไดอารีส์[8] และ New Breed Vets[9] ในระหว่างการให้สัมภาษณ์รายการเดอะทูไนท์โชว์กับเจย์ เลโน ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 เออร์วินประกาศว่าช่องรายการดิสคัฟเวอรีคิดส์จะพัฒนารายการสำหรับลูกสาวของเขาบินดี ซู เออร์วิน[10] – ซึ่งรายการเกิดขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของเขาในชื่อชุด บินดีเดอะจังเกิลเกิร์ล[11]

การเสียชีวิต แก้

วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2549 เออร์วินเสียชีวิตด้วยอายุได้ในวัยเพียง 44 ปีขณะดำน้ำที่แนวปะการังแบ็ตรีฟ (ส่วนหนึ่งของเกรตแบร์ริเออร์รีฟ) ใกล้ ๆ พอร์ตดักลาส รัฐควีนส์แลนด์ เขากำลังถ่ายทำสารคดีชุด โอเชียนส์เดดลีเอสต์ (Ocean's Deadliest) และในช่วงที่อากาศไม่ดีนัก เขาตัดสินใจถ่ายทำในน้ำตื้นให้รายการโทรทัศน์ของบินดี ลูกสาว (รายการ บินดีเดอะจังเกิลเกิร์ล) เออร์วินเข้าใกล้ปลากระเบนธงขนาดลำตัวกว้าง 8 ฟุตในน้ำลึกระดับอกจากข้างหลังเพื่อถ่ายทำขณะที่มันกำลังว่ายน้ำออกไป จากข้อมูลของพยานเพียงคนเดียวกล่าวว่า ปลาดังกล่าวโจมตีเออร์วินราวกับปลาฉลาม โดยแทงร่างเออร์วินด้วยเงี่ยงหลายร้อยครั้ง ทีแรกเออร์วินเชื่อว่าปอดทะลุ แต่เงี่ยงปลาได้แทงหัวใจและทำให้เขาเลือดออกมาก[12][13] พฤติกรรมของปลากระเบนดังกล่าวเป็นการป้องกันตัวจากการถูกล้อม คนงานช่วยนำเออร์วินขึ้นเรือและผายปอด และรีบพาเขาขึ้นฝั่ง แต่หน่วยแพทย์กล่าวว่าเขาเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ[14][15][16]

การเสียชีวิตของเออร์วินเชื่อกันว่าเป็นการตายที่เกิดจากปลากระเบนธงเพียงครั้งเดียวที่จับภาพวิดีโอได้[17] ตำรวจรัฐควีนส์แลนด์ได้ดูสำเนาของวิดีโอ แต่ในที่สุดมีรายงานว่า สำเนาทั้งหมดถูกทำลายตามคำขอของครอบครัวเออร์วิน[18][19][20][21][22] งานสารคดีรายการโอเชียนส์เดดลีเอสต์ถูกถ่ายทำจนเสร็จ ได้ออกอากาศในสหรัฐในช่องดิสคัฟเวอรี แชนแนล ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550 สารคดีดังกล่าวถ่ายทำเสร็จด้วยฉากที่ถ่ายทำเพิ่มในหลายสัปดาห์หลังเกิดเหตุ แต่ไม่ได้กล่าวถึงการเสียชีวิตของเออร์วินแต่อย่างใด[23][24]

อ้างอิง แก้

  1. "Croc Hunter becomes a professor". ABC News. 8 November 2007. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012. The Crocodile Hunter had been named an adjunct professor at the University of Queensland shortly before his death.... 'This presentation now gives us the opportunity to publicly recognise his remarkable contribution to research and conservation.'
  2. "Crocodile Hunter Steve Irwin's Son Feeds Alligators". ABC News (American Broadcasting Company). 11 April 2012. The 8-year-old son of famed wildlife expert Steve Irwin was seen feeding baby alligators at the Irwin family's Australia zoo, following in the footsteps of his crocodile hunter dad.
  3. "The Irwin Family" เก็บถาวร 17 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Australia Zoo web site. Retrieved 14 January 2011.
  4. Platt, R: "A Natural Presenter at One With Nature" The Guardian. 5 September 2006
  5. Lee, Sandra (18 มิถุนายน 2000). "Wild Thing". USA Weekend Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2011.
  6. "Terri Irwin honours 'inspirational' Attenborough". Sydney Morning Herald. 2 November 2006.
  7. "Croc Files", Discovery Kids web site. Retrieved 15 January 2011. เก็บถาวร 4 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. "The Crocodile Hunter Diaries – About the Show" เก็บถาวร 8 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Animal Planet web site. Retrieved 15 January 2011.
  9. "New Breed Vets – Synopsis" เก็บถาวร 14 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Animal Planet web site, 10 December 2006.
  10. The Tonight Show with Jay Leno, 13 January 2006.
  11. "Despite the facts, Steve Irwin is still alive for Bindi's fans" เก็บถาวร 4 พฤศจิกายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Age, 14 July 2008.
  12. Selby, Jenn (10 March 2014). "Steve Irwin's final words: Cameraman present at death opens up about deadly stingray attack for the first time". The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-10. สืบค้นเมื่อ 10 March 2014.
  13. Bond, Nick "Cameraman Justin Lyons reveals Steve Irwin's final words: 'I'm dying'" เก็บถาวร 2014-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Advertiser, South Australia (10 March 2014). Retrieved 10 March 2014.
  14. "Croc Hunter Irwin killed by stingray". The Age. Australia. 4 September 2006. สืบค้นเมื่อ 4 September 2006.
  15. "Farewell to a larrikin adventurer, killed in his prime". The Sydney Morning Herald. 5 September 2006. สืบค้นเมื่อ 4 February 2011.
  16. Rory Callinan (4 September 2006). "Death of a Crocodile Hunter". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-13. สืบค้นเมื่อ 4 September 2006.
  17. "Stingray Deaths Rare and Agonizing". CNN. Reuters. 4 September 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-21. สืบค้นเมื่อ 4 September 2006.
  18. Gerard, Ian; Koch, Tony (4 September 2006). "Steve Irwin's freak death filmed". The Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2006. สืบค้นเมื่อ 2019-02-25.
  19. "Irwin's dad: 'I lost my best mate'". CNN. 6 September 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-23. สืบค้นเมื่อ 7 September 2006.
  20. "Widow: 'Croc Hunter' thought he'd die young". CNN. 27 September 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-28. สืบค้นเมื่อ 30 September 2006.
  21. "Steve Irwin death film given to wife". Yahoo! News. 3 January 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-15. สืบค้นเมื่อ 4 January 2007.
  22. "Video of 'Croc Hunter's' death destroyed". United Press International. 11 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2007. สืบค้นเมื่อ 12 January 2007.
  23. "Crocodile Hunter's final stunt with sea snake". The Daily Telegraph. UK. 30 December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-03. สืบค้นเมื่อ 15 April 2007.
  24. "Crocodile Hunter's Last Show Completed". International Business Times. 6 January 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-07. สืบค้นเมื่อ 6 January 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

 
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: สตีฟ เออร์วิน