ฟรีไลฟส์

(เปลี่ยนทางจาก Free Lives)

บริษัท ฟรีไลฟส์ จำกัด (ส่วนบุคคล) (อังกฤษ: Free Lives (Pty) Ltd) เป็นผู้พัฒนาวิดีโอเกมอิสระของแอฟริกาใต้ที่อยู่ในเคปทาวน์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 และนำโดยผู้อำนวยการสร้างสรรค์ เอวาน กรีนวูด ซึ่งฟรีไลฟส์เป็นที่รู้จักกันดีในการสร้างวิดีโอเกมโบรฟอร์ซ และยังได้พัฒนาเกมตลกอย่างเจนนิเทิลจูสติง รวมถึงเกมความเป็นจริงเสมือนอย่างกอร์น ทั้งนี้ ฟรีไลฟส์ได้รับการเผยแพร่เป็นหลักผ่านดีโวลเวอร์ดิจิทัล ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่สัญชาติอเมริกัน

บริษัท ฟรีไลฟส์ จำกัด (ส่วนบุคคล)
ประเภทเอกชน
อุตสาหกรรมวิดีโอเกม
ก่อตั้งเมษายน 2012; 12 ปีที่แล้ว (2012-04)
ผู้ก่อตั้งเอวาน กรีนวูด
สำนักงานใหญ่,
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์
พนักงาน
16 คน (ค.ศ. 2018)
เว็บไซต์freelives.net

ประวัติ แก้

ภูมิหลัง แก้

ฟรีไลฟส์ได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 โดยนักเขียนโปรแกรมวิดีโอเกม กับผู้อำนวยการสร้างสรรค์ เอวาน กรีนวูด และตั้งอยู่บนที่ดินที่เป็นส่วนหนึ่งของสตูดิโอ ส่วนหนึ่งของบ้านในเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ชื่อเรื่องที่พัฒนาโดยฟรีไลฟส์ไม่ได้ขายดีในทวีปแอฟริกา และผู้ชมในสตูดิโอส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐ เช่นเดียวกับยุโรป, อเมริกาใต้ และจีน ทีมงานฟรีไลฟส์ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ของพวกเขาในการประชุมเกมอเมริกาเหนือและยุโรปต่าง ๆ และเป็นส่วนหนึ่งของการแถลงข่าวของโซนี่ที่งานอีทรี 2017[1] ในปี ค.ศ. 2017 ทีมงานฟรีไลฟส์บางคนอาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกัน โดยใช้ประโยชน์จากห้องครัวส่วนกลาง[2]

วิดีโอเกม แก้

ฟรีไลฟส์เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมวิดีโอเกมครั้งแรกเมื่อทีมเสนอผลงานแรมโบร ซึ่งเป็นเกมยิงศิลปะพิกเซล 2 มิติ ที่ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์แอ็กชันช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และคริสต์ทศวรรษ 1990 ในงานเกมแจมลูดัมแดร์เดือนเมษายน ค.ศ. 2012 แรมโบรได้รับรางวัลด้านกราฟิกและความตลกขบขันที่งานแข่งลูดัมแดร์ ซึ่งฟรีไลฟส์ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและปรับเกมในปีต่อ ๆ ไป ในไม่ช้า แรมโบรก็ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโบรฟอร์ซ และได้ให้บริการฟรีบนเว็บไซต์ฟรีไลฟส์ในปีถัดไป โบรฟอร์ซได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกผ่านสตีมกรีนไลต์ในปี ค.ศ. 2013[3] และมีฉบับสปินออฟในชื่อดิเอ็กซ์เพ็นเดโบร ในปี ค.ศ. 2014[4] หลังจากหนึ่งในสมาชิกของฟรีไลฟส์ได้พบกับผู้จัดจำหน่ายอย่างดีโวลเวอร์ดิจิทัลในมหกรรมอินดีอามาเซที่เบอร์ลิน ดีโวลเวอร์ดิจิทัลก็ได้เซ็นสัญญากับสตูดิโอ และโบรฟอร์ซได้รับการเผยแพร่ในปี ค.ศ. 2015[5]

ปลายปี ค.ศ. 2016 ฟรีไลฟส์ได้ทำเกมตลกอย่างเจนนิเทิลจูสติง ที่พร้อมให้บริการผ่านโปรแกรมสตีมเออลีแอ็คเซส ซึ่งในเกมปาร์ตีที่มีผู้เล่นหลายคนนี้ ผู้เล่นพยายามที่จะย้ายองคชาตที่อ่อนปวกเปียก และแยกออกจากร่าง ไปยังทวารหนักที่แยกออกจากร่าง แม้ว่าเจนนิเทิลจูสติงได้รับการอธิบายว่า "ผิดธรรมดาสำหรับเด็ก" แต่มันก็ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งข้อความเชิงบวกทางเพศไปยังผู้ชมที่อาจไม่ได้รับฟังอย่างอื่น ทางสตูดิโอได้ระบุในบล็อกของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ว่าชายที่เป็นคนตรงเพศ, ผู้รักต่างเพศ ได้สังสรรค์โดยไม่พูดคุยว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรืออวัยวะเพศชายที่สัมผัสกัน และเขียนว่า: "เราได้รับแรงบันดาลใจอย่างมากจากข้อเท็จจริงที่ว่าเจนนิเทิลจูสติงได้ทำให้เรามีสื่อนำในการพูดคุยกันในหมู่พวกเรา"[6] กรีนวูดบอกกับเดอะซันเดย์ไทมส์ว่า "หัวใจสำคัญเกมนี้คือการแสดงความเป็นชาย โดยความพยายามที่จะขัดขวางความคิดที่ฝังแน่นเกี่ยวกับพลังและอำนาจของผู้ชาย" ซึ่งเกมจะไม่ได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์มคอนโซลหลัก ๆ เช่น เอกซ์บอกซ์ หรือเพลย์สเตชัน[2] เมื่อเจนนิเทิลจูสติงถูกแบนจากบริการสตรีมสดของทวิตช์ ไนเจล โลว์รี จากดีโวลเวอร์ดิจิทัลได้ติดต่อสตีมเพื่อดูว่าเกมสามารถถ่ายทอดสดผ่านการแพร่ภาพภายในของแพลตฟอร์มได้หรือไม่ ซึ่งเจนนิเทิลจูสติงได้กลายเป็นเกมแรกที่ออกอากาศผ่านคุณสมบัติการสตรีมสดของสตีม[7]

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 ฟรีไลฟส์ได้เปิดตัวเกมความเป็นจริงเสมือนอย่างกอร์นสำหรับโอคูลัสริฟต์และเอชทีซี ไวฝ์ บนสตีมเออลีแอ็คเซส ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "เครื่องจำลองความเป็นจริงเสมือนกลาดิอาตอร์ ที่มีความรุนแรงแบบน่าหัวเราะ" กอร์นแสดงลักษณะเอนจินการต่อสู้ที่ขับเคลื่อนด้วยฟิสิกส์ และมีเลือดแบบรุนแรงจำนวนมาก ฟรีไลฟส์ระบุว่าพวกเขาใช้บริการเออลีแอ็คเซสเพื่อให้สามารถขยายเกมด้วยคุณสมบัติที่ผู้เล่นต้องการเห็น[8][9]

ความสำเร็จ แก้

ในการให้สัมภาษณ์กับมายเกมมิง กรีนวูดระบุว่าสตูดิโอทำรายได้จากการขายโบรฟอร์ซที่ประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี ค.ศ. 2016[10] ทีมฟรีไลฟส์ทั้งหมดย้ายไปที่ทามารินบนประเทศที่เป็นเกาะมอริเชียสเป็นเวลาสามเดือนในปลายปี ค.ศ. 2016 โดยใช้ผลกำไรจากความสำเร็จของพวกเขากับโบรฟอร์ซ ฟรีไลฟส์ได้ผลิตซีรีส์วิดีโอที่นี่ในชื่อเกมแจมไอแลนด์ ซึ่งพวกเขาได้บันทึกประสบการณ์การพัฒนาวิดีโอเกมบนเกาะพักผ่อนยอดนิยม[11]

ส่วนในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 เจนนิเทิลจูสติงได้เข้ารอบสุดท้ายสำหรับอินดิเพนเดนต์เกมส์เฟสติวัล 2019 ภายใต้หมวดเรื่องเล่าที่เป็นเลิศ[12][13]

เกมที่เผยแพร่ แก้

ค.ศ. ชื่อเกม ประเภท แพลตฟอร์ม ผู้จัดจำหน่าย
2014 ดิเอ็กซ์เพ็นเดโบรส์[4] แพลตฟอร์มรันแอนด์กัน แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ดีโวลเวอร์ดิจิทัล
2015 โบรฟอร์ซ ลินุกซ์, แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เพลย์สเตชัน 4, นินเท็นโด สวิตช์
2016 โยจิมบรอล![14] ต่อสู้ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ฮัมเบิลบันเดิล
2018 เจนนิเทิลจูสติง กีฬา แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ดีโวลเวอร์ดิจิทัล
2019 กอร์น บีตเอ็มอัป ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
คริกเกตธรูดิเอจเจส กีฬา ไอโอเอส, ทีวีโอเอส

อ้างอิง แก้

  1. Akabor, Nafisa (12 October 2017). "Meet SA's game changers". Financial Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  2. 2.0 2.1 Jordan, Bobby (23 September 2017). "Game of penises: South Africa's latest online gaming sensation". The Sunday Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  3. Corriea, Alexa Ray (5 July 2013). "Broforce devs talk female heroes, 80s action appeal and cultural sensitivity to games". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  4. 4.0 4.1 López, Jorge (6 August 2014). "Broforce Muesta Su Nueva Expansión, The Expendabros". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2018. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.
  5. Chan, Stephanie (19 April 2018). "The IndieBeat: Why South African game developers are starting their own industry event". Venturebeat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  6. Wales, Matt (18 January 2018). "Penis-based party game Genital Jousting leaves Early Access, gains a story mode". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  7. Conditt, Jessica (2 February 2018). "A game about penises made Steam live streaming a reality". Engadget. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  8. Matulef, Jeffrey (11 July 2017). "BroForce and Genital Jousting dev just released a VR game". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  9. Prescott, Shaun (27 June 2017). "Gorn is a ridiculously violent VR brawler by the Broforce studio". PC Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  10. Vermeulen, Jan (17 May 2016). "Broforce earned SA developer Free Lives over R30 million". MyGaming. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2016. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  11. Alexandra, Heather (26 September 2016). "Indie Game Devs Move Studio To Tropical Island For Three Months". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  12. Staff. "2019 Independent Games Festival reveals this year's finalists!". www.gamasutra.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  13. Couture, Joel. "Road to the IGF: Free Lives' Genital Jousting". www.gamasutra.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  14. LeClair, Kyle (2 December 2016). "December's Humble Monthly Bundle Brings Dragon's Dogma, Mordheim, More". Hardcore Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2018. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้