จากเหมาถึงโมซาร์ท

(เปลี่ยนทางจาก From Mao to Mozart)

จากเหมาถึงโมซาร์ท (อังกฤษ: From Mao to Mozart: Isaac Stern in China) เป็นภาพยนตร์สารคดีโดยเมอร์เรย์ เลิร์นเนอร์ ผู้กำกับชาวอเมริกัน เกี่ยวกับการเผยแพร่วัฒนธรรมตะวันตกเข้าไปในประเทศจีนในช่วงปลายทศวรรษ 1970 หลังสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม เป็นการติดตามถ่ายทำการเดินทางของไอแซก สเติร์น นักไวโอลินระดับโลก และครูสอนดนตรีที่ได้รับเชิญให้เดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศจีน เพื่อ "แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม" ช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1979 เป็นเวลาสามสัปดาห์ [1] และโดยที่ไม่ได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก สเติร์นได้จัดแสดงคอนเสิร์ต บรรยายชั้นเรียนดนตรีคลาสสิก และจัดเวิร์กช็อปให้กับเยาวชนจีนจากเมืองต่างๆ ตามรายทาง [2]

จากเหมาถึงโมซาร์ท
ภาพปกดีวีดีวางจำหน่าย ค.ศ. 2001 เป็นภาพของสเติร์น กับ ฉู่ เหว่ยหลิง
กำกับเมอร์เรย์ เลิร์นเนอร์
นักแสดงนำไอแซก สเติร์น
เดวิด กอลับ
หลี เต๋อลุ่น
กำกับภาพเดวิด บริดเจส
นิค โนว์แลนด์
ตัดต่อทอม ฮาเนอเคอ
วันฉาย31 ธันวาคม ค.ศ. 1979
ความยาว114 นาที
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาภาษาอังกฤษ
ภาษาจีนกลาง
ข้อมูลจาก IMDb

ชื่อภาพยนตร์ "จากเหมาถึงโมซาร์ท" มาจากฉากการพูดคุยกันระหว่างสเติร์น กับหลี เต๋อลุ่น ผู้อำนวยเพลงวงเซ็นทรัลฟิลฮาร์โมนิกออร์เคสตรา เมื่อพบกันครั้งแรก หลีได้วิเคราะห์ดนตรีของโมซาร์ทให้สเติร์นฟัง โดยวิธีการเปรียบเทียบแบบมาร์กซิสต์ของเหมา เจ๋อตง [3] หลีได้เปิดเผยในบทสัมภาษณ์พิเศษที่รวมอยู่ในดีวีดีฉบับปี 2001 ว่า จริงๆ แล้วเขาไม่ได้คิดอย่างนั้น แต่เนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองของจีนในปี 1979 ขณะถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้เขาต้องพูดถึงทุกเรื่องไปในเชิงสนับสนุนลัทธิเหมา [3]

ภาพยนตร์ได้ถ่ายทำการแสดงของไอแซก สเติร์น ร่วมกับหลี เต๋อลุ่น และการฝึกซ้อม สาธิตการเล่นดนตรีของนักดนตรีระดับเยาวชนหลายคน ในเวลาต่อมาสเติร์นได้สนับสนุนให้เด็กหลายคนได้รับการศึกษาในต่างประเทศ และกลายเป็นนักดนตรีคลาสสิกในระดับนานาชาติ เช่น หวัง เจี้ยน (Jian Wang) เด็กชายนักเชลโลวัย 11 ปี [4] ฉู่ เหว่ยหลิง (Vera Tsu) เด็กหญิงนักไวโอลินวัย 11 ปี [5] และชุน ผาน (Pan Chun) เด็กชายนักเปียโนวัย 8 ปี [6]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม ประจำปี 1980 [7] และเข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1981 [8]

หลังการเสียชีวิตของสเติร์นในปี 2001 ได้มีการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้จำหน่ายในรูปแบบดีวีดี โดยเพิ่มเติมภาพการแสดงดนตรีร่วมกันอีกครั้งของสเติร์นกับหลี เต๋อลุ่น ในยี่สิบปีหลังเหตุการณ์ในภาพยนตร์ พร้อมกับบทสัมภาษณ์สามนักดนตรีเยาวชน ที่มีชื่อเสียงในระดับโลกไปแล้ว [3]

อ้างอิง

แก้
  1. Isaac Stern’s Great Leap Forward Reverberates New York Times, 1 Jul 2009
  2. From Mao to Mozart : Isaac Stern in China (1) เก็บถาวร 2005-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เสรี พงศ์พิศ, ผู้จัดการ, 4 พฤศจิกายน 2547
  3. 3.0 3.1 3.2 From Mao to Mozart : Isaac Stern in China (2) เก็บถาวร 2005-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เสรี พงศ์พิศ, ผู้จัดการ, 11 พฤศจิกายน 2547
  4. "Jian Wang: An Extraordinary Journey". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-02. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  5. "Vera Tsu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  6. http://www.pianocompetition.kz/index.php?id=55
  7. "NY Times: From Mao to Mozart: Isaac Stern in China". NY Times. สืบค้นเมื่อ 2008-11-26.
  8. "Festival de Cannes: From Mao to Mozart: Isaac Stern in China". festival-cannes.com. สืบค้นเมื่อ 2009-06-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้