เกมบอยอัดวานซ์
เกมบอยอัดวานซ์ (อังกฤษ: Gameboy Advance; ญี่ปุ่น: ゲームボーイアドバンス; โรมาจิ: Gēmu Bōi Adobansu) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพา 32 บิตที่พัฒนา ผลิต และวางจำหน่ายโดยนินเท็นโดในฐานะรุ่นสืบทอดของเกมบอยคัลเลอร์ วางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2001 ในทวีปอเมริกาเหนือในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ในภูมิภาค PAL เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001 และในจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้ชื่อ iQue Game Boy Advance ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2004 เกมบอยอัดวานซ์เป็นส่วนหนึ่งของยุคที่หกของเครื่องเล่นวิดีโอเกม
เครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์สีคราม | |
ชื่อเรียกอื่น | iQue Game Boy Advance (จีน) |
---|---|
ผู้พัฒนา | Nintendo R&D |
ผู้ผลิต | นินเท็นโด |
ตระกูล | เกมบอย[1] |
ชนิด | เครื่องเล่นเกมพกพา |
รุ่นที่ | 6 |
วางจำหน่าย | |
ราคาเบื้องต้น | US$99.99[6] |
หน่วยขาย | 81.51 ล้าน (ข้อมูลเมื่อ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2010[update])[7] |
สื่อ | |
พลังงาน | แบตเตอรี่ 2 ก้อน × AA |
หน่วยประมวลผล | ARM7TDMI @ 16.78 MHz, Sharp LR35902 (8080-derived) @ 8.388 หรือ 4.194 MHz |
หน่วยความจำ | 32 KB ข้างใน, 256 KB ข้างนอก, 96 KB VRAM |
การแสดงผล | TFT LCD, 240 × 160 พิกเซล, 40.8 × 61.2 มม.[8] |
มิติ | 82 x 144.5 x 24.5 มม. |
เกมขายที่ที่สุด | Pokémon Ruby and Sapphire, 16.22 ล้านตลับ[9] |
Backward compatibility | |
รุ่นก่อนหน้า | เกมบอยคัลเลอร์[10] |
รุ่นต่อไป | นินเท็นโด DS |
ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 มีการจำหน่ายเกมบอยอัดวานซ์ไป 81.51 ล้าหนน่วยทั่วโลก[7] นินเท็นโด DS เครื่องเล่นเกมรุ่นถัดมา ออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004[11]
ฮาร์ดแวร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ซีพียู: ใช้ซีพียูตระกูล ARM (ARM7TDMI) แบบ 32 บิต ที่ความเร็ว 16.8 MHz (สำหรับเล่นเกม ของ เกมบอยอัดวานซ์)
ใช้ซีพียูตระกูล Zilog Z-80 (สำหรับเล่นเกม ของ เกมบอย และ เกมบอยคัลเลอร์)
รุ่นต่าง ๆ ของเกมบอยอัดวานซ์
แก้นอกจากเกมบอยอัดวานซ์รุ่นปกติแล้ว นินเทนโดยังวางจำหน่ายรุ่นปรับปรุงของเกมบอยอัดวานซ์อีก 2 รุ่น
เกมบอยอัดวานซ์ SP
แก้วางจำหน่ายเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 ชื่อ SP มาจากคำว่า "Special"
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จได้ และเปลี่ยนดีไซน์มาเป็นแบบฝาพับ
เกมบอยไมโคร
แก้วางจำหน่ายเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 เป็นเกมบอยขนาดย่อส่วน โดยยังคงคุณสมบัติของเกมบอยอัดวานซ์ไว้อย่างครบถ้วน แต่จะไม่สามารถเล่นตลับเก่าของ เกมบอย และ เกมบอยคัลเลอร์ ได้
คำตอบรับ
แก้ยอดขาย
แก้ทางนินเท็นโดหวังขายเกมบอยอัดวานซ์ให้ได้ 1.1 ล้านหน่วยตอนเปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นภายในเดือนมีนาคม และยอดขายที่คาดหวังที่ 24 ล้านหน่วยก่อนสิ้น ค.ศ. 2001; นักวิเคราะห์การตลาดหลายคนเชื่อว่านี่เป็นเป้าหมายที่เป็นจริงได้เนื่องจากบริษัทขาดคู่แข่งที่สำคัญในตลาดวิดีโอเกมพกพา[12] ภายในสัปดาห์แรกหลังออกจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อเดือนมิถุนายน เกมบอยอัดวานซ์ขายได้ 500,000 หน่วย ทำให้เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ขายได้เร็วในสุดในสหรัฐในเวลานั้น ทำให้ทางนินเท็นโดสั่งเครื่องเล่นเกม 100,000 หน่วยเพื่อจัดส่งไปยังร้านค้าปลีก โดยหวังว่าจะจัดส่งอีกครึ่งล้านภายในสิ้นเดือนมิถุนายน[13] เกมบอยอัดวานซ์ยังเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ขายได้เร็วที่สุดในสหราชอาณาจักร โดยขายไปได้ 81,000 หน่วยในสัปดาห์แรก และทำลายสถิติของเพลย์สเตชัน 2 ที่ 20,000 หน่วย[14] ใน ค.ศ. 2004 มีการขายเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นนี้ในสหราชอาณาจักรมากกว่า 1 ล้านหน่วย[15]
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2009 เกมชุดเกมบอยอัดวานซ์ขายได้ 81.51 ล้านหน่วยทั่วโลก แบ่งออกเป็น Game Boy Advance SP 43.57 ล้านหน่วย และ Game Boy Micro 2.42 ล้านหน่วย[16]
หลังหยุดการพัฒนาเกมบอยอัดวานซ์ ซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดกลายเป็นเกมที่เน้นผู้เล่นเกมอายุน้อยเป็นส่วนใหญ่[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ Ishihara; Morimoto. "Pokémon HeartGold Version & Pokémon SoulSilver Version". Iwata Asks (Interview: Transcript). สัมภาษณ์โดย Satoru Iwata. Nintendo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2022. สืบค้นเมื่อ September 25, 2022.
- ↑ Fielder, Lauren (May 16, 2001). "E3 2001: Nintendo unleashes GameCube software, a new Miyamoto game, and more". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2020. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
- ↑ "Game Boy Advance: It's Finally Unveiled". IGN. August 23, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2014. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
- ↑ Bramwell, Tom (March 21, 2001). "GBA Day: June 22nd". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
- ↑ "Hyper 094". August 6, 2001 – โดยทาง Internet Archive.
- ↑ "The Real Cost of Gaming: Inflation, Time, and Purchasing Power". 2013-10-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-08-28.
- ↑ 7.0 7.1 "Consolidated Sales Transition by Region" (PDF). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 27, 2016. สืบค้นเมื่อ November 18, 2016.
- ↑ "Technical data". Nintendo of Europe GmbH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2023. สืบค้นเมื่อ May 24, 2017.
- ↑ Rose, Mike (October 15, 2013). "Pokemon X & Y sell 4M copies in first weekend". Gamasutra. Think Services. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2013. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
- ↑ Umezu; Sugino; Konno. "Nintendo 3DS (Volume 2 – Nintendo 3DS Hardware Concept)". Iwata Asks (Interview: Transcript). สัมภาษณ์โดย Satoru Iwata. Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2012. สืบค้นเมื่อ March 7, 2011.
- ↑ Wilson, Zoë Ettinger, Matthew. "The most popular tech gadget from the year you were born". Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2023. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
- ↑ "Nintendo launched new GameBoy". BBC. March 21, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ December 6, 2017.
- ↑ Eng, Paul (June 21, 2001). "Game Boy Advance Breaks Sales Records". ABC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ December 5, 2017.
- ↑ Branwell, Tom (June 26, 2001). "Record-Breaking GameBoy Advance sales". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ December 5, 2017.
- ↑ Fahey, Rob (January 27, 2009). "UK Game Boy Advance sales top 1 Million In 2004". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2017. สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.
- ↑ "Consolidated Financial Highlights" (PDF). Nintendo Co., Ltd. April 26, 2007. p. 8. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-12. สืบค้นเมื่อ April 26, 2007.
- ↑ Kohler, Chris (January 18, 2009). "Top 10 Games of December 2008, By Platform". blog.wired.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2012. สืบค้นเมื่อ January 19, 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ (archived)
- Game Boy Advance at Nintendo.com (archived versions at the Internet Archive Wayback Machine)
- เกมบอยอัดวานซ์ ที่เว็บไซต์ Curlie