ชะตากรรมที่โลกไม่ลืม

ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 1993 กำกับโดย สตีเวน สปีลเบิร์ก
(เปลี่ยนทางจาก Schindler's List)

ชะตากรรมที่โลกไม่ลืม (อังกฤษ: Schindler's List) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ ดราม่า อิงประวัติศาสตร์ ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 1993 กำกับโดย สตีเว่น สปีลเบิร์ก ดัดแปลงผลงานของ ทอมัส คนีลลีย์ นิยายเรื่อง ชินด์เลอร์ อาร์ก ในปี ค.ศ. 1982 ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องของ อ็อสคาร์ ชินด์เลอร์ นักอุตสาหกรรมชาวเยอรมันที่ช่วยชีวิตผู้ลี้ภัยชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวกว่าพันคนจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยจ้างพวกเขาให้ทำงานในโรงงานของเขาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นำแสดงโดยเลียม นีสัน รับบทชินด์เลอร์ ราล์ฟ ไฟนส์ รับบทเจ้าหน้าที่เอสเอส อามอน เกิท และเบ็น คิงส์ลีย์ รับบทนักบัญชีชาวยิวของชินด์เลอร์ อิทซัค สเติร์น

ชะตากรรมที่โลกไม่ลืม
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับสตีเว่น สปีลเบิร์ก
บทภาพยนตร์สตีเว่น ไซเลียน
สร้างจากนิยาย ชินด์เลอร์ อาร์ก
โดย ทอมัส คนีลลีย์
อำนวยการสร้างสตีเว่น สปีลเบิร์ก
เจอรัลด์ อาร์. โมเลน
บรานโก้ ลัสติก
นักแสดงนำเลียม นีสัน
เบน คิงสลีย์
เรล์ฟ ไฟนส์
แคโรไลน์ กูดอลล์
โจนาธาน ซากัลล์
เอ็มเบธ เดวิดซ์
กำกับภาพจานุสซ์ คามินสกี้
ตัดต่อไมเคิล คาห์น
ดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
อัมบลิน เอนเตอร์เทนเม้นท์
ผู้จัดจำหน่ายยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์
วันฉาย
  • 30 กันยายน ค.ศ. 1993 (1993-09-30) (วอชิงตัน ดี.ซี.)

  • 15 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (1993-12-15) (สหรัฐ)

  • 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 (1994-02-10) (ออสเตรเลีย)

  • 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 (1994-02-18) (สหราชอาณาจักร)
ความยาว197 นาที
ประเทศสหรัฐ
สหราชอาณาจักร
ออสเตรเลีย
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน321.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

เนื้อเรื่อง

แก้

ในกรากุฟในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันได้บีบบังคับชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวท้องถิ่นให้เข้าสู่กรากุฟเกตโตที่แออัดแน่นเกินไป อ็อสคาร์ ชินด์เลอร์ เป็นบุคคลที่มีเชื้อสายเยอรมันจากเชโกสโลวาเกีย ได้เดินทางเข้ามาถึงในเมืองนี้ด้วยความหวังที่จะทำให้เกิดโชคลาภ สมาชิกพรรคนาซี ชินด์เลอร์ได้ติดสินบนกับแวร์มัคท์ (กองทัพเยอรมัน) และเจ้าหน้าที่หน่วยเอ็สเอ็สและได้รับกรรมสิทธิ์ในโรงงานเพื่อผลิตภาชนะเครื่องเคลือบ เพื่อช่วยให้เขาดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ชินด์เลอร์จึงขอความช่วยเหลือจาก อิทแช็ก สเติร์น เจ้าหน้าที่ชาวยิวท้องถิ่นที่ติดต่อกับตลาดมืดและชุมชนธุรกิจชาวยิว สเติร์นได้ช่วยชินด์เลอร์ในการจัดการด้านการเงินสำหรับโรงงาน ชินด์เลอร์ได้ดำรงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับนาซีและสนุกเพลิดเพลินกับความมั่นคั่งและสถานะที่ได้เป็นคือ "Herr Direktor" สเติร์นได้ทำการจัดการด้านบริหาร ชินด์เลอร์ได้ว่าจ้างคนงานชาวยิวเพราะพวกเขามีราคาถูก ในขณะที่สเติร์นมั่นใจว่าคนจำนวนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความพยายามในการทำสงครามของเยอรมัน ซึ่งจะช่วยให้พวกเขารอดพ้นจากการถูกส่งไปยังค่ายกักกันหรือสังหาร

เอ็สเอ็ส-อุนเทอร์ชตวร์มฟือเรอร์ (ร้อยตรี) อาม็อน เกิท ได้เดินทางมาถึงกรากุฟเพื่อคุมงานการก่อสร้างค่ายกักกันปวาซอฟ เมื่อค่ายสร้างเสร็จสมบูรณ์ เขาสั่งให้ทำการล้มล้างเขตเกตโต มีหลายคนถูกยิงและถูกสังหารในกระบวนการล้มล้างเกตโต ชินด์เลอร์ได้รู้เห็นเป็นพยานการสังหารหมู่และได้รับความรู้สึกสะเทือนใจอย่างมากมาย เขาสังเกตเห็นเด็กหญิงคนหนึ่งในชุดเสื้อคลุมสีแดง ในขณะที่เธอได้ซ่อนตัวจากพวกนาซี และต่อมาก็พบเห็นร่างของเธออยู่ท่ามกลางศพที่ถูกบรรทุกในรถเข็นออกมา  ชินด์เลอร์ได้ระมัดระวังในการรักษามิตรภาพของเขากับเกิท และผ่านทางการติดสินบนและของขวัญอันฟุ่มเฟือย ยังคงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยเอ็สเอ็ส เกิทได้กระทำทารุณอย่างโหดร้ายต่อ เฮเลน เฮิร์ช สาวใช้ชาวยิวของเขา และยิงปืนใส่ผู้คนจากระเบียงบ้านของเขาเองโดยทำการสุ่มและนักโทษก็หวาดกลัวสำหรับชีวิตของพวกเขาเอง เมื่อเวลาผ่านไป จุดมุ่งหมายของชินด์เลอร์ได้เปลี่ยนจากการหาเงินมาเป็นความพยายามรักษาชีวิตผู้คนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อปกป้องคนงานของเขาให้ดีขึ้นไปอีก ชินด์เลอร์ได้ติดสินบนกับเกิทเพื่อขออนุญาตให้เขาสร้างค่ายขนาดย่อย

ในขณะที่เยอรมันเริ่มที่จะแพ้สงคราม เกิทได้รับคำสั่งให้ส่งชาวยิวที่เหลือในค่ายปวาซอฟไปยังค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ชินด์เลอร์ได้ขออนุญาตจากเกิทให้เขาทำการย้ายคนงานของเขาไปยังโรงงานผลิตอาวุธใหม่ที่เขาวางเผนจะสร้างขึ้นในบรึนน์ลิตซ์ใกล้กับเมือง Zwittau ที่เป็นบ้านเกิดของเขา เกิทนั้นอนุญาต แต่เรียกร้องเงินสินบนจำนวนมาก ชินด์เลอร์และสเติร์นได้ร่วมกันทำ "รายชื่อของชินด์เลอร์" -รายชื่อของผู้คนประมาณ 850 คนที่จะถูกโยกย้ายไปยัง Brinnlitz และช่วยให้รอดพ้นจากการขนส่งโยกย้ายไปยังเอาชวิทซ์

รถไฟที่บรรทุกผู้หญิงและเด็กสาวได้ถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนาโดยไม่ได้ตั้งใจ ชินด์เลอร์ได้ติดสินบนกับ รูด็อล์ฟ เฮิส ผู้บัญชาการค่ายเอาช์วิทซ์พร้อมกับถุงบรรจุเพชรเพื่อลุ้นให้พวกเขาได้รับการปล่อยตัว ที่โรงงานแห่งใหม่ ชินด์เลอร์ได้ห้ามไม่ให้ทหารการ์ดเอ็สเอ็สเข้าไปในพื้นที่โรงงานของเขาและสนับสนุนให้ชาวยิวทำพิธีในวันสะบาโตได้ ในอีกเจ็ดเดือนต่อมา เขาได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการติดสินบนกับเจ้าหน้าที่นาซีและซื้อแต่กล่องใส่ปลอกกระสุนจากบริษัทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นแผนอุบายของชินด์เลอร์เอง โรงงานไม่ได้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์แต่อย่างใดเลยในช่วงเวลานี้ ซินเลอร์ได้หมดเงินในปี ค.ศ. 1945 เช่นเดียวกับที่เยอรมนีได้ยอมจำนน สงครามในยุโรปได้ยุติลงในที่สุด ในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคนาซีและผู้ได้รับผลประโยชน์จากสงคราม ชินด์เลอร์ต้องหลบหนีจากกองทัพแดงที่กำลังรุกเข้ามาเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุม พวกทหารการ์ดเอ็สเอ็สในโรงงานของชินด์เลอร์ได้รับคำสั่งให้ทำการสังหารคนงานชาวยิวให้หมด แต่ชินด์เลอร์ได้ห้ามปรามพวกเขาไม่ให้ทำเช่นนั้น เพื่อที่พวกเขาจะได้กลับไปหาครอบครัว[ของพวกเขาเอง]ในฐานะที่เป็นมนุษย์ แทนที่จะเป็นฆาตกร เขากล่าวคำอำลากับคนงานของเขาและเตรียมที่จะมุ่งหน้าไปยังทางด้านตะวันตก โดยหวังว่าจะยอมจำนนต่ออเมริกัน คนงานได้มอบคำแถลงพร้อมกับลงนามแก่ชินด์เลอร์เพื่อยืนยันบทบาทของเขาในการช่วยชีวิตชาวยิวและเสนอด้วยแหวนสลักด้วยคำพูดภาษาฮีบรูที่มีอักษรทัลมุด:"ใครก็ตามที่ช่วยชีวิตผู้คนหนึ่งคนเท่ากับช่วยชีวิตคนบนโลกทั้งใบ" ชินด์เลอร์รู้สึกประทับใจและละอายใจเพราะเขารู้สึกว่าเขาควรทำจะทำได้มากกว่านี้ เขาหยุดร้องไห้สะอึกสะอื้นและรู้สึกสบายใจขึ้นโดยคนงาน หลังจากที่เขาและภรรยาจากไปแล้ว เหล่าชินด์เลอร์ยูเดินต่างค้างคืนที่บริเวณโรงงานและตื่นขึ้นในเช้าวันรุ่งขึ้น โดยเจ้าหน้าที่โซเวียตได้ประกาศว่าพวกเขาได้รับอิสรภาพ ชาวยิวได้ออกจากโรงงานแล้วเดินไปที่เมืองใกล้เคียง

บทส่งท้ายได้เผยให้เห็นว่า ชินด์เลอร์ได้แยกทางกับภรรยาในช่วงหลังสงครามเช่นเดียวกับความพยายามของเขาที่ต้องล้มเหลวหลายครั้งที่จะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ในขณะที่อาม็อน เกิทถูกจับกุม ขึ้นศาล และถูกประหารชีวิตด้วยข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซินด์เลอร์ได้รับเกียรติจาก Yad Vashem สำหรับความพยายามของเขาที่จะช่วยคนงานของเขาให้รอดพ้นจากความตาย ในปัจจุบัน ผู้รอดชีวิตจำนวนมากจากชินด์เลอร์ยูเดิน และนักแสดงได้แวะเยี่ยมหลุมศพของชินด์เลอร์ และวางศิลาบนป้าย สัญลักษณ์ชาวยิวแบบดั้งเดิมของการเคารพในเยี่ยมชมหลุมศพ ผู้มาเยือนคนสุดท้ายคือ เลียม นีสัน ได้วางกุหลาบสองดอกไว้บนเครื่องหมาย [1]

นักแสดงหลัก

แก้

รางวัล

แก้

อ้างอิง

แก้