ฟิลลิดา ลอยด์

(เปลี่ยนทางจาก Phyllida Lloyd)

ฟิลลิดา ลอยด์, CBE (อังกฤษ: Phyllida Lloyd; เกิด 17 มิถุนายน 1957) เป็นผู้กำกับละครเธียเตอร์และภาพยนตร์ชาวอังกฤษ รู้จักกันดีในงานการละครเวที และในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ Mamma Mia! (2008) และ The Iron Lady (2011)

Phyllida Lloyd
CBE
เกิด (1957-06-17) 17 มิถุนายน ค.ศ. 1957 (66 ปี)
บริสตอล ประเทศอังกฤษ
อาชีพ
  • ผู้กำกับภาพยนตร์
  • ผู้กำกับละครเวที
ปีปฏิบัติงาน1997–ปัจจุบัน
ผลงานเด่น

ชีวิตและอาชีพ แก้

ฟิลลิดา ลอยด์ เติบโตใน Nempnett Thrubwell[1] ซัมเมอร์เซต หลังจากเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ในปี 1979 (BA ภาษาอังกฤษ) เธอก็ใช้เวลาห้าปีทำงานอยู่ในฝ่ายละครโทรทัศน์ของ BBC  ในปี 1985 เธอได้รับการแต่งตั้งจากสภาศิลปะแห่งสหราชอาณาจักร พร้อมกับทุน เป็นผู้อำนวยฝึกอบรมการละครที่โรงละคร Wolsey ในอิปสวิช  ในปีต่อมาเธอก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการโรงละคร Everyman ในเชลต์นัม แล้วในปี 1989 เป็นรองผู้อำนวยการโรงละคร Old Vic บริสตอล ซึ่งเธอใช้เป็นที่ผลิตละคร The Comedy of Errors (บทประพันธ์ของ วิลเลียม เชกสเปียร์) และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี[2]

เธอย้ายไปที่โรงละคร Royal Exchange ในแมนเชสเตอร์ เพื่อกำกับละคร เดอะวินเทอส์เทล (บทประพันธ์ของ วิลเลียม เชกสเปียร์), The School for Scandal (โดย Richard Brinsley Sheridan), Medea, และที่สร้างชื่อเสียงให้เธอคือ การผลิตละคร Death and the King's Horseman ซึ่งเขียนบทโดย Wole Soyinka[3]  ในปี 1991 เธอสร้างชื่ออีกครั้งที่บริษัท รอยัลเชคสเปียร์  (RSC) ในการผลืตและกำกับละครจากบทละครที่มีคนไม่ค่อยรู้จัก คือ The Virtuoso โดย Thomas Shadwell, ถึงแม้เธอมีการผลิตละครอีกในปี 1992 และประสบผลสำเร็จกับการกำกับจากบทละครที่หาดูยาก คือ Artists and Admirers โดย Alexander Ostrovsky ณ ปี 2007 เธอก็ไม่เคยกลับไป RSC อีกเลย

ใน 1992 ละครที่เธอได้รับความสำเร็จเชิงพาณิชย์ครั้งแรก เป็นการผลิต ละครทฤษฎีหกช่วงคน ของ John Guare ที่ รอยัลคอร์ทเธียร์เตอร์ ลอนดอน แล้วย้ายไปโรงละครเวสต์เอนด์ ในปี 1994 ทำให้เธอได้ชื่อเสียงที่ Royal National Theatre กับการผลิตละคร Pericles ซึ่งนักวืจารณ์ก็มให้ความเห็นแตกกัน[4] อย่างไรก็ตามผู้ชมและนักวิจารณ์ก็ชื่นชอบและสรรเสริญ การผลิตละคร Hysteria โดย Terry Johnson ที่ Royal Court และละคร The Threepenny Opera บทประพันธ์โดยเบอร์โทลท์ เบรกท์ ประพันธ์เพลงโดยเคิร์ท เวล์ ที่โรงละคร Donmar Warehouse

งานของลอยด์กลายเป็นความสนใจของ Nicholas Paine แล้วไปทำที่ Opera North ในลีดส์ เธอมีชื่อเสีบงในฐานะผู้กำกับโอเปรา Paine ก็ได้พาเธอไปสู่สิ่งที่อย่างน้อยที่สุดคนในสหราชอาณาจักรต้องลุ่มหลง L'Etoile บทละครโดย Chabrier การผลิตนี้เป็นความสำเร็จอย่างสูง ลอยด์ได้รับความนิยม เป็นรางวัลในสายอาชีพ กลายเป็นผู้กำกับโอเปรายอดนิยมตั้งแต่นั้นมา การผลิตของเธอ รวมถึง La Boheme, Gloriana, Medea ของ Cherubini, Albert Herring และ Peter Grimes (สำหรับ Opera North); Dialogues of the Carmelites (สำหรับบริษัท โอเปาแห่งอังกฤษ และโอเปราแห่งเวลส์); Macbeth ของ Verdi (สำหรับ Bastille Opera และ Royal Opera House Covent Garden); รอบปฐมทัศน์โอเปราของ Poul Ruders The Handmaid's Tale (จากบทประพันํธ์ของมาร์กาเร็ต แอ็ตวูด); และละครชุด Ring Cycle สำหรับโอเปาแห่งอังกฤษ เธอได้รับรางวัลเอ็มมี, FIPA d'Or และรางวัลจากสมาคมรอยัลฟิลฮาร์โมนิกแห่งอังกฤษ

ในปี 1999 ลอยด์มีโอกาสได้กำกับละครเพลง ABBA ละครเวที Mamma Mia! ซึ่งกลายเป็นที่นิยมอย่างสูง ไม่ใช่เฉพาะที่เวสต์เอนด์ของลอนดอนและบรอดเวย์เท่านั้น แต่ฮิตกันทั่วโลก เธอกำกับเรื่องเดียวกันนี้ ดัดเปลงเป็นภาพยนตร์ปี 2008 เรื่องนี้ทำให้เธอมีเชื่อเสียงครั้งสำคัญ ในปลายปี 2008 ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับการรับรองว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศสูงที่สุดในสหราชอาณาจักรอย่างไม่เคยมีมาก่อน[5] นอกจากนี้ยอดขายภาพยนตร์ในสหราชอาณาจักรก็สูงที่สุดในประเภท DVD ด้วย [6] ในปี 2009 ลอยด์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม รางวัลโทนี จากการผลิตบทละคร Mary Stuart 

ลอยด์กำกับ The Iron Lady ภาพยนตร์ชีวประวัติของอดีตอังกฤษนายกรัฐมนตรี มาร์กาเรต แทตเชอร์ แสดงโดย Meryl Streep การสร้างภาพยนตร์เริ่มในเดือนมกราคม 2011 และออกฉายในเดือนธันวาคมในปีเดียวกันนั้น [7] ในปี 2014 เธอกำกับละครเวที Henry IV อยู่ในเวสต์เอ็นด์ของลอนดอน

ผลงานภาพยนตร์ แก้

ภาพยนตร์ แก้

ปี ชื่อเรื่อง หมายเหตุ
2000 Gloriana ภาพยนตร์โทรทัศน์
เสนอชื่อ – Biarritz Film Festival - Audiovisual Programming for Golden FIPA (2001)
2008 Mamma Mia!
ชนะ – Rembrandt Award - Best International Film
เสนอชื่อ – BAFTA Award -Outstanding British Film
เสนอชื่อ – Amanda Award - Best Foreign Feature Film
2011 The Iron Lady
ชนะ – Academy Award for Best Actress (Streep)
เสนอชื่อ – European Film Awards - Audience Award (2012)

รางวัลเกียรติยศ แก้

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แต่งตั้งลอยด์ เป็นศาสตราจาย์พิเศษ สาขาการละครร่วมสมัย (Cameron Mackintosh Visiting Professor of Contemporary Theatre) ในปี 2006,[8]  ในปีเดียวกันนั้นเธอก็ได้รับปริญญากิตติมศักดิจากมหาวิทยาลัยบริสตอล[9] เธอมีชื่อติดหนึ่งในเกย์และเลสเบี้ยน 101 คนที่ทรงอิทธิพลในอังกฤษ จัดโดยหนังสือพิมพ์ The Independent ในปี 2008[10] 

ในปี 2009 ลอยด์ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ DLitt (Doctor of Letters) จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม [11]

ลอยด์ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิบริติช CBE ในปี 2010  

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Saner, Emine (25 November 2016). "Phyllida Lloyd: a director who's determined to put women centre stage". Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
  2. David Benedict "Arts: Together wherever we go", The Independent, 29 April 2011
  3. "Death and the Kings Horseman" เก็บถาวร 2003-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Royal Exchange Theatre website
  4. See Pericles at the Royal National Theatre by Melissa Gibson, in Pericles: Critical Essays (Shakespeare Criticism, Volume 23)
  5. Irvine, Chris (30 October 2008). "Mamma Mia becomes highest grossing British film". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-05. สืบค้นเมื่อ 1 January 2009.
  6. "Mamma Mia! tops all-time DVD list". BBC News. 1 January 2009. สืบค้นเมื่อ 1 January 2009.
  7. Catherine Shoard "Meryl Streep's Margaret Thatcher revealed in first still from The Iron Lady", The Guardian, 8 February 2011
  8. "Phyllida Lloyd named Cameron Mackintosh Visiting Professor". University of Oxford. 19 January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-27. สืบค้นเมื่อ 20 April 2008.
  9. "Honorary Graduates". University of Bristol. 31 July 2006. สืบค้นเมื่อ 20 April 2008.
  10. Tuck, Andrew (2 July 2006). "Gay Power: The pink list". The Independent. London: Independent News & Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2008. สืบค้นเมื่อ 20 April 2008.
  11. "University of Birmingham". thecompleteuniversityguide.co.uk.

แหล่งข้อมูลนอก แก้