อันดับย่อยเม่น

(เปลี่ยนทางจาก Hystricomorpha)
อันดับย่อยเม่น
เม่นไม่ทราบชนิด ในวงศ์เม่นโลกใหม่ (Erethizontidae)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
อันดับย่อย: Hystricomorpha
Brandt, 1855
อันดับฐาน: Hystricognatha
วงศ์และสกุล
ดูในเนื้อหา

เม่น เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricomorpha

โดยคำว่า Hystricomorpha นั้นมาจากภาษาละตินคำว่า hystrix หมายถึง "เม่น" และภาษากรีกคำว่า morphē หมายถึง "ลักษณะ"[1]

โดยสัตว์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของอันดับย่อยนี้ คือ เม่น ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางค่อนข้างไปทางใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ ขนบนตัวที่เป็นหนามแหลม ใช้สำหรับป้องกันตัว กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 วงศ์

เม่น เป็นสัตว์ที่มีความเชื่อว่าสามารถสะบัดขนเข้าใส่ศัตรูได้แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเม่นพบศัตรูจะรีบหันหลังให้แล้ววิ่งหนีไปพร้อมทั้งสั่นขนให้เกิดเสียงดังกราว ๆ เป็นการเตือน ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ แต่ถ้าศัตรูยังวิ่งไล่อยู่เม่นจะรีบหยุดทันที พร้อมทั้งพองขนให้ตั้งชัน และวิ่งถอยหลังเข้าหา ศัตรูที่วิ่งตามไม่สามารถจะหยุดได้ทันจึงถูกขนเม่นทิ่มตำ ขนเม่นจะหลุดจากตัวเม่นได้ง่ายมาก มักจะติดไปกับสัตว์ที่เข้ามาทำอันตรายเสมอและอาจทำให้ศัตรูตายได้ ในอดีต พรานป่าที่เข้าไปล่าสัตว์มักจะนำสุนัขไปด้วยเพื่อช่วยดมกลิ่นและค้นหาสัตว์ป่าถ้าพบเห็นเม่นมันจะวิ่งไล่ทันที เมื่อเม่นหยุดวิ่ง สุนัขจะวิ่งชนเม่นทันทีจึงมักได้รับบาดเจ็บและมีขนเม่นติดตามตัว เมื่อเจ้าของสุนัขพบเข้าจึงคิดว่าเม่นสะบัดขนเข้าใส่ ทำให้เกิดความเชื่อผิด ๆ ตามกันมา

สำหรับในประเทศไทย พบเม่นได้ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งทั้งหมดจัดอยู่ใน วงศ์เม่นโลกเก่า [2](Hystricidae)

การจำแนก

แก้

สำหรับสัตว์ที่ได้ชื่อว่า เม่น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วงศ์ คือ

นอกจากนี้แล้ว ยังมีสัตว์ฟันแทะที่อยู่ในวงศ์อื่นอีก ที่ไม่มีหนามแหลมแบบเม่น แต่ก็ถูกจัดอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ ได้แก่

อ้างอิง

แก้
  1. Bergsten, J. (2005). "A review of long-branch attraction". Cladistics 21 (2): 163–193. doi:10.1111/j.1096-0031.2005.00059.x.
  2. "เม่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2012-03-29.
  3. Buffenstein, Rochelle; Jarvis, Jennifer U. M. (May 2002). "The naked mole rat--a new record for the oldest living rodent". Science of aging knowledge environment 2002 (21): pe7. doi:10.1126/sageke.2002.21.pe7. PMID 14602989.
  4. Parker, SB (1990) Grzimek's Encyclopedia of Mammals, vol. 4, McGraw-Hill, New York
  5. จาก itis.gov (อังกฤษ)