ปากนรกภูมิ

(เปลี่ยนทางจาก Hellmouth)

ปากนรกภูมิ (อังกฤษ: Hellmouth หรือ Mouth of Hell) คือทางเข้าสู่ขุมนรกที่เป็นภาพปากที่อ้ากว้างของยักษาตัวใหญ่ ซึ่งเป็นภาพพจน์ที่เริ่มเขียนกันขึ้นเป็นครั้งแรกในศิลปะแองโกล-แซ็กซอน และต่อมาก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรป และเป็นภาพที่นิยมวาดเป็นองค์ประกอบของภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” และ “ลงสู่ขุมนรก” (Harrowing of Hell) จนกระทั่งมาถึงปลายยุคกลาง และบางครั้งก็เลยมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและหลังจากนั้น การเขียน “ปากนรกภูมิ” มาฟื้นฟูกันอีกครั้งในภาพพิมพ์สมัยนิยม (Popular print) หลังการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ เมื่อรูปลักษณ์ของผู้ที่เป็นศัตรูจะเป็นผู้ที่กำลังจะถูกกลืนหายเข้าไปในปาก[1] งานชิ้นสำคัญในสมัยหลังเป็นงานเขียนสองชิ้นของเอลเกรโกที่เขียนราวปี ค.ศ. 1578[2] หรือการ์ตูนล้อการเมืองที่เป็นภาพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 นำหน้ากองทัพไปสู่ความหายนะในปากนรก[3]

ปากนรกภูมิ
Hellmouth

“ปากนรกภูมิ” โดยซิมง มาร์มิยอง จาก “Getty Les Visions du chevalier Tondal”, ราว ค.ศ. 1475
“ปากนรกภูมิ”, ปิดโดยอัครเทวดาจากหนังสือเพลงสดุดีวินเชสเตอร์, ราว ค.ศ. 1150
การตัดสินครั้งสุดท้าย” จาก “หนังสือประจำชั่วโมงดยุคแห่งแบร์รี”, ราวคริสต์ทศวรรษ 1440

การละครของยุคกลางมักจะใช้ปากนรกภูมิเป็นฉาก หรือ เครื่องชัก เพื่อที่จะสร้างความหวั่นกลัวให้แก่ผู้ชม ในการสร้างภาพพจน์อันสยดสยองของทางเข้าสู่ขุมนรก ลักษณะที่สร้างก็มักจะเป็นทางเข้าปราสาทโบราณที่มีเชิงเทิน โดยเพราะเมื่อต้องการที่จะเปรียบเทียบกับสวรรค์[4]

งานชิ้นโบราณที่สุดของปากนรกภูมิที่เป็นปากสัตว์เท่าที่ทราบโดยนักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวอเมริกันเมเยอร์ ชาพิโรเป็นงานสลักงาช้างที่สลักขึ้นราว ค.ศ. 800 (พิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิร์ต, ลอนดอน) ชาพิโรกล่าวว่างานส่วนใหญ่ที่สร้างก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นงานที่ทำในอังกฤษ ชาพิโรสันนิษฐานว่ารูปลักษณ์ดังกล่าวอาจจะมาจากตำนานปรัมปรา “แครคเดอะดูม” ของเพกัน ที่เป็นปากของหมาป่ายักษ์เฟนเรียร์ ผู้ถูกสังหารโดยวิดาร์ ผู้ใช้สัญลักษณ์ของไครสต์บนกางเขนกอสฟอร์ธ และจากงานศิลปะแองโกล-สแกนดิเนเวียชิ้นอื่นๆ[5] ในการผสานกลืนเข้ากับไวกิงที่ถือคริสต์ศาสนาของประชาชนทางตอนเหนือของอังกฤษ สถาบันศาสนาก็ดูเหมือนพร้อมที่จะยอมรับรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ในประเพณีนิยมของท้องถิ่นเข้ามาผสานกับรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ในคริสต์ศาสนาโดยมิได้ทำการขัดขวาง เช่นในการใช้หินสลักสำหรับที่หมายหลุมศพแบบไวกิงเป็นต้น ที่กล่าวถึงในวรรณกรรม “เบวูล์ฟ[6]

ในหนังสือแองโกล-แซ็กซอน “Vercelli Homilies” (4:46-8) กล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างซาตานกับมังกรที่กลืนผู้ที่ชั่วร้าย:

“... ne cumaþ þa næfre of þæra wyrma seaðe & of þæs dracan ceolan þe is Satan nemned."
"[มัน]ไม่มีวันที่จะได้ออกจากบ่องูและคอหอยของมังกรที่เรียกว่าซาตาน”[7]

อสูรทะเลเลวิเอธัน (แปลจากภาษาฮิบรู, พระธรรมโจป 41:1, “wreathed animal”) ได้รับการบรรยายว่ามีลักษณะดังกล่าว แม้ว่าจะยากที่จะยืนยันถึงรูปลักษณ์ที่ปรากฏในสมัยแรก แต่ในกวีนิพนธ์ภาษาอังกฤษเก่า “วาฬ” ใน “หนังสือเอ็กซิเตอร์” ปากขุมนรกเปรียบเทียบทำนองเดียวกันกับปากของวาฬ: {{Quote:วาฬมีกลเม็ดอีกอย่างหนึ่ง: เมื่อหิววาฬก็จะอ้าปาก และ จะมีกลิ่นหอมโชยออกมา ปลาก็จะถูกล่อลวงจนต้องตามกลิ่นเข้าไปในปากวาฬ ในทันทีทันใดวาฬก็จะหุบปาก เช่นเดียวกับที่เมื่อผู้ใดปล่อยให้ตนเองหลงตามกลิ่นหอมที่นำไปสู่การทำบาปก็จะต้องตกนรก ที่เปิดขึ้นโดยปีศาจร้าย — ถ้าผู้นั้นหลงความสำราญความยั่วยวนทางกายแทนที่จะเป็นทางจิตวิญญาณ เมื่อจะนำบุคคลเหล่านั้นลงไปยังนรก ปีศาจก็จะอ้าปากและเปิดประตูนรก ไม่มีผู้ใดที่สามารถจะหลุดรอดออกมาได้ เช่นเดียวกันกับปลาที่ไม่อาจจะหลุดรอดออกมาจากปากของวาฬได้[8]}}

ต่อมาในสมัยกลางก็มีการเชื่อมโยงภาพพจน์ของปากนรกภูมิกับเซอร์เบอรัสซึ่งเป็นสุนัขปีศาจสามหัวของตำนานเทพกรีก แม้ว่างานของแองโกล-แซ็กซอนคงจะมิได้เชื่อมโยงกับสัตว์ในตำนานดังกล่าว[9]

ตัวซาตานเองก็มักจะเป็นภาพผู้ที่อยู่ในนรกสวาปามผู้ชั่วร้าย แต่ตามความเห็นของ จี.ดี. สมิธภาพนี้เป็นภาพที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความคิดเกี่ยวกับปากนรกภูมิแต่อย่างใด และปากนรกภูมิก็ไม่ควรคิดว่าจะเป็นสิ่งเดียวกับปากของซาตาน แต่ดูเหมือนฮอฟมันน์ดูเหมือนจะไม่เห็นด้วย[10] นอกจากนั้นปากนรกภูมิก็ไม่เคยได้รับการบรรยายว่าได้งับผู้ชั่วร้าย เพียงแต่เปิดกว้างไว้เท่านั้น พร้อมที่จะรับผู้คนเพิ่มขึ้น

ลักษณะต้นรากอีกประการหนึ่งของความคิดของสมัยกลางเกี่ยวกับปากนรกภูมิก็มาจาก “พระธรรมกันดารวิถี” บทที่ 16, ข้อที่ 28 ถึง 33 ซึ่งบรรยายการกระทำชั่วขณะของพระเจ้า มิใช้สถานะถาวร และมิได้มีนัยยะถึงปากอสุรกาย ซึ่งทำให้ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นสาเหตุในการสร้างภาพพจน์ของยุคกลางได้:

16:28 และโมเสสพูดว่า "ดังนี้แหละท่านทั้งหลายจะได้ทราบว่า พระเยโฮวาห์ใช้ให้ข้ามากระทำการทั้งสิ้นนี้ ข้ามิได้กระทำตามอำเภอใจข้าเอง

16:29 ถ้าคนเหล่านี้ตายอย่างคนธรรมดาทั้งปวง หรือเหตุการณ์อย่างคนธรรมดามาเยี่ยมเยียนเขา ก็หมายว่าพระเยโฮวาห์มิได้ทรงใช้ข้ามา
16:30 แต่ถ้าพระเยโฮวาห์บันดาลอะไรใหม่เกิดขึ้นและแผ่นธรณีอ้าปากกลืนคนเหล่านี้ เข้าไปพร้อมกับข้าวของทั้งหมดของเขา และเขาทั้งหลายลงไปสู่แดนคนตายทั้งเป็น ท่านทั้งหลายจงทราบเถิดว่า คนเหล่านี้ได้สบประมาทพระเยโฮวาห์"
16:31 ต่อมาเมื่อท่านกล่าวบรรดาคำเหล่านี้จบ แผ่นดินใต้ที่เขาเหล่านั้นยืนอยู่ก็แยกออก
16:32 และแผ่นธรณีก็อ้าปากออกกลืนเขาทั้งหลายกับครอบครัว และบรรดาคนของโคราห์และข้าวของทั้งหมดของเขา

16:33 ดังนั้นเขาทั้งหลายพร้อมกับข้าวของทั้งหมดของเขาลงไปสู่แดนคนตายทั้งเป็น และแผ่นดินก็งับเขาไว้และเขาทั้งหลายก็พินาศเสียจากท่ามกลางที่ประชุม[11]

อ้างอิง แก้

  1. Example by Cranach, 1545
  2. Variously called The Adoration of the Name of Jesus (National Gallery, London)image, The Dream of Philip II or Allegory of the Battle of Lepanto (Escurial).image
  3. from first external link
  4. The Ecclesiological Society เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Dooms and the mouth of hell in the late medieval period with pictures including two Renaissance stagings.
  5. Meyer Schapiro, "Cain's Jaw-Bone that Did the First Murder", Selected Papers, volume 3, Late Antique, Early Christian and Mediaeval Art, 1980, pp. 257-9 and notes, Chatto & Windus, London, ISBN 0701125144JSTOR
  6. "The Anglo-Scandinavian Hogback: A Tool for Assimilation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-17. สืบค้นเมื่อ 2010-06-01.
  7. Petra Hofmann (thesis) เก็บถาวร 2008-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนInfernal Imagery in Anglo-Saxon Charters, p. 85, St Andrews, 2008
  8. "translation by Michael DC Drout". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-06. สืบค้นเมื่อ 2010-06-01.
  9. Hofmann, 148
  10. Hofmann, 85
  11. Holy Zone for Christ. กันดารวิถี 16

อ่านเพิ่ม แก้

ดูเพิ่ม แก้