ซามาร์กันต์

(เปลี่ยนทางจาก Samarkand)

ซามาร์กันต์ หรือ ซามาร์กันด์ (อุซเบก: Samarqand/Самарқанд, ออกเสียง: [samarˈqant]; ทาจิก: Самарқанд; เปอร์เซีย: سمرقند) เป็นนครทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอุซเบกิสถานและเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการอยู่อาศัยต่อเนื่องเก่าแก่ที่สุดในเอเชียกลาง ปรากฏหลักฐานว่ามีการตั้งรกรากของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลาย ซามาร์กันต์เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในฐานะเมืองบนเส้นทางสายไหมเชื่อมต่อจีนกับเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งในเวลานั้นซามาร์กันต์เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุด[2] ในเอเชียกลาง[3]

ซามาร์กันต์
นคร
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
เรกิสตอน, ชอฮือซึนดา, มัสยิดฮัซราตือฆือซือร์, เกอรืออามีร์, มัสยิดบีบี-ฆอนึม
ตราอย่างเป็นทางการของซามาร์กันต์
ตรา
ซามาร์กันต์ตั้งอยู่ในอุซเบกิสถาน
ซามาร์กันต์
ซามาร์กันต์
ซามาร์กันต์ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง
ซามาร์กันต์
ซามาร์กันต์
ซามาร์กันต์ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
ซามาร์กันต์
ซามาร์กันต์
พิกัด: 39°42′N 66°59′E / 39.700°N 66.983°E / 39.700; 66.983
ประเทศ อุซเบกิสถาน
แคว้นซามาร์กันต์
ตั้งรกราก800 ปี ก่อน ค.ศ.
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาล
 • องค์กรนายกเทศมนตรี
พื้นที่
 • นคร120 ตร.กม. (50 ตร.ไมล์)
ความสูง705 เมตร (2,313 ฟุต)
ประชากร
 (1 มกราคม 2019)
 • นคร513,572[1] คน
 • รวมปริมณฑล950,000 คน
เขตเวลาUTC+5
รหัสไปรษณีย์140100
เว็บไซต์samarkand.uz
ชื่อทางการซามาร์กันต์ ชุมทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (i), (ii), (iv)
อ้างอิง603
ขึ้นทะเบียน2001 (สมัยที่ 25)
พื้นที่1,123 ha
พื้นที่กันชน1,369 ha

ในสมัยจักรวรรดิอะคีเมนิดของเปอร์เซีย ซามาร์กันต์กลายเป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าราชการซอกเดีย และใน 329 ปีก่อน ค.ศ. เมืองถูกอะเล็กซานเดอร์มหาราชพิชิตได้ ในเวลานั้นเมืองมีชื่อว่ามาร์กันดา (Markanda) ซึ่งเรียกเป็นภาษากรีกโบราณว่ามารากันดา (Μαράκανδα)[4] จากนั้นเมืองถูกปกครองโดยชาวอิหร่าน ชาวเติร์ก และชาวมองโกลหลังการพิชิตของเจงกีส ข่าน ในปี 1220 ในปัจจุบัน ซามาร์กันต์เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอุซเบกิสถาน[5]

ในปี 2001 ยูเนสโกขึ้นทะเบียนนครซามาร์กันต์เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในชื่อ "ซามาร์กันต์ ชุมทางวัฒนธรรม"

ในปัจจุบัน เมืองแบ่งออกเป็นสองส่วนคือเมืองเก่าและเมืองใหม่ซึ่งได้รับการพัฒนาในช่วงการปกครองของจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียต เมืองเก่าเต็มไปด้วยโบราณสถานและอนุสรณ์สถานเก่าแก่ ส่วนเมืองใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองและเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษา[6]

อ้างอิง แก้

  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-29. สืบค้นเมื่อ 2020-04-26.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. Varadarajan, Tunku (24 October 2009). "Metropolitan Glory". Wall Street Journal.
  3. Guidebook of history of Samarkand", ISBN 978-9943-01-139-7
  4. "History of Samarkand". Sezamtravel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2013. สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.
  5. "Uzbekistan: Provinces, Major Cities & Towns – Statistics & Maps on City Population". Citypopulation.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-08-23.
  6. "History of Samarkand". www.advantour.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-16. สืบค้นเมื่อ 2018-05-15.