ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

องค์กรตุลาการหลักของสหประชาชาติ
(เปลี่ยนทางจาก International Court of Justice)

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Court of Justice: ICJ) หรือภาษาปากว่า ศาลโลก (อังกฤษ: World Court) เป็นศาลซึ่งตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อ ค.ศ. 1945 และเป็นหนึ่งในเสาหลักของระบบสหประชาชาติ ทำหน้าที่สืบต่อจากศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice: PCIJ) ที่ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1922 และยุติบทบาทไปพร้อมกับสันนิบาตชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอยู่ในความควบคุมของสหประชาชาติ และมีบัลลังก์อยู่ที่วังสันติ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่จะออกนั่งพิจารณาที่อื่นก็ได้

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
Cour internationale de justice
ตราสัญลักษณ์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
แผนที่
สถาปนาค.ศ. 1945; 79 ปีที่แล้ว (1945)
อำนาจศาลทั่วโลก 193 รัฐภาคี
ที่ตั้งกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
พิกัด52°05′11.76″N 4°17′43.80″E / 52.0866000°N 4.2955000°E / 52.0866000; 4.2955000
ที่มา
วาระตุลาการ9 ปี
จำนวนตุลาการ15 ที่นั่ง
เว็บไซต์www.icj-cij.org
ประธาน
ปัจจุบันRonny Abraham[1]
ตั้งแต่6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015
ตำแหน่งผู้นำสิ้นสุด5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018
รองประธาน
ปัจจุบันAbdulqawi Yusuf[1]
ตั้งแต่6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015
ตำแหน่งผู้นำสิ้นสุด5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีพิพาท (contentious case) ระหว่างรัฐสองรัฐขึ้นไป เช่น ข้อพิพาทเรื่องดินแดนหรืออาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนซึ่งรัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ ทั้งนี้ รัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินก่อนเท่านั้น ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้

นอกจากนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังมีอำนาจออกความเห็นเชิงปรึกษา (advisory opinion) ซึ่งเป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายระหว่างประเทศในสามกรณีหลัก คือ หนึ่ง ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติร้องขอ สอง ตามที่องค์กรอื่นของสหประชาชาติหรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอโดยได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่ และสาม ตามที่มีสนธิสัญญาให้อำนาจศาลวินิจฉัยได้

ตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีสิบห้าคน อยู่ในตำแหน่งคราวละเก้าปี คนละวาระเดียว การพิจารณาพิพากษาคดีต้องมีตุลาการอย่างน้อยเก้าคนนั่งบัลลังก์จึงจะเป็นองค์คณะ อนึ่ง ศาลจะเลือกประธานและรองประธานศาลเอง

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "No. 2015/5" (PDF) (Press release). International Court of Justice. 6 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-08. สืบค้นเมื่อ 9 February 2015.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ