ถุงยื่นอักเสบ

(เปลี่ยนทางจาก Diverticulitis)

ถุงยื่นอักเสบ (อังกฤษ: Diverticulitis หรือ colonic diverticulitis) เป็นโรคของทางเดินอาหารมีลักษณะเป็นการอักเสบของถุงยื่น (ไดเวอร์ทิลูคัม) ซึ่งอาจเจิรญอยู่ตามผนังของลำไส้ใหญ่[1] อาการมักประกอบด้วยอาการปวดท้องส่วนล่าง อาจเกิดเป็นเวลาหลายวัน[1] นอกจากนี้อาจพบอาการคลื่นเหียน, ท้องเสีย, ท้องผูก[1] หากพบอาการไข้และเลือดในอุจจาระอาจบ่งชี้ถึงอาการแทรกซ้อน[1]

ถุงยื่นอักเสบ
ชื่ออื่นColonic diverticulitis
ช่วงของลำใส้ใหญ่ (ซิกมอยด์โคลอน) แสดงถุงยื่น (ไดเวอร์ทิคูลา)
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
อาการปวดท้อง, ไข้, คลื่นเหียน, ท้องเสีย, ท้องผูก, เลือดในอุจจาระ[1]
ภาวะแทรกซ้อนหนอง, ฟิสตูลา, ลำไส้ทะลุ[1]
การตั้งต้นฉับพลัน, อายุ > 50[1]
สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด[1]
ปัจจัยเสี่ยงโคอ้วน, ไม่ออกกำลังกาย, สูบบุหรี่, ประวัติครอบครัว, ยาเอ็นเสดs[1][2]
วิธีวินิจฉัยตรวจเลือด, ซีทีสแกน, ส่องกล้อง, lower gastrointestinal series[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคลำไส้แปรปรวน[2]
การป้องกันMesalazine, rifaximin[2]
การรักษายาปฏิชีวนะ, อาหารเหลว, เข้าโรงพยาบาล[1]
ความชุก3.3% (ประเทศพัฒนาแล้ว)[1][3]

สาเหตุเกิดโรคยังคงไม่เป็นที่ทราบชัดเจน[1] ปัจจัยเสี่ยงอาจรวมถึงภาวะอ้วน, ขาดการออกกำลังกาย, สูบบุหรี่, ประวัติในครอบครัว และการใช้ยาเอ็นเสด (NSAIDs)[1][2] ส่วนความเกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารไฟเบอร์ต่ำยังคงไม่ชัดเจน[2] ถุงยื่นในลำไส้ใหญ่ที่ไม่อักเสบเรียกว่าอาการไดเวอร์ทิคูโลซิส[1] การอักเสบอาจเกิดขึ้นได้ที่ 10% ถึง 25% ที่จุดหนึ่ง ๆ และเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย[2][4]

การป้องกันการเกิดโรคอาจทำได้โดยการลดความอ้วน, ออกกำลังกาย และเลิกบุหรี่[2] ยาเมซาลาซีน และ ริฟักซิมิน สามารถใช้ป้องกันอาการรุนแรงได้ในผู้ป่วย[2] ส่วนการหลีกเลี่ยงอาหารพวกเม็ดและเมล็ดนั้นไม่เป็นที่แนะนำแล้วเนื่องจากไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารกลุ่มนี้กับการเกิดการอักเสบของถุงยื่น[1][5]

โรคนี้พบได้ชุกกว่าในโลกตะวันตก และพบยากในแอฟริกากับเอเชีย[1] ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับโรคเกี่ยวกับถุงยื่นในสหรัฐอยู่ที่ราวปีละ $2.4 พันล้าน (ข้อมูลปี 2013)[2] ในผู้ป่วยด้วยโรคถุงยื่นไม่มีการอักเสบ (diverticulosis) ราว 4 ถึง 15% อาจเกิดการอักเสบได้ในอนาคต[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 "Diverticular Disease". www.niddk.nih.gov. September 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Tursi, A (March 2016). "Diverticulosis today: unfashionable and still under-researched". Therapeutic Advances in Gastroenterology. 9 (2): 213–28. doi:10.1177/1756283x15621228. PMC 4749857. PMID 26929783.
  3. 3.0 3.1 Pemberton, John H (16 June 2016). "Colonic diverticulosis and diverticular disease: Epidemiology, risk factors, and pathogenesis". UpToDate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-14. สืบค้นเมื่อ 13 March 2017.
  4. Mandell, Douglas, and Bennett's Principles and Practice of Infectious Diseases. Churchill Livingstone. 2014. p. 986. ISBN 9781455748013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-08.
  5. Young-Fadok, TM (October 2018). "Diverticulitis". New England Journal of Medicine. 379 (17): 1635–42. doi:10.1056/NEJMcp1800468. PMID 30354951.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก