เรือยกพลขึ้นบกจู่โจมชั้นมิสทราล

(เปลี่ยนทางจาก Mistral-class amphibious assault ship)

ชั้นมิสทราล (ฝรั่งเศส: Classe Mistral) เป็นชั้นของเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม หรือที่รู้จักกันในฐานะเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือฝรั่งเศส ซึ่งเรียกว่า "เรือวางแผนและบัญชาการ" (ฝรั่งเศส: bâtiments de projection et de commandement; อักษรย่อ: BPC) เรือชั้นมิสทราลนั้นสามารถขนส่งและกรีธาพลเฮลิคอปเตอร์แอนอาช90 หรือไทเกอร์ 16 ลำ, เรือบาร์จยกพลขึ้นบกสี่ลำ, ยานพาหนะมากถึง 70 คัน รวมถึงรถถังอาแอมอิกซ์ เลอแกลร์ก 13 คัน หรือกองทัพรถถังเลอแกลร์กที่แข็งแกร่ง 40 คัน[4] และทหาร 450 นาย เรือนี้มีการติดตั้งเตียงผู้ป่วย 69 เตียง และสามารถเข้าประจำการในฐานะส่วนหนึ่งของกองกำลังตอบโต้เนโท หรือกับกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติและสหภาพยุโรป

เรือวางแผนและบัญชาการดิกซ์มูเดอ ในอ่าวจูนิเย ประเทศเลบานอน ค.ศ. 2012
ภาพรวมชั้น
ชื่อ: ชั้นมิสทราล
ผู้สร้าง:
ผู้ใช้งาน:
ก่อนหน้าโดย: ชั้นโฟเดรอ
ราคา: 451.6 ล้านยูโร[2] (ปีงบประมาณ ค.ศ. 2012) (ประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ในประจำการ: ธันวาคม ค.ศ. 2005 – ปัจจุบัน
วางแผน: 5 ลำ
ใช้การอยู่: 5 ลำ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือยกพลขึ้นบกจู่โจม
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
  • 16,500 ตัน (ไม่มีของ)
  • 21,500 ตัน (โหลดเต็ม)
ความยาว: 199 ม. (653 ฟุต)
ความกว้าง: 32 ม. (105 ฟุต)
กินน้ำลึก: 6.3 ม. (21 ฟุต)
ระบบพลังงาน: 3 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลวาร์ตซีลา 16 วี32 (6.2 เมกะวัตต์) + 1 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรองวาร์ตซีลา วาซา 18วี200 (3 เมกะวัตต์)
ระบบขับเคลื่อน: 2 แอซิมัททรัสเตอร์โรลส์-รอยซ์ เมอร์เมด (2 × 7 เมกะวัตต์), 2 ใบพัดห้าใบมีด
ความเร็ว: 18.8 นอต (35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
พิสัยเชื้อเพลิง:
  • 10,800 กิโลเมตร (5,800 ไมล์ทะเล) ที่ 18 นอต (33 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • 19,800 กิโลเมตร (10,700 ไมล์ทะเล) ที่ 15 นอต (28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
จำนวนเรือและอากาศยาน:
  • เซเตแอ็ม (เรือบาร์จขนส่งอาวุธยุทธสัมภาระ) 4 ลำ
  • อีกทางเลือกหนึ่งคือแอลแค็ก (เรือระบายพล, เบาะอากาศ) 2 ลำ
  • ความจุ: ยานพาหนะ 59 คัน (รวมถึงรถถังอาแอมอิกซ์ เลอแกลร์ก 13 คัน) หรือกองทัพรถถังเลอแกลร์กที่แข็งแกร่ง 40 คัน
    กำลังพล:
    • 900 นาย (ระยะเวลาสั้น ๆ)
    • 450 นาย (ระยะเวลานาน)
    • 150 นาย (ทำหน้าที่เป็นกองบัญชาการในปฏิบัติการ)
    อัตราเต็มที่: ทหารชั้นสัญญาบัตร 20 นาย, ทหารเรือชั้นจ่า 80 นาย, นายกราบ 60 นาย
    ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
    • เรดาร์เดินเรือดีอาร์บีเอ็น-38เอ เดคคาบริดจ์มาสเตอร์ อี250
    • เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ/ผิวน้ำเอ็มอาร์อาร์3ดี-เอ็นจี
    • 2 ระบบควบคุมการยิงแบบออปทรอนิก
    ยุทโธปกรณ์:
  • ระบบซิมแบด 2 ระบบ
  • สถานีอาวุธควบคุมระยะไกลนาร์วาล 20 มม. 2 สถานี[3]
  • มินิกันเอ็ม 134 ขนาด 7.62 × 51 มม. 2 กระบอก
  • ปืนกลเอ็ม 2-เอชบี บราวนิง ขนาด 12.7 มม. 4 กระบอก
  • อากาศยาน: เฮลิคอปเตอร์ขนาดหนัก 16 ลำ หรือขนาดเบา 35 ลำ
    อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: จุดจอดเฮลิคอปเตอร์ 6 จุด

    เรือสามลำของชั้นดังกล่าวที่ประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศส ได้แก่ มิสทราล, ตอนแนร์ และดิกซ์มูเดอ ส่วนข้อตกลงของเรือสองลำสำหรับกองทัพเรือรัสเซียได้รับการประกาศโดยนีกอลา ซาร์กอซี ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในขณะนั้น ณ วันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2010 และลงนามโดยรองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย อีกอร์ เซชิน กับรัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส อาแล็ง ฌูเป ต่อหน้าซาร์กอซีเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2011 ส่วนวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2014 ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ฟร็องซัว ออล็องด์ ได้ประกาศเลื่อนการส่งมอบเรือรบลำแรก วลาดีวอสตอค เนื่องจากวิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน กระทั่งวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2015 ประธานาธิบดี ฟร็องซัว ออล็องด์ และประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ประกาศว่าฝรั่งเศสจะจ่ายเงินคืน และเก็บเรือทั้งสองลำที่ผลิตสำหรับกองทัพเรือรัสเซียในตอนแรก ซึ่งต่อมาได้ขายเรือสองลำให้แก่ประเทศอียิปต์แทน[5]

    ประวัติ แก้

    หลักนิยมของฝรั่งเศสเกี่ยวกับปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกใน ค.ศ. 1997 แก้

    ใน ค.ศ. 1997 บริษัทเดเซแอนแอ็ส เริ่มการศึกษาสำหรับเรือแทรกแซงอเนกประสงค์ (ฝรั่งเศส: bâtiment d'intervention polyvalent; อักษรย่อ: BIP) ในเวลาเดียวกัน หลักนิยมของฝรั่งเศสเกี่ยวกับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกได้รับการพัฒนา และกำหนดให้เป็นการออกแบบระดับชาติสำหรับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก (ฝรั่งเศส: Concept national des opérations amphibies; อักษรย่อ: CNOA)[6] เรือแทรกแซงอเนกประสงค์คือการทำใหม่และเพิ่มขีดความสามารถสะเทินน้ำสะเทินบกของกองทัพเรือฝรั่งเศส ซึ่งในเวลานั้นประกอบไปด้วยเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่แบบอู่ลอยชั้นโฟเดรอสองลำ และชั้นอูรากองสองลำ

    การออกแบบระดับชาติสำหรับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกคือการยืนยันความสามารถของกองทัพเรือฝรั่งเศสในการทำการรบสะเทินน้ำสะเทินบก, การถอนตัว, การแสดงแสนยานุภาพ และการตีโฉบฉวย สิ่งนี้จะทำให้กองทัพเรือฝรั่งเศสสามารถบูรณาการเข้ากับกรอบหลักนิยมตามที่อธิบายโดยบรรณสารยุทธวิธีของพันธมิตรสหรัฐ 8บี (ATP8) ของเนโท และกรอบความร่วมมือสะเทินน้ำสะเทินบกยุโรป ในขณะที่การออกแบบระดับชาติสำหรับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกให้ความสำคัญกับความสามารถของอากาศเป็นสำคัญ มันยังมอบการเพิ่มจำนวนยานพาหนะและบุคลากรที่สามารถขนส่งและกรีธาพล;[7] การออกแบบระดับชาติสำหรับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกได้กำหนดจุดมุ่งหมายของโครงการในการสร้างกองกำลังที่ประกอบไปด้วยสี่กองร้อยต่อสู้ (1,400 นาย, ยานพาหนะ 280 คัน และเฮลิคอปเตอร์ 30 ลำ) เป็นเวลาสิบวัน ในระยะลึก 100 กิโลเมตร กองกำลังนี้น่าจะสามารถเข้าไปแทรกแซงได้ไม่ว่าที่ไหนก็ตามภายในระยะ 5,000 กิโลเมตรจากแผ่นดินใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส หรือเพื่อสนับสนุนดินแดนโพ้นทะเลหรือพันธมิตรของฝรั่งเศส[6] รวมถึงปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังเนโทและสหภาพยุโรป เรือที่เสนอใด ๆ จะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติการระหว่างประจำการกับกองพันทรูเปสเดอมารีนของกองทัพบกฝรั่งเศส[8]

    วิวัฒนาการของแนวคิด แก้

    การศึกษาเกี่ยวกับเรือแทรกแซงอเนกประสงค์ (ฝรั่งเศส: bâtiment d'intervention polyvalent; อักษรย่อ: BIP) ได้เริ่มขึ้นในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศกำลังเตรียมปรับโครงสร้างและบูรณาการ เรือแทรกแซงอเนกประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการออกแบบแบบแยกส่วนที่ปรับขนาดได้ซึ่งสามารถใช้ได้กับประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปและสร้างขึ้นโดยร่วมมือกัน[9] แต่ประเด็นทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานและการแบ่งสัญญาใหม่ ทำให้การรวมชาติในยุโรปที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเรือล้มเหลว และโครงการ BIP ได้เปลี่ยนจากการเป็นแนวคิดทั่วยุโรปไปเป็นกิจการของฝรั่งเศส

    ใน ค.ศ. 1997 มีการเปิดเผยการออกแบบเรือทั่วไปที่เรียกว่าเรือบาร์จขนส่งยกพลชึ้นบกแบบใหม่ (ฝรั่งเศส: nouveau transport de chalands de débarquement; อักษรย่อ: NTCD) โดยอิงจากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์พลังงานนิวเคลียร์เปอาช 75 ที่ถูกยกเลิกอย่างหลวม ๆ ที่ใหญ่ที่สุดคือเบอีเป-19 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพื้นฐานของชั้นมิสทราล การออกแบบเบอีเป-19 รวมถึงดาดฟ้ายาวตลอดลำเรือ 190 เมตร (620 ฟุต) พร้อมความกว้างของตัวเรือ 26.5 เมตร (87 ฟุต), กินน้ำลึก 6.5 เมตร (21 ฟุต) และระวางขับน้ำ 19,000 ตัน; ซึ่งมีมิติข้อมูลเหนือกว่าข้อกำหนดของแนวคิดเรือบาร์จขนส่งยกพลชึ้นบกแบบใหม่ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยการออกแบบเรือขนาดเล็กสามแบบ โดยใช้การออกแบบเบอีเป-19 รุ่นลดขนาด และมีความกว้างของตัวเรือทั่วไป 23 เมตร (75 ฟุต) ได้แก่ เบอีเป-13 (13,000 ตัน, 151 เมตร (495 ฟุต)), เบอีเป-10 (10,000 ตัน, 125 เมตร (410 ฟุต)) และเบอีเป-8 (8,000 ตัน, 102 เมตร (335 ฟุต)) ซึ่งเบอีเป-8 ได้รวมเอาคุณสมบัติของเรือลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกซันจอร์โจของอิตาลี แต่ได้รวมโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์

     
    เรือระบายพลซาเบรอ

    ในขั้นตอนการออกแบบ แนวคิดของเรือบาร์จขนส่งยกพลชึ้นบกแบบใหม่มีลิฟต์อากาศยานที่ฝั่งกราบซ้าย (เหมือนกันกับชั้นตาราวาของสหรัฐ), อีกตัวหนึ่งอยู่ทางฝั่งกราบขวา, ตัวหนึ่งอยู่ตรงกลางลานบิน และตัวหนึ่งข้างหน้าของโครงสร้างส่วนบนเกาะกลาง สิ่งเหล่านี้ถูกลดจำนวนลงในเวลาต่อมาและย้ายตำแหน่ง โดยลิฟต์หลักย้ายไปทางท้ายเรือซึ่งเดิมตั้งอยู่ทางกราบขวา แต่จากนั้นก็ย้ายไปอยู่ตรงกลาง และลิฟต์เสริมที่อยู่ด้านหลังโครงสร้างส่วนบนเกาะกลาง[10] ภาพวาดแนวความคิดและคำอธิบายที่สร้างขึ้นโดยดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ล (DCN) หนึ่งในสองผู้ต่อเรือที่เกี่ยวข้องในโครงการนี้ ได้แสดงให้เห็นคุณสมบัติคล้ายเรือบรรทุกอากาศยานหลายแบบ รวมถึงทางลาดแบบสกีจัมป์สำหรับอากาศยานสโตบาร์ (อนุญาตให้ใช้อากาศยานเอวี-8บี แฮริเออร์ II และเอฟ-35 ไลท์นิง II-บี ปฏิบัติการ), จุดจอดเฮลิคอปเตอร์สี่หรือห้าจุด (รวมถึงหนึ่งจุดที่เสริมความแข็งแกร่งเพื่อรองรับเฮลิคอปเตอร์วี-22 ออสเปร หรือซีเอช-53อี ซูเปอร์สตัลเลียน) และดาดฟ้าตอนที่มีฝาอับเฉาที่สามารถรองรับเรือระบายพลชั้นซาเบรอ หรือเรือโฮเวอร์คราฟต์แอลแค็ก[11] จากการทบทวนโดยวุฒิสภาฝรั่งเศสได้สรุปว่าอากาศยานสโตบาร์อยู่นอกขอบเขตของศูนย์ปฏิบัติการทางอากาศแห่งชาติ ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบ[12]

    เรือบาร์จขนส่งยกพลชึ้นบกแบบใหม่ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์แทรกแซง" (ฝรั่งเศส: Porte-hélicoptères d'intervention; PHI) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ก่อนที่จะได้รับการตั้งชื่อว่าเรือวางแผนและบัญชาการ (ฝรั่งเศส: Bâtiment de projection et de commandement; อักษรย่อ: BPC) ในที่สุด เพื่อเน้นด้านสะเทินน้ำสะเทินบกและลักษณะการบังคับบัญชาของแนวคิด[13]

    การออกแบบและการสร้าง แก้

    ที่งานยูโรเนแวล ค.ศ. 1998 ทางฝรั่งเศสยืนยันว่าพวกเขากำลังวางแผนที่จะสร้างชุดเรือตามแนวคิดเรือแทรกแซงอเนกประสงค์-19 อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้รับการอนุมัติสำหรับการสร้างเรือสองลำคือมิสทราลและตอนแนร์จนถึงวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2000 สัญญาสำหรับการสร้างได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม และหลังจากได้รับการอนุมัติจากสหภาพผู้จัดซื้อ (ฝรั่งเศส: Union des groupements d'achats publics; อักษรย่อ: UGAP) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ก็ได้ตัดสินมอบแก่ดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ล (DCN) และชองติเยร์เดอลัตล็องติกเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ทีมออกแบบทางวิศวกรรมได้รับการสถาปนาขึ้นที่แซ็ง-นาแซร์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2001 และหลังจากการปรึกษาหารือระหว่างดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ลรวมถึงคณะผู้แทนทั่วไปสำหรับยุทโธปกรณ์ (ฝรั่งเศส: Délégation Générale pour l'Armement; อักษรย่อ: DGA) ก็ได้เริ่มศึกษาและปรับเปลี่ยนการออกแบบเรือแทรกแซงอเนกประสงค์-19 ในทำนองเดียวกัน แนวคิดทั่วไปได้รับการขัดเกลาโดยคณะผู้แทนทั่วไปสำหรับยุทโธปกรณ์, ดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ล, เสนาธิการกลาโหม และชองติเยร์เดอลัตล็องติก ในระหว่างขั้นตอนการออกแบบและการตรวจสอบความถูกต้อง ได้มีการสร้างและทดสอบแบบจำลองขนาด 1/120 ในอุโมงค์ลม โดยเผยให้เห็นว่าในลมปะทะที่รุนแรง ความสูงของเรือและด้านบนของดาดฟ้าเรือที่ยืดออกได้สร้างความปั่นป่วนไปตามดาดฟ้าขึ้นลงของอากาศยานบนเรือ ซึ่งการออกแบบดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดผลกระทบเหล่านี้ให้น้อยที่สุด และให้เงื่อนไขที่ดีขึ้นสำหรับปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์[14]

    เรือจะต้องได้รับการสร้างขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ในสององค์ประกอบหลักและส่วนประกอบย่อยหลายส่วน ซึ่งจะรวมกันเมื่อเสร็จสิ้น ดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ลซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าฝ่ายก่อสร้างและรับผิดชอบ 60 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการก่อสร้าง และ 55 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทำงาน ได้ประกอบเครื่องยนต์ในโลเรียนท์, ระบบการต่อสู้ในตูลง และครึ่งหลังของเรือ รวมถึงโครงสร้างส่วนบนเกาะในแบร็สต์ ส่วนเอสทีเอกซ์ ยุโรป ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการต่อเรือเอสทีเอกซ์ ชิปบิลดิง ของประเทศเกาหลีใต้ ได้สร้างส่วนหน้าของเรือแต่ละลำในแซ็ง-นาแซร์ และรับผิดชอบในการขนส่งไปยังอู่ต่อเรือของดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ลในแบร็สต์ เพื่อดำเนินการประกอบขั้นสุดท้าย[1] ส่วนบริษัทอื่น ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้าง ได้แก่ งานก่อสร้างบางส่วนได้รับมอบหมายจากสทอซเนียเรมอนโตวาเดอกดัญสก์ ขณะที่บริษัทตาเลสเป็นผู้จัดหาเรดาร์และระบบสื่อสาร คาดการณ์ว่าเรือแต่ละลำจะใช้เวลา 34 เดือนกว่าจะแล้วเสร็จ โดยมีการออกแบบและก่อสร้างสำหรับเรือทั้งสองลำราคา 685 ล้านยูโร (ค่าใช้จ่ายโดยประมาณเท่ากันสำหรับเรือลำเดียวที่อิงจากเรือหลวงโอเชียน หรือยูเอสเอส แซนแอนโทนีโอ และประมาณราคาเดียวกันกับเรือสะเทินน้ำสะเทินบกชั้นโฟเดรอรุ่นก่อน ซึ่งแทนที่ครึ่งหนึ่งของขนาดของเรือชั้นมิสทราล และใช้เวลา 46.5 เดือนกว่าจะแล้วเสร็จ)[15]

    เริ่มจากเรือดิกซ์มูเดอ, ชั้นมิสทราลส่วนที่เหลือของฝรั่งเศส และชั้นมิสทราลของรัสเซียสองลำแรกได้รับการสร้างขึ้นในแซ็ง-นาแซร์ โดยเอสทีเอกซ์ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันโดยเอสทีเอกซ์ ยุโรป, อัลสตอม และรัฐบาลฝรั่งเศส โดยเอสทีเอกซ์ ยุโรป ถือหุ้นใหญ่ ส่วนบริษัทเดเซแอนแอ็สจะจัดหาระบบการรบของเรือ[1] ทั้งนี้ ท้ายเรือของรัสเซียได้รับการสร้างขึ้นในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยอู่ต่อเรือบอลติก

    ดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ลวางกระดูกงูสำหรับส่วนท้ายของเรือทั้งสองลำโดยมิสทราล วันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 และตอนแนร์ วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2002[16] ส่วนชองติเยร์เดอลัตล็องติกวางกระดูกงูส่วนหน้าของมิสทราล เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2003 และของตอนแนร์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2004[17] บล็อกแรกที่ด้านหลังของตอนแนร์ได้รับการขึ้นแท่นในอู่แห้งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ต.ศ. 2003 และของมิสทราลเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ส่วนท้ายเรือทั้งสองส่วนได้รับการประกอบเข้าด้วยกันในท่าเทียบเรือแห้งเดียวกัน ส่วนหน้าของมิสทราลออกจากแซ็ง-นาแซร์ ภายใต้การลากจูงเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 และมาถึงแบร็สต์เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม การรวมกันของสองส่วนผ่านกระบวนการที่คล้ายกับเทคนิคการขยายขนาดเรือได้เริ่มขึ้นที่ท่าเรือหมายเลข 9 ทั้งนี้ ส่วนหน้าของตอนแนร์มาถึงแบร็สต์เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 และดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกัน

     
    เรือมิสทราล หลังจากการปล่อยลงน้ำได้ไม่นาน

    เรือมิสทราล ได้รับการเปิดตัวตามกำหนดวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2004 ขณะที่เรือตอนแนร์ ได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2005[18] การส่งมอบเรือมีกำหนดส่งในช่วงปลาย ค.ศ. 2005 และต้น ค.ศ. 2006 ตามลำดับ แต่ถูกเลื่อนออกไปนานกว่าหนึ่งปีเนื่องจากปัญหากับระบบเซ็นเซอร์เซนิต 9 และการเสื่อมสภาพของดาดฟ้าเสื่อน้ำมันที่ปกคลุมส่วนหน้า พวกมันได้ประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2006 และ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2007 ตามลำดับ[18]

    หมายเหตุและอ้างอิง แก้

    1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Mistral Construction Program". Globalsecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2010.
    2. "Projet de loi de finances pour 2013 : Défense : équipement des forces" (ภาษาฝรั่งเศส). Senate of France. 22 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2014. Dixmude cost France €451.6m at FY2012 prices
    3. "NARWHAL®". Nexter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2017.
    4. "BPC Mistral". netmarine.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2011.
    5. "France Says Egypt To Buy Mistral Warships". Defense News. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2016.
    6. 6.0 6.1 Arnault (เมษายน 2005). Veyrat, Jean-Marie (บ.ก.). "The national concept of amphibious operations" (PDF). Objectif Doctrine. Metz: Ministry of Defence (36). ISSN 1267-7787. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 ธันวาคม 2008.
    7. Bulletin d'études de la Marine (PDF). มีนาคม 2006. p. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006.
    8. Terre information magazine. no. 184. พฤษภาคม 2007. ISSN 0995-6999.
    9. "The Future Of The Maritime Industry In Europe - The Sea Is The Future" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Fédération européenne des métallurgistes. 8 มิถุนายน 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012.
    10. "Navy painter André Lambert". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2014.
    11. "TCD classe NTCD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2004.
    12. "Avis du Sénat français no 90 du 22 novembre 2001". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2014.
    13. "Histoire du BPC Mistral (2000 - 2006)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2014.
    14. Cécile Michaut (1 มิถุนายน 2007). "Air streams on the water". Office national d'études et de recherches aérospatiales. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2010.
    15. "Marines : Mistral Shows Up LPD 17". Strategy Page. 29 พฤษภาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2008.
    16. "Découpe de la première tôle du Tonnerre" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2014.
    17. "Mistral Class – Amphibious Assault, France". naval-technology.com. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2014.
    18. 18.0 18.1 Saunders, Stephen, บ.ก. (2008). Jane's Fighting Ships 2008-2009. Jane's Fighting Ships (111th ed.). Coulsdon: Jane's Information Group. p. 255. ISBN 978-0-7106-2845-9. OCLC 225431774.

    แหล่งข้อมูลอื่น แก้