ภาษาลิทัวเนีย

(เปลี่ยนทางจาก Lithuanian language)

ภาษาลิทัวเนีย (เอนดะนิม: lietuvių kalba, ออกเสียง [lʲɪɛˈtʊvʲuː kɐɫˈbɐ]) เป็นภาษาบอลต์ตะวันออกในสาขาบอลต์ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน โดยเป็นภาษาของชาวลิทัวเนียและภาษาราชการของประเทศลิทัวเนีย และเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่งของสหภาพยุโรป มีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ประมาณ 2.8 ล้านคน[2] และในบริเวณอื่นประมาณ 1 ล้านคน

ภาษาลิทัวเนีย
lietuvių kalba
ออกเสียง[lʲɪɛˈtʊvʲuː kɐɫˈbɐ ]
ประเทศที่มีการพูดประเทศลิทัวเนีย
ภูมิภาคบอลติก
ชาติพันธุ์ชาวลิทัวเนีย
จำนวนผู้พูด3.0 ล้านคน  (2012)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรลิทัวเนีย)
อักษรเบรลล์ลิทัวเนีย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ลิทัวเนีย
 สหภาพยุโรป
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน โปแลนด์
ผู้วางระเบียบคณะกรรมการภาษาลิทัวเนีย
รหัสภาษา
ISO 639-1lt
ISO 639-2lit
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
lit – Modern Lithuanian
olt – Old Lithuanian
Linguasphere54-AAA-a
แผนที่บริเวณที่มีผู้พูดภาษาลิทัวเนียเป็นภาษาส่วนใหญ่ (สีน้ำเงินเข้ม) และส่วนน้อย (สีฟ้า)
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาลิทัวเนียมีความใกล้ชิดกับภาษาลัตเวียเพื่อนบ้าน แม้ว่าทั้งสองภาษาไม่สามารถเข้าใจร่วมกันได้ เขียนด้วยอักษรละติน นักภาษาศาสตร์บางคนมองภาษาลิทัวเนียในบางประเด็นว่าเป็นภาษาที่อนุรักษ์ไว้มากที่สุดในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน โดยยังคงคุณสมบัติภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมที่หายไปผ่านการพัฒนาจากภาษาลูกหลานอื่น ๆ[3][4][5]

ประวัติ แก้

ใครก็ตามที่ต้องการได้ยินว่าชาวอินโด-ยูโรเปียนพูดอย่างไรควรมาและฟังชาวชนบทลิทัวเนีย

อ็องตวน แมแย[6]

ในบรรดาตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษาลิทัวเนียเป็นภาษาที่อนุรักษ์ไว้ในด้านไวยากรณ์และสัทวิทยา โดยยังคงรักษาคุณสมบัติโบราณที่พบได้เฉพาะในภาษาโบราณอย่างภาษาสันสกฤต[7] (โดยเฉพาะในรูปภาษาพระเวท) หรือภาษากรีกโบราณ ด้วยเหตุผลนี้ ภาษานี้จึงเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการสร้างภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมใหม่ แม้ว่ามีการรับรองภาษานี้ช้า (ข้อความแรกสุดมีอายุถึงเพียง ป. ค.ศ. 1500)[4]

อ้างอิง แก้

  1. ภาษาลิทัวเนีย ที่ Ethnologue (19th ed., 2016)
  2. Rodiklių duomenų bazė. "Oficialiosios statistikos portalas". osp.stat.gov.lt (ภาษาลิทัวเนีย).
  3. Zinkevičius, Z. (1993). Rytų Lietuva praeityje ir dabar [Eastern Lithuania in the Past and Now] (ภาษาลิทัวเนีย). Vilnius: Mokslo ir enciklopedijų leidykla. p. 9. ISBN 5-420-01085-2. ...linguist generally accepted that Lithuanian is the most archaic among living Indo-European languages...
  4. 4.0 4.1 "Lithuanian Language". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  5. Bonifacas, Stundžia (2021-11-20). "How did Vytautas the Great speak and would we manage to have a conversation with VI century Lithuanians?". 15min. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
  6. "Ever wanted to travel back in time? Talk to a Lithuanian!". Terminology Coordination Unit of the European Parliament. 19 August 2014. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
  7. Smalstieg, William (1982). "The Origin of the Lithuanian Language". Lituanus (ภาษาอังกฤษ). 28 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2016-08-07 – โดยทาง lituanus.org.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

]