ชะนีแก้มขาว

(เปลี่ยนทางจาก Nomascus leucogenys)

ชะนีแก้มขาว (อังกฤษ: White-cheeked gibbon, Northern white-cheeked gibbon, ชื่อวิทยาศาสตร์: Nomascus leucogenys) เป็นชะนีชนิดหนึ่ง

ชะนีแก้มขาว
ชะนีแก้มขาวตัวผู้
ชะนีแก้มขาวตัวเมีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์ใหญ่: Hominoidea
วงศ์: Hylobatidae
สกุล: Nomascus
สปีชีส์: N.  leucogenys
ชื่อทวินาม
Nomascus leucogenys
(Ogilby, 1840)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
(สีน้ำตาล — สถานที่พบ, สีส้ม — สถานที่ ๆ เป็นไปได้ว่าสูญพันธุ์แล้ว)
ชื่อพ้อง

มีลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจนระหว่างตัวผู้และตัวเมีย กล่าวคือ ตัวผู้จะมีขนสีดำตลอดทั้งลำตัว ยกเว้นบริเวณแก้มซึ่งจะมีสีขาวเด่นชัด ส่วนตัวเมียนั้นจะมีขนสีเหลืองอ่อนหรือสีครีมตลอดทั้งลำตัว ยกเว้นบริเวณกระหม่อมหรือกลางศีรษะซึ่งมีสีดำ

ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวลำตัวตั้งแต่ศีรษะ 45-63 เซนติเมตร น้ำหนักตัวผู้ประมาณ 5.6 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมีย 5.8 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นของทางตอนเหนือของลาวติดต่อกับพรมแดนเวียดนาม และจีน

มีพฤติกรรมและนิเวศวิทยาอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก ๆ บนต้นไม้สูง ซึ่งในฝูงจะเป็นครอบครัวกัน ประกอบไปด้วยตัวผู้จ่าฝูง 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว และลูก ๆ อีก 2-3 ตัว จะมีอาณาเขตครอบครองเป็นของตัวเอง และมักจะส่งเสียงร้องที่สอดประสานกันระหว่างตัวผู้และตัวเมีย ขณะที่ห้อยโหนไปกับกิ่งไม้ โดยที่ตัวผู้จะมีเสียงร้องที่สลับซับซ้อนกว่า[2]

ประชากรชะนีแก้มขาวในจีน เดิมเคยเหลือเพียง 60 ตัวเท่านั้น ก่อนที่จะมีการอนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นแล้ว[3]

อ้างอิง แก้

  1. Bleisch, B., Geissmann, T., Manh Ha, N., Rawson, B. & Timmins, R. J. (2008). Nomascus leucogenys. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 January 2009.
  2. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน หน้า 52 โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) ISBN 974-87081-5-2
  3. Untamed China with Nigel Marven, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 19 มกราคม 2556

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Nomascus leucogenys ที่วิกิสปีชีส์