กระแสอนุรักษ์ (อังกฤษ: conservation movement) หรือรู้จักกันในชื่อ การอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นขบวนการทางสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้อง คุ้มครอง รักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ อันรวมไปถึงสภาพทางธรณีวิทยา สภาพทางอุทกวิทยา สภาพทางบรรยากาศศาสตร์ สัตว์ พืช เห็ดรา สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ถิ่นที่อยู่ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำเนินอยู่ของสัตว์ พืช เห็ดรา สิ่งมีชีวิตอื่น ๆเหล่านั้น เพื่อให้ดำรงอยู่ได้ในอนาคต

กระแสอนุรักษ์ในยุคเริ่มแรกประกอบด้วยการประมง การจัดการสัตว์ป่า การทำป่าไม้อย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ดินและน้ำ ต่อมาได้ขยายขอบเขตออกไป ตั้งแต่ใช้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนและการรักษาพื้นที่ไร้มนุษย์อาศัย ไปจนถึงการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

กระแสอนุรักษ์อาจมีความหมายเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่หลายคนแย้งว่า กระแสอนุรักษ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นั้นแตกต่างกันทั้งแนวคิดและวิธีปฏิบัติ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา กระแสอนุรักษ์แตกต่างอย่างชัดเจนจากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่กระแสอนุรักษ์นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติสำหรับการใช้ประโยชน์จากมนุษย์อย่างยั่งยืน[1] ส่วนในพื้นที่อื่นของโลก กระแสอนุรักษ์นั้นมีความความหมายที่กว้างกว่าโดยรวมการจัดสรรพื้นที่ธรรมชาติและการคุ้มครองสัตว์ป่า เพื่อคุณค่าอื่นๆของมันด้วยนอกเหนือจากประโยชน์สำหรับมนุษย์

อ้างอิง แก้

  1. Gifford, John C. (1945). Living by the Land. Coral Gables, Florida: Glade House. p. 8. ASIN B0006EUXGQ.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้