กลุ่มแบนิเจย์
กลุ่มแบนิเจย์ เอสเอเอส (อังกฤษ: Banijay Group SAS; ชื่อเดิม: แบนิเจย์ เอนเตอร์เทนเมนท์ (อังกฤษ: Banijay Entertainment), ตราสินค้า แบนิเจย์ (อังกฤษ: Banijay) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020) เป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายรายการโทรทัศน์ข้ามชาติของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในกรุงปารีส ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 โดยสเตฟาน โคร์บิต และเป็นเจ้าของบริษัทผู้ผลิตรายการกว่า 120 แห่งใน 22 ประเทศทั่วโลก
ชื่อเดิม | แบนิเจย์ เอนเตอร์เทนเมนท์ (ค.ศ. 2008 – 2011) |
---|---|
ประเภท | บริษัทเอกชน |
อุตสาหกรรม | บันเทิง |
ก่อนหน้า | โซดิอัคมีเดีย กลุ่มเอนเดโมลชายน์ |
ก่อตั้ง | 2008 |
ผู้ก่อตั้ง | สเตฟาน โคร์บิต |
สำนักงานใหญ่ | , |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก |
|
เจ้าของ |
|
เว็บไซต์ | www |
กลุ่มแบนิเจย์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์รูปแบบรายการโทรทัศน์เรียลลิตีโชว์ที่มีชื่อเสียงหลายรายการ และรายการที่เกี่ยวข้อง รวมถึง บิกบราเธอร์, ดีลออร์โนดีล, เดอะ มันนี่ ดรอป, เฟียร์แฟกเตอร์, มาสเตอร์เชฟ, ยัวร์เฟซซาวด์สแฟมิเลียร์, เซอร์ไววอร์ และยังผลิตรายการอื่น ๆ เช่น พีคกี บลินเดอร์ส และ แบล็ก มิร์เรอร์ บริษัทได้ขยายตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผ่านการเข้าซื้อกิจการหลายครั้ง รวมถึงการซื้อกิจการใหญ่อย่างโซดิอัคมีเดีย ในปี ค.ศ. 2016 และกลุ่มเอนเดโมลชายน์ ในปี ค.ศ. 2020 หลังย่อชื่อเป็นเพียงแบนิเจย์[2]
ประวัติ
แก้ในปี ค.ศ. 2009 แบนิเจย์ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท คัวร์โซ โพรดักคิโอนส์ ของประเทศสเปน 51% เมื่อวันที่ 12 มกราคม[3], เบรนพูลทีวี ของประเทศเยอรมนี 50% ในวันที่ 2 กรกฎาคม[4] และแผนกโทรทัศน์ทั้งหมดของนอร์ดิกสค์ฟิล์ม สตูดิโอภาพยนตร์ในโคเปนเฮเกนในวันที่ 12 ตุลาคม[5] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 แบนิเจย์ได้เข้าซื้อกิจการ บันนิม/เมอร์เรย์ โปรดัคชันส์ ของสหรัฐ โดยไม่เปิดเผยจำนวนเงิน[6]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 แบนิเจย์ ได้เข้าถือหุ้นใหญ่ในบริษัทผู้ผลิตของประเทศออสเตรเลีย สกรีนไทม์ ซึ่งรวมถึงแผนกในประเทศนิวซีแลนด์ และสัดส่วนการถือหุ้น 49% ในผู้ผลิตชาวไอริช ชีนาวิล ซึ่งจำหน่ายในปี ค.ศ. 2015[7] ในปีเดียวกันนั้น สถานีโทรทัศน์ของประเทศฝรั่งเศส นอนสต็อปพีเพิล และ เอชทูโอโปรดักชันส์ ของไซริล ฮาโนว์นา ได้กลายเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม[8] ตามมาในปี ค.ศ. 2013 โดยบริษัทผลิตรายการของประเทศอิตาลี แอมบรามัลติมีเดีย[9] และบริษัทผลิตรายการของประเทศสเปน ดีแอลโอ โพรดักคิโอนส์[10]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 แบนิเจย์ได้เปิดตัว แบนิเจย์สตูดิโอ ในทวีปอเมริกาเหนือ ที่ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐ[11] เมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2015 แบนิเจย์ได้เข้าซื้อกิจการ สเตฟาน เดวิด เอนเตอร์เทนเมนท์ จากนครนิวยอร์ก[12]
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 กลุ่มแบนิเจย์ประกาศว่าจะควบรวมกิจการกับโซดิอัคมีเดีย การควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016[13][14] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่มแบนิเจย์ก็ยังคงเติบโตทั้งภายในและภายนอก
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 กลุ่มแบนิเจย์ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทผู้ผลิตรายการเซอร์ไววอร์ คือ แคสตาเวย์ เทเลวิชัน โปรดักชันส์[15] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 กลุ่มแบนิเจย์ได้เข้าซื้อบริษัทวอนเดอร์ในสหราชอาณาจักร[16]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 ได้มีการก่อตั้งบริษัทย่อยใหม่ 3 บริษัท ได้แก่ แบนิเจย์สตูดิโออิตาลี[17], แบนิเจย์เอเชีย[18] และแบนิเจย์โปรดักชันส์เยอรมนี[19]
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 แบนิเจย์ได้เข้าสู่การเจรจาขั้นสูง เพื่อเข้าซื้อกิจการกลุ่มเอนเดโมลชายน์ ซึ่งเป็นคู่แข่งกัน[20] โดยข้อตกลงได้รับการอนุมัติในปีถัดมาในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2019[21] และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2020 คณะกรรมาธิการยุโรปได้อนุมัติการเข้าซื้อกิจการ[22] การเข้าซื้อกิจการเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2020[23]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Our People - Banijay Group". www.banijay.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-09. สืบค้นเมื่อ 7 January 2017.
- ↑ https://deadline.com/2020/07/banijay-reveals-rebrand-following-endemol-shine-group-takeover-1202978059
- ↑ "Banijay adquiere el 51% del accionariado de Cuarzo Producciones".
- ↑ Hopewell, John (2 กรกฎาคม 2009). "Banijay buys 50% stake in Brainpool".
- ↑ "Banijay acquires Nordisk Film's TV arm".
- ↑ "Bunim-Murray acquired by France's Banijay".
- ↑ http://if.com.au/2012/09/04/article/Banijay-Group-acquires-majority-stake-in-Screentime/XWNVYNIBXL.html
- ↑ "Stéphane Courbit rachète la société de production de Cyril Hanouna et boucle leILE rachat d'Everest Poker".
- ↑ Tartaglione, Nancy (29 เมษายน 2013). "Marco Bassetti Named CEO Of Banijay; Group Acquires Italy's Ambra Multimedia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-17. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
- ↑ "Banijay Group Acquires Spanish TV Production Firm DLO".
- ↑ Keslassy, Elsa (5 เมษายน 2014). "MipTV: Banijay Taps David Goldberg to Launch Banijay Studios North America".
- ↑ Steinberg, Brian (8 มกราคม 2015). "Banijay Group Buys Controlling Share in Stephen David Entertainment".
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
- ↑ Barraclough, Leo; Keslassy, Elsa (28 กรกฎาคม 2015). "Banijay, Zodiak to Merge to Create $1 Billion Production House".
- ↑ Tartaglione, Nancy (10 กรกฎาคม 2017). "Banijay Raises $416M To Help Finance Acquisition Of 'Survivor's Castaway Prods".
- ↑ Knox, David (28 กุมภาพันธ์ 2018). "Banijay acquires Wonder production arm". TV Tonight. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2018.
- ↑ Keslassy, Elsa (25 มิถุนายน 2018). "Banijay Studios Italy Bows to Produce Premium Scripted Content".
- ↑ Mitchell, Robert (9 เมษายน 2018). "Banijay Group Partners With Deepak Dhar to Launch Banijay Asia".
- ↑ Tartaglione, Nancy (1 มีนาคม 2018). "Banijay Productions Germany Launches With Arno Schneppenheim As MD".
- ↑ Keslassy, Elsa (4 ตุลาคม 2018). "Banijay in Advanced Talks to Acquire Endemol Shine".
- ↑ Clarke, Stewart; Keslassy, Elsa (26 ตุลาคม 2019). "Banijay Seals $2.2 Billion Deal for Endemol Shine, Paving Way for Huge New Global Player".
- ↑ Kanter, Jake (1 กรกฎาคม 2020). "Banijay Group's $2.2BN Endemol Shine Group Takeover Approved By European Commission".
- ↑ "Banijay Closes Endemol Shine Acquisition, Forming Global Production Giant". 3 กรกฎาคม 2020.