ผนังเซลล์

(เปลี่ยนทางจาก Cell wall)

ผนังเซลล์ (อังกฤษ: Cell wall) คือ ชั้นที่ล้อมเซลล์ซึ่งอยู่ถัดจากชั้นของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำจุนโครงสร้าง ปกป้องเซลล์ และกลไกคัดกรองสาร

ชีววิทยาเซลล์
เซลล์พืช
องค์ประกอบทั่วไปของเซลล์พืช:
a. พลาสโมเดสมาตา
b. เยื่อหุ้มเซลล์
c. ผนังเซลล์
1. คลอโรพลาสต์
d. เยื่อหุ้มไทลาคอยด์
e. แป้ง
2. แวคิวโอล
f. แวคิวโอล
g. โทโนพลาสต์
h. ไมโทคอนเดรีย
i. เพอรอกซิโซม
j. ไซโทพลาสซึม
k. Small membranous vesicles
l. ร่างแหเอนโดพลาซึมแบบขรุขระ
3. นิวเคลียส
m. นิวเคลียร์พอร์
n. เยื่อหุ้มนิวเคลียส
o. นิวคลีโอลัส
p. ไรโบโซม
q. ร่างแหเอนโดพลาซึมแบบเรียบ
r. กอลไจเวสิเคิล
s. กอลไจแอพพาราตัส (กอลไจบอดี)
t. ไซโทสเกเลตอน

ผนังเซลล์ยังมีหน้าที่ป้องกันการขยายตัวมากเกินไปหากน้ำไหลผ่านเข้าสู่ภายในเซลล์ มักพบอยู่ในพืช แบคทีเรีย อาร์เคีย เห็ดรา สาหร่าย แต่ไม่พบในสัตว์และโพรทิสต์

ผนังเซลล์ของพืช แก้

เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของเซลล์พืช มีบทบาทในการยึดเซลล์เข้าด้วยกันให้เป็นเนื้อเยื่อ โครงสร้างประกอบด้วยโมเลกุลของเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบหลักของผนังเซลล์มีลักษณะเป็นสาย เรียงตัวตามยาวเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มเรียกไมเซล (Micelle) ซึ่งประกอบด้วยเซลลูโลส 100 โมเลกุล ไมเซลแต่ละกลุ่มมาเรียงตัวกันแบบหลวมๆ เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย ภายในช่องระหว่างสายของไมเซลมีสารกลุ่มลิกนิน คิวติน ซูเบอริน และเพกตินแทรกอยู่ จากนั้นไมเซลแต่ละกลุ่มรวมตัวกันเป็นไมโครไฟบริลซึ่งมีเซลลูโลสราว 2,000 โมเลกุล ไมโครไฟบริลมารวมตัวกันเป็นแมกโครไฟบริล ซึ่งมีเซลลูโลส ประมาณ 500,000 โมเลกุลช่องว่างระหว่างเส้นใยเหล่านี้มีสารที่ไม่ใช่เซลลูโลสแทรกอยู่

การเรียงตัวของไมโครไฟบริลในผนังเซลล์ชั้นแรกและชั้นที่สองจะต่างกันผนังเซลล์ชั้นแรกสร้างขึ้นระหว่างที่เซลล์กำลังเจริญเติบโต เส้นใยที่สร้างครั้งแรกจะเรียงไขว้กัน เมื่อเซลล์ขยายขนาด ไมโครไฟบริลเดิมถูกดึงตัวไปในแนวต่างๆกัน และมีการสร้างไมโครไฟบริลใหม่ๆตลอดเวลา เมื่อเจริญเต็มที่ ไมโครไฟบริลที่สร้างก่อนมักจะเรียงตัวขนานตามแนวแกนตามยาวของเซลล์ ส่วนไมโครไฟบริลที่สร้างขึ้นภายหลังเรียงตัวในแนวขวางเป็นวงรอบเซลล์ และอยู่ชิดกับเยื่อหุ้มเซลล์มากกว่า ส่วนผนังเซลล์ชั้นที่สองนั้น สร้างขึ้นหลังจากเซลล์หยุดขยายขนาดแล้ว การเรียงตัวจึงเป็นระเบียบกว่าผนังเซลล์ชั้นแรก [1]

ผนังเซลล์ของพืชไม่ได้เป็นส่วนที่ทึบตันตลอด แต่จะมีช่องให้เซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกันสามารถส่งสารเคมีระหว่างกันได้และยอมให้น้ำและสารอาหารผ่านได้ โดยผ่านบริเวณที่มีผนังบางหรือเป็นรูเรียก พิท (Pit) ซึ่งมีช่องเล็ก ๆ ให้ไซโตพลาสซึมผ่านได้ เรียกพลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmata)

  • ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ (Middle lamella) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์พืชแบ่งตัว ประกอบด้วยเพกตินที่อยู่ในรูปแคลเซียมเพกเตต และแมกนีเซียมเพกเตต อยู่ตรงกลางระหว่างผนังเซลล์ชั้นแรกของเซลล์ 2 เซลล์ มีขนาดบางมากและมีคุณสมบัติเหนียว มองไม่เห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์ทั่วไป
  • ผนังเซลล์ปฐมภูมิ (Primary cell wall) เป็นผนังเซลล์ชั้นแรกที่เซลล์สร้างขึ้น ตั้งแต่ระยะที่กำลังเติบโตจนถึงโตเต็มที่ อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส เพกติน เซลล์พืชที่มีเฉพาะผนังเซลล์ชั้นนี้ เช่น เซลล์พาเรนไคมา
  • ผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary cell wall) เป็นผนังชั้นในสุด สร้างขึ้นหลังจากที่เซลล์หยุดขยายตัว ประกอบด้วยเซลลูโลส ซูเบอริน (Suberin) คิวติน (Cutin) มีความหนาและแข็งแรงกว่าผนังเซลล์ชั้นแรก การที่มีลิกนินและซูเบอรินเป็นส่วนประกอบ ทำให้น้ำไม่สามารถผ่านผนังเซลล์ชั้นนี้ได้ เซลล์ที่สร้างผนังเซลล์ชั้นนี้สมบูรณ์แล้วมักจะตาย ตัวอย่างเซลล์ที่มีผนังเซลล์ชั้นนี้คือเส้นใย (Fiber) เทรคีด (Tracheid) และสเคลอเรนไคมา (Sclerenchyma)
 
โครงสร้างระดับโมเลกุลของผนังเซลล์ปฐมภูมิในพืช

ผนังเซลล์ของพืชและสาหร่ายสีเขียว แก้

คือ cellulose(ในdiatom มี silica เพิ่มเข้ามาด้วย)

ผนังเซลล์ของรา แก้

ในพวกเห็ด รา ยีสต์มีสารเคลือบเซลล์หรือผนังเซลล์เป็นพวกสารไคทิน (chitin) ซึ่งเป็นสารพวกเดียวกันกับเปลือกกุ้งและแมลง ไคทินจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อย คือ N-acetyl glucosamine มายึดเกาะกันด้วย ß-1,4 glycosidic bond

ผนังเซลล์ของแบคทีเรียและสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว แก้

คือ peptidoglycan(murein) ซึ่งเกิดจากโปรตีนรวมตัวกับคาร์โบไฮเดรต

ผนังเซลล์ของสาหร่าย แก้

ผนังเซลล์ของสาหร่ายสีแดง คือ Agar เป็นวุ้นที่มีองค์ประกอบป็น galactose ผนังเซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาล คือ algin ผนังเซลล์ของสาหร่ายสีทอง คือ ซิลิกา

อ้างอิง แก้

  1. นันทนา ตันวัฒนากุล. 2542. เอกสารประกอบการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ของพืช (306343: Plant Anatomy). ชลบุรี: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

เก็บถาวร 2007-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน