ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

(เปลี่ยนทางจาก Postpartum depression)

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (อังกฤษ: postpartum depression), ภาวะซึมเศร้าหลังให้กำเนิด (อังกฤษ: postnatal depression) หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด เป็นโรคทางอารมณ์อย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับการคลอดบุตร ซึ่งอาจพบได้ทั้งในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง[1][3] อาการสำคัญเช่น มีอารมณ์เศร้าอย่างมาก รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง วิตกกังวล ร้องไห้บ่อย หงุดหงิด การนอนผิดปกติ (เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากผิดปกติ) การกินผิดปกติ (เช่น กินไม่ลง หรือกินไม่หยุด) เป็นต้น[1] ส่วนใหญ่มักพบที่เวลา 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน หลังคลอด[1] ภาวะนี้อาจส่งผลเสียต่อทารกได้[2]

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ชื่ออื่นภาวะซึมเศร้าหลังให้กำเนิด, โรคซึมเศร้าหลังคลอด
Postpartum Depression Venus, a representation of the loss and emptiness felt after childbirth that makes some women feel as if they are useless.
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
อาการมีอารมณ์เศร้าอย่างรุนแรง, อ่อนเพลีย, วิตกกังวล, การกินและการนอนผิดปกติ, ร้องไห้บ่อย, หงุดงิด[1]
การตั้งต้น1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน หลังคลอด[1]
สาเหตุไม่ชัดเจน[1]
ปัจจัยเสี่ยงเคยเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน, โรคอารมณ์สองขั้ว, ประวัติครอบครัวมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, ความเครียดทางจิตใจ, ภาวะแทรกซ้อนของการคลอด, การขาดคนช่วยเหลือ, การใช้ยาเสพติด[1]
วิธีวินิจฉัยวินิจฉัยจากอาการ[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันBaby blues[1]
การรักษาCounselling, medications[2]
ความชุก~15% of births[1]

สาเหตุที่แน่ชัดของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นผลของปัจจัยหลายด้านทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ[1] เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดบุตร การอดนอน เป็นต้น[1] ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้ได้แก่ การเคยเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรคนก่อน โรคอารมณ์สองขั้ว ประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว ความเครียดทางจิตใจ การมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด การขาดคนช่วยเหลือดูแล หรือการใช้สารเสพติด[1] การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการ[2] แม้สตรีหลังคลอดส่วนใหญ่จะมีช่วงเวลาของความเศร้าและความกังวลหลังคลอด แต่หากอาการเหล่านี้ยังคงเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์หรือเป็นรุนแรง จำเป็นจะต้องสงสัยว่าอาจมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดร่วมด้วย[1]

ในผู้คลอดที่มีปัจจัยเสี่ยง การมีผู้ช่วยเหลือด้านจิตใจอาจเป็นปัจจัยบวกที่ช่วงป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้[4] การรักษาอาจใช้การทำจิตบำบัดร่วมกับการใช้ยา[2] รูปแบบการทำจิตบำบัดที่ได้ผลได้แก่ จิตบําบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (IPT), การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ จิตบำบัดแบบจิตพลวัต (psychodynamic therapy)[2] ปัจจุบันหลักฐานส่วนใหญ่สนับสนุนว่าการใช้ยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI จะได้ผล[2]

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดพบได้ในหญิงช่วงคลอดประมาณ 15%[1][2] และยังพบในฝ่ายชายได้ราว 1-26% แล้วแต่การศึกษา[3] โรคจิตหลังคลอดซึ่งเป็นภาวะทางจิตเวชที่พบได้ในช่วงคลอดเช่นกันแต่มีความรุนแรงกว่ามากจะพบได้ในหญิงหลังคลอด 0.1-0.2%[5] ซึ่งภาวะนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการฆ่าทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งพบได้ในอัตรา 8 ใน 100,000 การเกิดมีชีพในสหรัฐอเมริกา[6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 "Postpartum Depression Facts". NIMH (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2017. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Pearlstein, T; Howard, M; Salisbury, A; Zlotnick, C (April 2009). "Postpartum depression". American Journal of Obstetrics and Gynecology. 200 (4): 357–64. PMID 19318144.
  3. 3.0 3.1 Paulson, James F. (2010). "Focusing on depression in expectant and new fathers: prenatal and postpartum depression not limited to mothers". Psychiatry Times. 27 (2). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-05.
  4. "Perinatal Depression: Prevalence, Screening Accuracy, and Screening Outcomes". Agency for Health Care Research and Quality. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-11.
  5. Seyfried, LS; Marcus, SM (August 2003). "Postpartum mood disorders". International review of psychiatry (Abingdon, England). 15 (3): 231–42. PMID 15276962.
  6. Spinelli, MG (September 2004). "Maternal infanticide associated with mental illness: prevention and the promise of saved lives". The American Journal of Psychiatry. 161 (9): 1548–57. doi:10.1176/appi.ajp.161.9.1548. PMID 15337641.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก