ว่านนางคำ

สปีชีส์ของพืช
(เปลี่ยนทางจาก Curcuma aromatica)
ว่านนางคำ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae
สกุล: Curcuma
สปีชีส์: C.  aromatica
ชื่อทวินาม
Curcuma aromatica
Salisb.

ว่านนางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma aromatica) เป็นพืชในวงศ์ขิง มีเหง้าขนาดใหญ่ หัวทรงกระบอก มีสีเหลืองทั้งข้างนอกและข้างในใบรูปใบหอก ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียดปกคลุม ช่อดอกอยู่แยกจากต้น แทงช่อดอกออกจากเหง้าก่อนแตกใบ ดอกช่อแบบช่อเชิงลด ดอกสั้นกว่าริ้วประดับ ริ้วประดับสีเขียวอ่อน ส่วนปลายสีชมพู กลีบดอกสีขาวแกมชมพู เกสรตัวผู้ฝ่อ สีเหลืองเข้ม กลีบปากรูปกลม กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปลูกในอินเดียแถบเชิงเขาหิมาลัย ศรีลังกา มีพบในอินโดจีน ญี่ปุ่น

ว่านนางคำใช้ผลิตแป้ง สีย้อม เครื่องสำอางและยา ดอกมีกลิ่นหอม เหง้าสดและหัวมีกลิ่นหอม ใช้รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ใช้เป็นไม้ประดับ มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด มีสารกลุ่ม curcuminoids ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นยาสมุนไพร เพื่อลดกรด ขับลม ตำรายาจีนใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ นอกจากนั้น ยังมีผู้ใช้ว่านนางคำในรูปผงแห้งเป็นยาบำรุงผิวเพื่อเสริมความงาม และยากันยุงด้วย ขยายพันธุ์โดยการแยกหัวไปปลูก ในจีนเรียกพืชชนิดนี้ว่ายวี่จิน (ภาษาจีนกลาง) หรืออิกกิม (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) รากเป็นยากระตุ้นการหมุนเวียนของเลือด ระงับปวด[1]

อ้างอิง แก้

  1. ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 93 - 95
  • กู่คำ วิไลเฮือง วิไลลักษณ์ ชินะจิตร. 2551. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่านนางคำ. แก่นเกษตร. 36, 229 - 233