ซัมซุง

(เปลี่ยนทางจาก Samsung)

ซัมซุง (อังกฤษ: Samsung ; เกาหลี: 삼성, ฮันจา: 三星, MC: Samseong, MR: Samsŏng, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้[4] ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้

ซัมซุง
Samsung Group
삼성
ประเภทบริษัทเอกชน
อุตสาหกรรมบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกัน
ก่อตั้ง1 มีนาคม พ.ศ. 2481 (86 ปี) ที่แทกู เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
ผู้ก่อตั้งอี บย็อง-ช็อล
สำนักงานใหญ่อาคารซัมซุงอิเลคโทรนิคส์ ชั้น 40, 11 Seocho-daero 74-gil, เขต Seocho โซล ประเทศเกาหลีใต้
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักลี แจ-ยง
(ประธาน)
ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย, ยานยนต์, เคมีภัณฑ์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, อุปกรณ์ทางการแพทย์, เซมิคอนดักเตอร์, โซลิดสเตตไดรฟ์, DRAM, เรือ, อุปกรณ์โทรคมนาคม, เครื่องใช้ภายในบ้าน[1]
บริการการโฆษณา, การก่อสร้าง, ความบันเทิง, บริการทางการเงิน, การบริการ, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, บริการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ, การค้าปลีก, การต่อเรือ
รายได้เพิ่มขึ้น US$ 208.5 พันล้าน (ค.ศ. 2018)[2]
รายได้จากการดำเนินงาน
6,700,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2563) Edit this on Wikidata
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น US$ 37.1 พันล้าน (ค.ศ. 2017)[3]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$ 265 พันล้าน (ค.ศ. 2017)[3]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น US$ 188.9 พันล้าน (ค.ศ. 2017)[3]
พนักงาน
287,439 คน (ธันวาคม 2019)[3]
บริษัทในเครือSamsung Electronics
Samsung Life Insurance
Samsung Fire & Marine Insurance
Samsung Heavy Industries
Samsung C&T
Samsung SDS
Samsung Techwin ฯลฯ
เว็บไซต์Samsung.com
ซัมซุง
ฮันกึล
삼성
ฮันจา
三星
อาร์อาร์Samseong
เอ็มอาร์Samsŏng

ซัมซุงได้ก่อตั้งโดยอี บย็อง-ช็อล ในปี พ.ศ. 2481 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร และสิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง อี บย็อง-ช็อล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน

ปัจจุบันธุรกิจของซัมซุง แบ่งออกเป็น 4 หน่วยใหญ่ ๆ คือ เครื่องใช้ในบ้าน, เครื่องใช้สำนักงาน, โทรศัพท์มือถือ และส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ดิจิตอลที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกในศตวรรษที่ 21 มีฐานการผลิต 25 แห่ง, บริษัทสาขาตลาด 36 แห่ง และสำนักงานย่อย 23 แห่ง ที่ประจำอยู่ใน 46 ประเทศทั่วโลก

รายได้หลักในปี 2018

แก้

ล่าสุดนี้บริษัท Electronic ยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้อย่าง Samsung ก็ได้ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่สามของปี2018 ออกมา โดยข้อมูลเผยว่ารอบนี้ได้รับกำไร (Operating Profit) มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของแบรนด์เลยทีเดียว! รอบนี้ทำกำไรไปได้ถึงกว่าหนึ่งหมื่นห้าพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปีนี้ทำได้มากกว่าถึง 20% ตรงกันข้ามในช่วงไตรมาสที่สองของปี2018 Samsung กลับเสียส่วนแบ่งการตลาดของ Smartphone ไปมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกๆแบรนด์ ส่วนที่ทำกำไรให้กับ Samsung นั้นก็จะเป็นส่วนที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก หรือบางคนยังไม่รู้เลยว่า Samsung ทำด้วยซ้ำ อย่างเช่น Memory และตอนนี้ Samsung ก็ได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ผลิต Semi-Conductor ที่ใหญ่ที่สุดของโลก (นับจากรายได้) แซง Intel ไปเรียบร้อย แค่ในช่วงไตรมาสที่สองของปี2018 รายได้ของส่วน Memory Devision นั้นได้เติบโตไปถึง 33% ในขณะที่ฝั่ง Smartphone นั้นลดลง 22%

ผลิตภัณฑ์

แก้

โทรศัพท์มือถือ

แก้

ซัมซุงนับว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตโทรศัพท์มือถือทั้งรุ่นปกติและแบบโทรศัพท์อัจฉริยะ ออกมาจำหน่ายหลากหลายรุ่น โดยมีส่วนแบ่งการตลาดระดับโลกอยู่ในอันดับต้น ๆ และมีรุ่น Flagship ที่เปิดตัวทุกปี ภายใต้ชื่อ Galaxy Note, Galaxy J, Galaxy A, Galaxy M, Galaxy Z Flip, Galaxy Z Fold และ Galaxy S โดยในรุ่น Note จะมีปากกาที่เรียกว่า S Pen เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียน วาด บนหน้าจอ ในขณะรุ่น S จะเน้นการผลิตโดยใช้สเปคเครื่องที่สูงกว่ารุ่นอื่น ๆ และรุ่น Z Flip กับ Z Fold เป็นสมาร์ทโฟนจอพับ ทั้งหมดที่ผลิตออกมา ทั้งรุ่น Note, S และรุ่นอื่น ๆ นับเป็นคู่แข่งสำคัญของ iPhone ที่ผลิตโดย Apple Inc.

ทีวี

แก้

ในปี พ.ศ. 2513 Samsung แยกตัวออกจากการค้าส่งออกหลักและก่อตั้ง Samsung Electronics Group ในปีเดียวกันนั้น บริษัทได้พัฒนาโทรทัศน์เครื่องแรก ซึ่งเป็นรุ่นขาวดำที่รู้จักกันในชื่อ P-3202 ยอดขายพุ่งกระฉูดเนื่องจากผู้บริโภคชาวเกาหลีเปิดรับเทคโนโลยีใหม่นี้ และในปี 1976 บริษัทได้ผลิตผลงานขาวดำมากกว่าหนึ่งล้านชุดเพื่อจำหน่ายในเกาหลี

Smartwatch

แก้

ซัมซุงได้ออก Smartwatch ที่ใช้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาเองรุ่นแรกในชื่อ Samsung Gear และหลังจากนั้นได้ทยอยออกรุ่นต่าง ๆ ตามมา เช่น Gear 2, Gear 2 Neo ที่คล้าย Gear 2 แต่ตัดฟังก์ชันกล้องออกไป, Gear Fit ที่เน้นสำหรับใส่ออกกำลังกาย Gear S ที่มีฟังก์ชันการใช้งานโทรศัพท์ได้ในตัว เมื่อปี 2558 ได้ออกรุ่น Gear S2 และ Gear S2 Classic ที่ได้ปรับการใช้งานโดยสามารถหมุนหน้าจอเป็นวงกลมได้ ทำให้การใช้งานคล่องตัวมากกว่าเดิมและได้รับคำชมจากการสร้างวิธีการใช้งานที่แตกต่างจากยี่ห้ออื่นและสามารถทำให้ประสบการณ์การใช้งาน Smartwatch ดีขึ้นกว่าเดิมหลังจากนั้น Samsung เปิดตัว Galaxy Watch ในปี 2560 ล่าสุด Galaxy watch 4 ในปี 2564 เปลี่ยน OS เป็น google watch os

โลโก้

แก้

คำว่า 'ซัมซุง' ในภาษาเกาหลีมีความหมายว่า "สามดาว"

 
The Samsung Byeolpyo noodles , เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 จนถึง พ.ศ. 2501.
The Samsung Byeolpyo noodles , เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 จนถึง พ.ศ. 2501. 
 
The Samsung Group logo, เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนถึง พ.ศ. 2522
The Samsung Group logo, เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนถึง พ.ศ. 2522 
 
The Samsung Group logo (“three stars”), เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนถึง พ.ศ. 2535
The Samsung Group logo (“three stars”), เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนถึง พ.ศ. 2535 
 
The Samsung Electronics logo, เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนถึง พ.ศ. 2535
The Samsung Electronics logo, เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนถึง พ.ศ. 2535 
 
โลโก้ปัจจุบันของซัมซุง, เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 จนถึง พ.ศ. 2557.[5]
โลโก้ปัจจุบันของซัมซุง, เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 จนถึง พ.ศ. 2557.[5] 
 
โลโก้ที่มีแต่ข้อความ, โลโก้บนโทรศัพท์มือถือ เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน.
โลโก้ที่มีแต่ข้อความ, โลโก้บนโทรศัพท์มือถือ เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน. 

อ้างอิง

แก้
  1. "Home and Kitchen Appliance showcase". Samsung. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2017.
  2. "Samsung revenue". Craft. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Samsung Financial Highlights". Samsung Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2019.
  4. "삼성계열사 전자 – 삼성그룹 홈페이지". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กันยายน 2016.
  5. Samsung 1993. Corporatebrandmatrix.com (2007-05-19). Retrieved on 2013-03-19.


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้