หนูหริ่ง
หนูหริ่ง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนยุคสุดท้าย–ปัจจุบัน | |
---|---|
หนูหริ่งบ้าน (M. musculus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
วงศ์: | Muridae |
วงศ์ย่อย: | Murinae |
สกุล: | Mus Linnaeus, 1758 |
ชนิด[1] | |
|
ระวังสับสนกับสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า: หมูหริ่ง
บุคคลดูที่: สมบัติ บุญงามอนงค์, ราฮีม สเตอร์ลิง
หนูหริ่ง เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mus
หนูหริ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับหนูในสกุล Rattus แต่ก็ยังมีขนาดเล็กกว่า แม้แต่หนูจี๊ด (R. exulans) ซึ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุล หนูหริ่งก็ยังเล็กกว่า[2] ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 1–1.5 เดือน ขณะที่ตัวผู้ 1–2 เดือน[3]
หนูหริ่งเป็นหนูอีกจำพวกหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในบ้านเรือนและในพื้นที่เกษตรกรรมด้วย ถือเป็นหนูนา ที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญอีกจำพวกหนึ่งรวมกับหนูในสกุลอื่น[4]
หนูหริ่งชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ หนูหริ่งบ้าน (M. musculus) ซึ่งเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในบ้านเรือน ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมนำมาเป็นสัตว์ทดลองในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน ในแบบที่เป็นหนูเผือกทั้งตัว หรือมีสีสันที่หลากหลายในตัวเดียว เรียกว่า "หนูถีบจักร" หรือ "หนูขาว" โดยเริ่มครั้งแรกมาจากพระราชวังในจีนและญี่ปุ่น[5] นอกจากนี้แล้ว หนูมาซิโดเนีย (M. macedonicus) ที่แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเมเตอร์เรเนียนและประเทศในแถบตะวันออกกลางที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยังเป็นสัตว์รังควานที่รบกวนมนุษย์มานานแล้วถึง 15,000 ปี ซึ่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นยุคก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการเพาะปลูกเสียอีก โดยเข้ามาหาอาหารถึงในชุมชนมนุษย์ โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิลฟันของหนูชนิดนี้นับพันตัว[6]
ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานหนูหริ่งไว้ประมาณ 38 ชนิด ในประเทศไทยพบทั้งหมด 6 ชนิด นอกจากหนูหริ่งบ้านแล้ว ยังมี หนูหริ่งใหญ่ (M. cookii), หนูหริ่งนาหางสั้น (M. cervicolor), หนูหริ่งนาหางยาว (M. caroli), หนูหริ่งป่าใหญ่ขนเสี้ยน (M. shotridgei) และหนูหริ่งป่าเล็กขนเสี้ยน (M. pahari) [7]
การจำแนก
แก้- Mus baoulei (Vermeiren & Verheyen, 1980)
- Mus booduga (Gray, 1837)
- Mus bufo (Thomas, 1906)
- Mus callewaerti (Thomas, 1925)
- Mus caroli Bonhote, 1902
- Mus cervicolor Hodgson, 1845
- Mus cookii Ryley, 1914
- Mus crociduroides (Robinson & Kloss, 1916)
- Mus famulus Bonhote, 1898
- Mus fernandoni (Phillips, 1932)
- Mus goundae Petter & Genest, 1970
- Mus haussa (Thomas & Hinton, 1920)
- Mus indutus (Thomas, 1910)
- Mus kasaicus (Cabrera, 1924)
- Mus macedonicus Petrov & Ruzic, 1983
- Mus mahomet Rhoads, 1896
- Mus mattheyi Petter, 1969
- Mus mayori (Thomas, 1915)
- Mus minutoides Smith, 1834
- Mus musculoides Temminck, 1853
- Mus musculus Linnaeus, 1758
- Mus neavei (Thomas, 1910)
- Mus orangiae (Roberts, 1926)
- Mus oubanguii Petter & Genest, 1970
- Mus pahari Thomas, 1916
- Mus phillipsi Wroughton, 1912
- Mus platythrix Bennett, 1832
- Mus saxicola Elliot, 1839
- Mus setulosus Peters, 1876
- Mus setzeri Petter, 1978
- Mus shortridgei (Thomas, 1914)
- Mus sorella (Thomas, 1909)
- Mus spicilegus Petenyi, 1882
- Mus spretus Lataste, 1883
- Mus tenellus (Thomas, 1903)
- Mus terricolor Blyth, 1851
- Mus triton (Thomas, 1909)
- Mus vulcani (Robinson & Kloss, 1919) [1]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Mus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนู
- ↑ "เรื่องของหนู". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-12. สืบค้นเมื่อ 2013-01-12.
- ↑ หนู[ลิงก์เสีย]
- ↑ หนูไมซ์
- ↑ หน้า 7 โลกาภิวัฒน์ GLOBALIZATION, หนูรังควานชุมชนมนุษย์ มาตั้งแต่ 15,000 ปีก่อน. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21642: วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา
- ↑ หน้า 158-183, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mus ที่วิกิสปีชีส์