คิวต์
คิวต์ (Qt อ่านเหมือน cute[2]) เป็นวิจิททูลคิทสำหรับพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) โปรแกรมในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ที่ใช้คิวต์ เช่น KDE, โอเปรา, กูเกิลเอิร์ท, สไกป์, โฟโตชอป เอเลเมนส์ เป็นต้น เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2538[1]
นักพัฒนา | Qt Company |
---|---|
วันที่เปิดตัว | 20 พฤษภาคม 1995[1] |
รุ่นเสถียร | 6.7.1
/ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 |
ที่เก็บข้อมูล | |
ระบบปฏิบัติการ | หลายระบบปฏิบัติการ |
ประเภท | วิจิททูลคิท |
สัญญาอนุญาต | GPL 2/3 Q Public License ซอฟต์แวร์ปิด |
เว็บไซต์ | qt.io |
คิวต์ พัฒนาโดยใช้ภาษา C++ และใช้ส่วนขยายอื่นนอกเหนือจาก C++ มาตรฐาน ที่ต้องใช้ preprocessor ประมวลเพื่อสร้างคำสั่ง C++ ก่อนการคอมไพล์ มี binding สำหรับใช้ในภาษา เอดา, ซีชาร์ป, จาวา, ปาสกาล, เพิร์ล, พีเอชพี, รูบี้ และ ไพทอน ขีดความสามารถอื่นนอกเหนือจากส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เช่นการติดต่อกับฐานข้อมูลSQL การอ่านข้อมูล XML การบริหารทรีด (thread) ด้านเครือข่าย และการจัดการไฟล์
ปัจจุบัน Qt ถูก Nokia เทคโอเวอร์ และ ออกผลิตภัณฑ์ ที่เน้นเขียนแอพพลิเคชั้นให้สามารถ รันข้ามแพรตฟอร์มหลากหลายและสามารถทำงานบน โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เคลื่อนที่(Mobile Device)ต่างได้ เช่น อุปกรณ์นำทางบนรถยนต์, แทปเลสพีซี(Tables PC) โดยกาสนับสนุนของ Intel
Qt สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ Maemo ,Meego ,Embleded Linux ,Ubantu และ Android
รุ่นต่างๆ ของคิวต์
แก้Trolltech ออกคิวต์บทสถาปัตยกรรมต่อไปนี้:
- Qt/X11 — บน ระบบเอกซ์วินโดว์ (ยูนิกซ์ / ลินุกซ์)
- Qt/Mac — บน โอเอสเทน ของแอปเปิล
- Qt/Windows — บน ไมโครซอฟท์วินโดวส์
- Qt/Embedded — สำหรับระบบฝังตัว (พีดีเอ, โทรศัพท์อัจฉริยะ, ...)
- Qt/WinCE — บน Windows CE[3]
- Qt Jambi — Qt สำหรับ จาวา
คิวต์ ยังมีอีกรุ่นสำหรับระบบฝังตัวที่ใช้ชื่อว่า Qtopia
ในแต่ละสถาปัตยกรรม มีการออก คิวต์ แยกกันสี่รุ่น ได้แก่:
- Qt Console — สำหรับการพัฒนาที่ไม่ใช้ GUI development.
- Qt Desktop Light — สำหรับระบบ GUI พื้นฐาน โดยละส่วนของเครือข่ายและฐานข้อมูลออกไป
- Qt Desktop — รุ่นเต็ม
- Qt Open Source Edition — รุ่นเต็มแต่มีข้อยกเว้น[4] สำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เสรีหรือโอเพนซอร์ส
คิวต์ มีสองสัญญาอนุญาตให้เลือกใช้ คือ GPL v2 หรือ v3 พร้อมทั้งข้อยกเว้น[5] และสัญญาอนุญาตเพื่อการค้า สำหรับแบบเพื่อการค้านั้น ผู้พัฒนาสามารถเผยแพร่โปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาด้วยคิวต์ โดยสัญญาอนุญาตใดก็ได้ รวมไปถึงสัญญาอนุญาตที่เป็นแบบซอฟต์แวร์เสรี หรือ โอเพนซอร์สแบบต่างๆ
คิวต์ต่างจากโครงการโอเพนซอร์สทั่วไปตรงที่ คิวต์ไม่ใช้สัญญาอนุญาแบบ GNU Lesser General Public License และไม่มีข้อยกเว้นการเชื่อมโยงโปรแกรม (link) เข้ากับโปรแกรมอื่น
ทุกรุ่นรองรับคอมไพเลอร์ต่างๆ รวมถึงคอมไพเลอร์ภาษาซีพลัสพลัสใน GCC และใน ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อoreilly-qt
- ↑ Interview: Trolltech's Eirik Eng and Matthias Ettrich
- ↑ "Qt for Windows CE Technology Preview Download — Trolltech". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-03-21.
- ↑ The ActiveQt คลาสสำหรับ ActiveX บนวินโดวส์ไม่รวมอยู่ในคิวต์รุ่น Open Source Edition
- ↑ "Trolltech GPL Exception version 1.0 — Trolltech". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-23. สืบค้นเมื่อ 2008-03-21.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์หลักของคิวต์ เก็บถาวร 2008-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน